เฟิร์สวิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฟิร์สวิน
เฟิร์สวิน อี
ชนิดรถลำเลียงพลหุ้มเกราะ
แหล่งกำเนิดประเทศไทย
บทบาท
ผู้ใช้งานดูประจำการ
ประวัติการผลิต
ช่วงการออกแบบค.ศ. 2010
บริษัทผู้ผลิตบริษัท ชัยเสรีเม็ททอลแอนด์รับเบอร์ จำกัด (ไทย)
เดฟเทค (มาเลเซีย)
ช่วงการผลิตค.ศ. 2010 – ปัจจุบัน
จำนวนที่ผลิต21 คัน (ไทย)
34 คันจากจำนวนทั้งหมด 200 คัน (มาเลเซีย)[1]
ข้อมูลจำเพาะ
มวล13 ตัน
ความยาว4.61 เมตร
ความกว้าง2.2 เมตร
ความสูง2 เมตร
ลูกเรือพลขับ 1 นาย, ผู้โดยสาร 10 นาย

อาวุธหลัก
แตกต่างกันไป
เครื่องยนต์เครื่องยนต์ดีเซลคัมมินส์
197-215 เอชพี
เครื่องถ่ายกำลังแอลลิสันเกียร์อัตโนมัติ
กันสะเทือนขับเคลื่อน 4 ล้อ
ความสูงจากพื้นรถ0.4 เมตร
ความเร็ว100 กม./ชม.

เฟิร์สวิน (อังกฤษ: First Win) เป็นรถเกราะป้องกันทุ่นระเบิดยานพาหนะเคลื่อนที่ทหารราบ ด้วยการเชื่อมตัวถังรูปตัววี มอโนค็อกทั้งหมด ที่ให้การปกป้องในระดับสูงต่อภัยคุกคามในสนามรบที่หลากหลาย รวมถึงทุ่นระเบิดและระเบิดแสวงเครื่อง[2] น้ำหนักยานพาหนะรวมอยู่ที่ประมาณเก้าตันและสามารถลำเลียงกองกำลังได้ถึง 10 นายพร้อมพลขับ

บริษัทชัยเสรีคาดหวังที่จะส่งออกเฟิร์สวินไปยังลูกค้าต่างประเทศ[3]

ประวัติ[แก้]

กองทัพบกไทยได้ประกาศคำสั่งซื้อเฟิร์สวินชุดแรกจำนวน 21 คัน[4] การสั่งซื้อเฟิร์สวินเพิ่มเติมห้าคันกำลังได้รับการเจรจาเพื่อสั่งซื้อ[5] ส่วนกระทรวงยุติธรรมได้สั่งซื้อเฟิร์สวิน 18 คัน[5] สำหรับกรมสอบสวนคดีพิเศษ[6]

สำหรับปี ค.ศ. 2017 บริษัทชัยเสรีได้จัดแสดงเฟิร์สวิน 2 ในงานดีเฟนส์แอนด์ซีคิวริตี 2017[7]

การออกแบบ[แก้]

สามารถติดตั้งปืนกลขนาด 7.62 หรือ .50 มม. บนหลังคา ในขณะที่พอร์ตการยิงจัดให้ใช้อาวุธขนาดเล็กจากภายใน ส่วนระบบอาวุธระยะไกลสามารถติดตั้งได้ตามความต้องการ[8]

เฟิร์สวินขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลคัมมินส์ (300 แรงม้าในรูปแบบดั้งเดิม, 250 แรงม้าในรุ่นอี) ประกอบกับระบบเกียร์อัตโนมัติแอลลิสัน 3000 เอสพี (แอลลิสัน 2500 เอสพี ในรุ่นอี, ให้ความเร็วสูงสุดถึง 100 กม./ชม.) ยานพาหนะมาพร้อมกับพวงมาลัยพาวเวอร์มาตรฐาน, ระบบกันสะเทือนแบบอิสระ และยางรันแฟลต การป้องกันเชิงวิถีศาสตร์ขึ้นอยู่กับสตาแนก 4569 ระดับ 2 และการป้องกันทุ่นระเบิดถึงระดับ 3บี ภายใต้ศูนย์ตัวถัง และระดับ 4เอ ภายใต้ที่ตั้งใด ๆ

