เอ็มแรป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คูการ์ เอชอี เอ็มแรป ขณะทดสอบในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 ด้วยทุ่นระเบิด

รถหุ้มเกราะต้านทานทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี (อังกฤษ: Mine-Resistant Ambush Protected) หรือ เอ็มแรป (อังกฤษ: MRAP; /ˈɛmræp/ em-rap) เป็นคำที่ใช้เรียกยานพาหนะทางยุทธวิธีขนาดเบาของกองทัพสหรัฐ ซึ่งผลิตขึ้นโดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเอ็มแรป ที่ออกแบบมาให้ทนต่อการโจมตีของระเบิดแสวงเครื่อง (IED) และการซุ่มโจมตีโดยเฉพาะ[1] โครงการเอ็มแรปของกระทรวงกลาโหมสหรัฐได้เริ่มขึ้นใน ค.ศ. 2007 เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นของระเบิดแสวงเครื่องในช่วงสงครามอิรัก[2] ตั้งแต่ ค.ศ. 2007 ถึง ค.ศ. 2012 โครงการเอ็มแรปได้กรีธาพลยานพาหนะดังกล่าวมากกว่า 12,000 คันในสงครามในอิรัก ตลอดจนสงครามในอัฟกานิสถาน

การผลิตยานพาหนะเอ็มแรปได้สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 2012[1] ตามด้วยยานพาหนะเอ็มแรปสำหรับทุกสภาพภูมิประเทศ (เอ็ม-เอทีวี) โดยใน ค.ศ. 2015 ออชคอชคอร์ปอเรชันได้รับสัญญาให้สร้างออชคอช แอล-เอทีวี ในฐานะยานยนต์เบาทางยุทธวิธีร่วม ซึ่งเป็นยานพาหนะที่ทนทานต่อทุ่นระเบิดที่เบากว่า เพื่อแทนที่ฮัมวีในบทบาทการรบ และเสริมเอ็ม-เอทีวี[3]

ประวัติ[แก้]

ยานยนต์หุ้มเกราะขนาดเบาที่ออกแบบมาเพื่อต้านทานทุ่นระเบิดโดยเฉพาะ ได้รับการแนะนำครั้งแรกในยานพาหนะพิเศษในคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยกองทัพบกโรดีเชีย และได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมโดยผู้ผลิตในประเทศแอฟริกาใต้ โดยเริ่มใน ค.ศ. 1974 ด้วยรถลำเลียงพลหุ้มเกราะ (APC) ฮิปโป[4][5] ขั้นตอนแรกในกองกำลังป้องกันแอฟริกาใต้เป็นบอสวาร์ก ซึ่งเป็นอูนิมอกที่ติดตั้งถังเบี่ยงเบนทุ่นระเบิดบนแชสซีเพื่อปกป้องลูกเรือ ต่อมาคือยานพาหนะที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะรุ่นแรก ได้แก่ ฮิปโปและประเภทเบาอื่น ๆ พวกมันมีตัวถังรูปตัววีหุ้มเกราะโดยพื้นฐานแล้วติดตั้งบนแชสซีรถบรรทุก ส่วนรุ่นต่อไปเป็นตัวแทนโดยบัฟเฟล ซึ่งเป็นแชสซีอูนิมอกที่มีห้องคนขับที่มีการป้องกันทุ่นระเบิด และห้องลูกเรือที่มีการป้องกันทุ่นระเบิดติดตั้งอยู่ ยานพาหนะรุ่นแรก ๆ เหล่านี้ทำงานได้ดี แต่แชสซีนั้นบรรทุกเกินพิกัดและไม่คล่องตัวเมื่อขับทางขรุขระ ส่วนรถหุ้มเกราะทหารราบแคสเปอร์ได้รับการพัฒนาสำหรักองกำลังป้องกันแอฟริกาใต้หลัง ค.ศ. 1980[6] นี่เป็นแรงบันดาลใจสำหรับโครงการเอ็มแรปอเมริกัน และพื้นฐานสำหรับยานพาหนะบางรายการของโครงการ[7][8][9]

ใน ค.ศ. 2004 ทีเอสจี/เอฟพีไอ คูการ์ได้รับการออกแบบโดยทีมสหรัฐ ที่นำโดยสหราชอาณาจักร ตามข้อกำหนดของเหล่านาวิกโยธินสหรัฐ ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่เปิดตัวโครงการเอ็มแรป[10][11] เนื่องจากในสหรัฐมีโรงงานเหล็กกล้า "คุณภาพเกราะ" เพียงสองแห่งเท่านั้น ได้แก่ บริษัทออริกอนสตีลมิลส์ และบริษัทอินเตอร์เนชันแนลสตีลกรุป (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทอาร์เซลอร์มิททาลของอินเดีย) ซึ่งมีคุณสมบัติในการผลิตเกราะเหล็กกล้าสำหรับกระทรวงกลาโหมสหรัฐ โดยได้เจรจาเพื่อให้แน่ใจว่ามีเหล็กเพียงพอเพื่อให้ทันต่อการผลิต[12]

โครงการเอ็มแรป[แก้]

โครงการเอ็มแรปของกองทัพสหรัฐ ได้รับแจ้งจากการบาดเจ็บล้มตายของสหรัฐจากระเบิดแสวงเครื่องในช่วงสงครามอิรัก[2]

