ข้ามไปเนื้อหา

เตอร์กิสถาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่เตอร์กิสถานพร้อมด้วยเขตแดนรัฐสมัยใหม่ ภูมิภาคนี้ครอบคลุมพื้นที่ของหลายประเทศ ได้แก่ รัสเซีย, มองโกเลีย, จีน, คาซัคสถาน, เติร์กเมนิสถาน, อุซเบกิสถาน, คีร์กีซสถาน, ทาจิกิสถาน และอัฟกานิสถาน

เตอร์กิสถาน (อังกฤษ: Turkestan, Turkistan; เปอร์เซีย: ترکستان, แปลตรงตัวว่า "สถานที่ของชาวเติร์ก") หมายถึงพื้นที่หนึ่งในเอเชียกลาง ตั้งอยู่ระหว่างไซบีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิเบต, อินเดีย และอัฟกานิสถานทางทิศใต้ ทะเลแคสเปียนทางทิศตะวันตก และทะเลทรายโกบีทางทิศตะวันออก

จากต้นกำเนิดในภาษาเปอร์เซีย คำ "เตอร์กิสถาน" ไม่เคยเป็นชื่อเรียกของรัฐชาติแห่งใดแห่งหนึ่ง[1] ในครั้งแรก นักภูมิศาสตร์ชาวเปอร์เซียนำคำนี้มาใช้เรียกสถานที่แห่งกลุ่มชนเตอร์กิก[2] ซึ่งก็คือที่ใดก็ตามที่มีกลุ่มชนเตอร์กิกอาศัยอยู่[1] ต่อมา ระหว่างที่ชาวรัสเซียกำลังขยายอำนาจลงไปทางทิศใต้เพื่อพิชิตเอเชียกลางในคริสต์ศตวรรษที่ 19 พวกเขาได้เข้ายึดเมืองเตอร์กิสถาน (ปัจจุบันอยู่ในคาซัคสถาน) ใน ค.ศ. 1864 และเข้าใจผิดว่าชื่อเมืองนี้เป็นชื่อของภูมิภาคทั้งหมด จึงได้ตั้งชื่อเขตการปกครองใหม่ของตนว่า "เตอร์กิสถาน"[2][3]

ในปัจจุบัน คำ "เตอร์กิสถาน" หมายถึงภูมิภาคหนึ่งในเอเชียกลางที่มีกลุ่มชนเตอร์กิกอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่ แต่ภูมิภาคดังกล่าวยังเป็นที่อยู่ของชนกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่เตอร์กิกด้วย (เช่น ชาวทาจิก) และไม่ได้ครอบคลุมถึงพื้นที่บางแห่งที่มีกลุ่มชนเตอร์กิกอาศัยอยู่ โดยประกอบด้วยบริเวณที่ปัจจุบันเป็นเติร์กเมนิสถาน, ทาจิกิสถาน, คีร์กีซสถาน, อุซเบกิสถาน, ภาคใต้และตะวันออกของคาซัคสถาน และภาคตะวันตกของซินเจียง (ซึ่งยังเป็นที่รู้จักในชื่อเตอร์กิสถานตะวันออก[4] หรือเตอร์กิสถานของจีน)[5][6] บ่อยครั้ง พื้นที่บางแห่งของอัฟกานิสถานและรัสเซีย (ตาตาร์สถานและไซบีเรีย) ที่เป็นถิ่นฐานหลักของกลุ่มชนเตอร์กิกก็ได้รับการนับรวมอยู่ในภูมิภาคเตอร์กิสถานเช่นกัน

อ้างอิงและเชิงอรรถ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Gladys D. Clewell, Holland Thompson, Lands and Peoples: The world in color, Volume 3, page 163. Excerpt: Never a single nation, the name Turkestan means simply the place of Turkish peoples.
  2. 2.0 2.1 Central Asian review by Central Asian Research Centre (London, England), St. Antony's College (University of Oxford). Soviet Affairs Study Group, Volume 16, page 3. Excerpt: The name Turkestan is of Persian origin and was apparently first used by Persian geographers to describe "the country of the Turks". It was revived by the Russians as a convenient name for the governorate-general created in 1867 and the terms Uzbekistan, Turkmenistan, etc. were not used until after 1924.
  3. Annette M. B. Meakin, In Russian Turkestan: a garden of Asia and its people, page 44. Excerpt: On their way southward from Siberia in 1864, the Russians took it, and many writers affirm that, mistaking its name for that of the entire region, they adopted the appellation of "Turkestan" for their new territory. Up to that time, they assure us Khanates of Bokhara, Khiva and Kokand were known by these names alone.
  4. "San Jose News - Google News Archive Search". news.google.com. Associated Press. 17 March 1934. สืบค้นเมื่อ 2018-03-02. QUOTE: "More than 2000 persons, including members of the British Consulate's staff, were reported today to have been massacred at Kashgar in Sinkiang, Chinese Turkestan by fierce Tungan natives." The massacre, dispatches from Tashkent said, came in a bloddy battle between rebels and the military of the recently proclaimed 'independent government'."
  5. Encyclopædia Britannica: Turkistan. Retrieved: 24 August 2009.
  6. Oxford Dictionaries, Oxford University Press: Turkestan เก็บถาวร 2021-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved: 26 May 2012.