รุ่น[แก้]

แบบต่อไปนี้ผลิตโดยบริษัทชัยเสรี:[9][10]

  • เฟิร์สวิน: รูปแบบเดิม เป็นที่รู้จักในฐานะรถหุ้มเกราะอเนกประสงค์เฟิร์สวิน
  • เฟิร์สวิน-อี: รุ่นที่กะทัดรัดกว่าด้วยน้ำหนักรถรวม 10 ตัน เปรียบได้กับฮัมวี
  • เฟิร์สวิน ป้องกันการจลาจล: ใช้โดยตำรวจไทยพร้อมป้อมปืนระบบรีโมตคอนโทรลด้านบน มีความจุผู้โดยสารแปดคน
  • เฟิร์สวิน เอพีซี: ปรากฏตัวครั้งแรกในงานดีเฟนส์แอนด์ซีคิวริตี 2015 กับลำตัวที่ยาวขึ้นเพื่อรองรับผู้โดยสารมากขึ้น
  • เอวี4 ลีปันบารา: สัญญาอนุญาตสร้างโดยเดฟเทคสำหรับกองทัพมาเลเซียและตำรวจมาเลเซีย โดยวางแผนไว้ที่ 200 คัน ซึ่งได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นลีปันบาราโดยนาจิบ ราซัก นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เมื่อเขาไปเยี่ยมชมซุ้มของเดฟเทคในงานดีเฟนส์เซอร์วิสเอเชีย 2016[11] ยานพาหนะดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อตามตะขาบพิษที่พบในประเทศมาเลเซีย[12] เอวี4 ลีปันบารา ได้รับการปรับแต่งเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานกองทัพมาเลเซีย รวมถึงการติดตั้งเครื่องยนต์ 300 แรงม้า, อัปเกรด และเสริมเกราะป้องกันสูงถึงสตาแนก 4569 ระดับ 3 และการติดตั้งของปืนแก็ตลิงเอ็ม134ดี-เอช[13]

ประจำการ[แก้]

ผู้ปฏิบัติการเฟิร์สวินในพื้นที่สีน้ำเงิน
  1.  ไทย:
    • กองทัพบก - ได้มีการสั่งซื้อเฟิร์สวิน 21 คันเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555[14] มีการสั่งซื้อประมาณ 50 คันในปี พ.ศ. 2556 แหล่งที่มาของกองทัพบกไทยแสดงถึงความสนใจในเฟิร์สวิน-อี ที่มีขนาดเล็กลง การสั่งซื้ออื่นอีก 200 คันได้รับการยืนยัน โดยจะจัดส่งให้อย่างน้อย 18 คันต่อปี
    • กรมสอบสวนคดีพิเศษ - ได้สั่งซื้อเฟิร์สวินไมทราบจำนวนในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558[15]
    • ตำรวจตระเวนชายแดนโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ - ได้สั่งซื้อเฟิร์สวิน 46 คันเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565
  2.  มาเลเซีย:
    • กองทัพบกมาเลเซีย - วางแผนไว้ที่ 200 คัน[13] หกคันแรกได้รับการสร้างสรรค์โดยบริษัทชัยเสรีที่โรงงานในจังหวัดปทุมธานีและจัดส่งไปยังประเทศมาเลเซียในช่วงไตรมาสแรกของ พ.ศ. 2559 ส่วนยานพาหนะที่เหลือจะผลิตภายใต้สัญญาอนุญาตโดยดีอาร์บี-ไฮคอมดีเฟนซ์เทคโนโลยี (เดฟเทค) ของมาเลเซีย ซึ่งมีการเรียกขานในชื่อเอวี4 ลีปันบารา[16][17]
  3.  อินโดนีเซีย:
    • กองทัพบกอินโดนีเซีย - ไม่ทราบจำนวนในราชการ เปิดตัวครั้งแรกในงานครบรอบกองทัพอินโดนีเซีย พ.ศ. 2562[18]
  4.  ภูฏาน:
    • กองทัพภูฏาน - 15 คัน กับเฟิร์สวินรุ่นบังคับการ, เฟิร์สวิน II, เฟิร์สวิน เอทีวี และเฟิร์สวินรุ่นส่งกลับสายแพทย์ เพื่อใช้ในภารกิจรักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาติ ภายใต้ภารกิจปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (MINUSCA) ที่สาธารณรัฐแอฟริกากลาง และที่อื่น ๆ ทั่วโลก[19]

