เดอะแบงค์จ็อบ
เดอะแบงค์จ็อบ | |
---|---|
กำกับ | โรเจอร์ โดแนลด์สัน |
เขียนบท | Dick Clement Ian La Frenais George McIndoe Aaron Shuster |
อำนวยการสร้าง | เดวิด อัลเพอร์ |
นักแสดงนำ | เจสัน สเตธัม แซฟรอน เบอร์โรว์ |
กำกับภาพ | Michael Coulter |
ตัดต่อ | John Gilbert |
ดนตรีประกอบ | J. Peter Robinson |
วันฉาย | 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 |
ความยาว | 111 นาที |
ประเทศ | สหราชอาณาจักร |
ภาษา | ภาษาอังกฤษ |
ทำเงิน | $64,068,159 (worldwide) |
เดอะแบงค์จ็อบ (อังกฤษ: The Bank Job, วีซีดีจำหน่ายในไทยใช้ชื่อว่า เปิดตำนาน "ปล้น" บันลือโลก) เป็นภาพยนตร์อังกฤษที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2551 กำกับโดยโรเจอร์ โดแนลด์สัน นำแสดงโดยเจสัน สเตธัม สร้างจากเค้าโครงเรื่องจริงของการปล้นธนาคารที่ถนนเบเกอร์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2514 ที่ธนาคารลอยด์ ตั้งอยู่เลขที่ 108 ถนนเบเกอร์ ใจกลางกรุงลอนดอน [1] โดยโจรขุดอุโมงค์ใต้ดินจากร้านค้าที่อยู่ห่างออกไปสามห้อง และเจาะพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กของห้องใต้ดินของธนาคาร [2] ปล้นเงินสดไปได้กว่าหนึ่งล้านห้าแสนปอนด์ [3] ซึ่งทรัพย์สินมีค่าที่ถูกปล้นไป ไม่มีรายงานว่าได้รับกลับคืน
ผู้สร้างภาพยนตร์กล่าวอ้างว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการปล้นครั้งนี้ ถูกรัฐบาลสหราชอาณาจักรปกปิดเป็นความลับในระดับ DA-Notice (ระดับความมั่นคงของชาติ) เพื่อปกป้องชื่อเสียงของสมาชิกในราชวงศ์อังกฤษ [2] เนื่องจากในบรรดาทรัพย์สินที่ถูกขโมยไปจากตู้นิรภัยของธนาคาร บางส่วนเป็นภาพถ่ายลับเฉพาะของเชื้อพระวงศ์[4] ขณะกำลังพักผ่อนกับเพื่อนชายในรีสอร์ตที่เกาะมัสทีค แถบแคริบเบียน ที่อยู่ในการครอบครองของ "Michael X" อดีตผู้นำชนผิวดำชาวตรินิแดดและโตเบโกที่ลี้ภัยอยู่ในอังกฤษ และต้องการนำไปใช้แบล็กเมล นอกจากนี้ยังมีเอกสารบันทึกการรับสินบนที่อาชญากรจ่ายให้กับตำรวจอังกฤษ [ต้องการอ้างอิง] และภาพลับของนักการเมืองในรัฐบาล ขณะกำลังมั่วโสเภณีแบบวิตถาร [ต้องการอ้างอิง] โดยการปล้นครั้งนี้เกิดขึ้นในความรับรู้ของสายลับหน่วย MI5 ของรัฐบาลอังกฤษ และบุคคลระดับสูงอย่างลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบทเทน [ต้องการอ้างอิง]
ผู้สร้างภาพยนตร์ยังอ้างว่า ถึงแม้เนื้อหาบางส่วนจะเป็นเรื่องแต่ง แต่จุดมุ่งหมายของภาพยนตร์ก็เพื่อเปิดเผยความจริงที่ถูกปกปิดมาเป็นเวลานานเป็นครั้งแรก [5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lloyds Bank Map location
- ↑ 2.0 2.1 Tom Pettifor (2008-02-16). "Bank job that opened the door on a royal sex scandal". Daily Mirror. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-16. สืบค้นเมื่อ 2008-11-13.
- ↑ "Four jailed for London's biggest bank theft." The Times (27 January 1973), page 1
- ↑ ในภาพยนตร์อ้างถึงว่าเป็น "เจ้าหญิงมาร์กาเร็ต" และน่าจะหมายถึง เจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเร็ต เคานท์เตสแห่งสโนว์ดอน
- ↑ Production Information เก็บถาวร 2012-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Lionsgate UK website, Accessed 9 January 2008