เต้าซี่
ภาพมุมใกล้ของเต้าซี่ | |
ชื่ออื่น | Fermented black soybeans, Chinese fermented black beans, salted black beans, salty black beans |
---|---|
แหล่งกำเนิด | จีน |
ส่วนผสมหลัก | ถั่วเหลืองผิวดำดอง |
Douchi | |||||||||||||||||||||||
"Douchi" in Chinese characters | |||||||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 豆豉 | ||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | dòuchǐ | ||||||||||||||||||||||
ยฺหวิดเพ็งกวางตุ้ง | dau6-si6 | ||||||||||||||||||||||
|
เต้าซี่ (จีน: 豆豉; พินอิน: dòuchǐ) หรือ เต่าสี่ (เพ็งอิม: dao7 si7) เป็นเครื่องปรุงชนิดหนึ่งที่ทำจากการหมักถั่วเหลืองชนิดผิวดำ โดยพบได้มากในอาหารจีน เต้าซี่เกิดจากการหมักถั่วเหลืองผิวดำกับราโคจิ (Aspergillus oryzae) และดองเกลือ โดยกระบวนการจะทำให้เปลือกนิ่มและแห้งลง โดยการหมักดองเกิดจาก
ประวัติ
[แก้]เต้าซี่เป็นอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองที่เก่าแก่ที่สุด โดยในปีพ.ศ. 379 (165 ปีก่อนคริสตกาล) เต้าซี่ถูกจัดเก็บในสุสานหม่าหวังตุยในมณฑลหูหนาน ในตอนกลาง-ใต้ของประเทศจีน สุสานดังกล่าวถูกปิดมาตั้งแต่ พ.ศ. 379 และถูกเปิดออกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2515[1]
การใช้
[แก้]เต้าซี่ถูกใช้เป็นเครื่องปรุงเพื่อปรุงรสในจานอาหารประเภทปลาหรือผัดผัก และใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในหมาผัวโต้วฟู เต้าซี่ไม่เหมือนกับนัตโตหรือเต็มเปที่สามารถกินในปริมาณมากได้เนื่องจากเต้าซี่มีความเค็มกว่ามาก
การใช้ในประเทศอื่นๆ
[แก้]เนื่องจากเต้าซี่เป็นเครื่องปรุงเก่าแก่ จึงพบการใช้ได้ในหลายประเทศในตะวันออกไกลและในกลุ่มสังคมชาวจีนโพ้นทะเล โดยเป็นที่รู้จักในชื่อต่างๆ กัน
- ในญี่ปุ่น เต้าซี่เป็นที่รู้จักในชื่อ daitokuji natto, hamanatto, hamananatto, shiokara-natto และ tera-natto
- ในเกาหลี มีซอสที่กระบวนการผลิตคล้ายกันเรียกว่า ชุนจัง ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญใน จาจังมย็อน โดยเครื่องปรุงดังกล่าวถูกนำเข้ามาโดยผู้ตั้งรกรากชาวจีนสู่อินชอนในต้นศตวรรษที่ 20
- ในกัมพูชา เต้าซี่ถูกเรียกว่า seang และมักใช้เป็นส่วนหนึ่งในเครื่องปรุงรสที่ทำจากปลาชื่อ ปรอฮก
- ในฟิลิปปินส์ เต้าซี่ถูกเรียกว่า tausi ในภาษาเซบัวโนและภาษาตากาล็อก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Shurtleff, W.; Aoyagi, A History of Fermented Black Soybeans (165 B.C. to 2011). Lafayette, California: Soyinfo Center, 2011