เหล่าเฟิสต์แมกซ์โปรที่ออกสนามในประเทศอิรัก
รถคันสุดท้ายจากประเทศอิรักได้กลับมายังสหรัฐ ซึ่งรถคันนี้ได้มาถึงท่าเรือโบมอนต์ รัฐเท็กซัส เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 และได้รับการขนออกจากเรือเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 2012[13]

มีการออกแบบยานพาหนะจำนวนหนึ่งจากผู้จำหน่ายหลายรายในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการเอ็มแรป ยานพาหนะมักจะมีตัวถังรูปตัว "วี" เพื่อเบี่ยงเบนแรงระเบิดจากทุ่นระเบิดหรือระเบิดแสวงเครื่องใต้ตัวรถ ซึ่งจะช่วยปกป้องรถและผู้โดยสาร[14] ทั้งนี้ เอ็มแรปมีน้ำหนัก 14 ถึง 18 ตัน สูง 9 ฟุต (2.7 เมตร) และมีราคาระหว่าง 500,000 ดอลลาร์สหรัฐถึง 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ[14][15]

บริษัทต่อไปนี้นำเสนอการออกแบบ:

ขบวนอาร์จี-33 ที่ติดตั้งระบบสถานีอาวุธควบคุมระยะไกลทั่วไป (CROWS)

โดยมีแผนที่จะรวมสถานีอาวุธระยะไกลอย่างโครวส์ II, เกราะต้านระเบิดเจาะเกราะอย่างแฟรกคิต 6 และระบบต่อต้านพลซุ่มยิงอย่างบูมเมอแรงบนเอ็นแรปจำนวนมากในการรบ[ต้องการอ้างอิง]

หมวดยานพาหนะ[แก้]

ทหารช่างอเมริกันที่อยู่ข้างกับเอ็มแรปคูการ์ ณ เราะมะฎี ประเทศอิรัก เมื่อ ค.ศ. 2008

ชั้นเอ็มแรปแบ่งออกเป็นสามประเภทตามน้ำหนักและขนาด

หมวดที่หนึ่ง (เอ็มแรป-เอ็มอาร์ยูวี)[แก้]

อินเตอร์เนชันแนลแมกซ์โปร ซึ่งเป็นเอ็มแรปหมวด 1

รถหุ้มเกราะต้านทานทุ่นระเบิด (MRUV) มีขนาดเล็กกว่าและเบากว่า โดยออกแบบมาสำหรับปฏิบัติการในเมือง ซึ่งยานพาหนะเอ็มแรปหมวด 1 ที่ได้รับการสั่งซื้อหรือประจำการอยู่ ได้แก่:

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Pike, John. "Mine Resistant Ambush Protected (MRAP) Vehicle Program". www.globalsecurity.org. สืบค้นเมื่อ 20 September 2018.
  2. 2.0 2.1 "More Attacks, Mounting Casualties". Washington Post. 28 September 2007.
  3. Gould, Joe (8 August 2017). "Oshkosh Wins JLTV Award". สืบค้นเมื่อ 20 September 2018.
  4. "Lesakeng". South African Armour Museum. 2012-12-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-03. สืบค้นเมื่อ 2013-06-18.
  5. Heitman, Helmoed-Römer. South African Armed Forces. Buffalo Publications 1990. ISBN 0-620-14878-0 p 44.
  6. Russell, Robert W (2009). Does the MRAP meet the U.S. Army's needs as the primary method of protecting troops from the IED threat? (PDF) (วิทยานิพนธ์ Master of Military Art and Science). US Army Command and General Staff College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-10-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-12.
  7. Mike Guardia (20 November 2013). US Army and Marine Corps MRAPs: Mine Resistant Ambush Protected Vehicles. Osprey Publishing. pp. 14–. ISBN 978-1-78096-255-9.
  8. Leon Engelbrecht. "Fact file: Casspir MRAP". สืบค้นเมื่อ 5 November 2014.
  9. "An MRAP for India". สืบค้นเมื่อ 20 September 2018.
  10. "Cougar MRAP - Army Technology". สืบค้นเมื่อ 5 November 2014.
  11. Marine Administrative Message (MARADMIN) 550/2, "Urgent USMC Requirements Generation Process for Operation Enduring Freedom," October 16, 2002; MARADMIN 533/03, "Operation Iraqi Freedom II UUNS Process," November 21, 2003; MARADMIN 424/04, "Operation Iraqi Freedom III UUNS The original concept was to replace Humvee-type vehicles with a more robust, survivable vehicle when on patrol "outside the wire".
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ nationaldefensemagazine1
  13. "MRAP04 | Flickr - Photo Sharing!". Flickr. 2012-05-07. สืบค้นเมื่อ 2013-11-16.
  14. 14.0 14.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ time
  15. Fields, Jason (18 August 2014). "In Iraq, U.S. is spending millions to blow up captured American war machines". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2014. สืบค้นเมื่อ 23 August 2014.
  16. "BAE Systems completes acquisition of Armor Holdings Inc" (Press release). BAE Systems plc. 31 July 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-07. สืบค้นเมื่อ 24 August 2014.
  17. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ marines1
  18. "Armor Holdings, Inc. Receives $518 Million MRAP Award". prnewswire.com. 2007-07-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 2, 2012.
  19. "U.S. Marines Order 1,170 MRAPs". America DefenseNews.com. 13 July 2007.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]