คำสั่งซื้อที่ถูกยกเลิก[แก้]

  1.  ฟิลิปปินส์:
    • กองทัพบกฟิลิปปินส์ - สั่งซื้อเฟิร์สวินในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558[20] แต่มีการรายงานใน พ.ศ. 2560 ว่าคำสั่งซื้อถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการเนื่องจากเหตุผลด้านงบประมาณ[21]

อ้างอิง[แก้]

  1. "D&S2015: ชัยเสรี พร้อมส่งมอบ AV4 First Win ให้มาเลเซียในปีหน้า/Chaiseri ready to deliver the AV4 First Win to Malaysia by 2016 (UPDATED)". archive.org. 4 มีนาคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2018. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  2. "Chaiseri Defence Vehicle present for the first time at IDEX". Army Recognition. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2014.
  3. "New life, extended life - IDEX 2013 - IHS Jane's". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มีนาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2014.
  4. "Thailand; Army orders First Win MRAPS". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2014.
  5. 5.0 5.1 "A strong niche player - Eurosatory 2012 - IHS Jane's". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 เมษายน 2014. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2014.
  6. "Protected mobility- VEHICLES SLOW TO ACCELERATE IN ASIA". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2014.
  7. "Chaiseri showcases new version of First Win multipurpose vehicle at Defense and Security 2017 - Defence Blog". defence-blog.com. 6 พฤศจิกายน 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2018.
  8. "First Win APC from Thailand - IDEX 2011 - IHS Jane's". สืบค้นเมื่อ 4 November 2014.
  9. "First Win 4x4 multipurpose armoured vehicle". Army Recognition. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มีนาคม 2017.
  10. "Thai Defence Company Chaiseri unveils armoured personnel carrier variant of its First Win vehicle". Army Recognition. 4 พฤศจิกายน 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2016.
  11. "Editorial: Wars and inventions". MOTORME.MY. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 สิงหาคม 2017.
  12. "Deftech of Malaysia unveils new Lipanbara 4x4 HMAV High Mobility Armoured Vehicle at DSA 2016 - Defence Blog". defence-blog.com. 20 เมษายน 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2018.
  13. 13.0 13.1 Administrator. "Deftech of Malaysia unveils new Lipanbara 4x4 HMAV High Mobility Armoured Vehicle at DSA 2016 11904163 - DSA 2016 Official Online Show Daily News - Defence security military exhibition 2016 daily news category". www.armyrecognition.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2018.
  14. Administrator. "D&S2012: ชัยเสรีพร้อมส่งมอบรถเกราะ First Win ให้กองทัพบกไทย". www.thaiarmedforce.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2018.
  15. "Thai Police Department of Special Investigation receives first batch of First Win 4×4 - Defence Blog". defence-blog.com. 11 ตุลาคม 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2018.
  16. DefTech. "DefTech AV4". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 พฤษภาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2015.
  17. "Armored Cars: Deftech AV4". 21stcenturyasianarmsrace.com. 14 พฤษภาคม 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2018.
  18. https://www.indomiliter.com/first-win-4x4-tampil-perdana-di-hut-tni-ke-74-inilah-rantis-mrap-terbaru-kopassus/
  19. "ภาพการทดสอบ First Win 4×4 จำนวน 15 คันของภูฎาน ลูกค้าต่างชาติรายที่ 3". www.thaiarmedforce.com. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2021.
  20. "Philippines will take delivery "First Win 4x4" Mine Resistant Ambush Protected Vehicles - Defence Blog". defence-blog.com. 6 พฤศจิกายน 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2018.
  21. "D&S 2017: Chaiseri looks to the next generation - LWI - Land Warfare - Shephard Media". www.shephardmedia.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]