ข้ามไปเนื้อหา

เซ็นเตอร์พ้อยท์

พิกัด: 13°44′40″N 100°31′59″E / 13.744430°N 100.533140°E / 13.744430; 100.533140
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซ็นเตอร์พ้อยท์ ในสยามสแควร์ ปี 2548

เซ็นเตอร์พ้อยท์ (อังกฤษ: Center Point) ถือเป็นแบรนด์ย่านการค้าและกิจกรรม ที่เดิมอยู่ในสยามสแควร์ บริเวณระหว่างสยามสแควร์ซอย 3 กับซอย 4 ในพื้นที่ 1 ไร่ 41 ตารางวา ภายใต้การบริหารของ บริษัท เซ็นเตอร์พ้อยท์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด โครงการเซ็นเตอร์พ้อยท์เกิดขึ้นในปี 2541

เซ็นเตอร์พ้อยท์เป็นแหล่งสำหรับการทำกิจกรรมของกลุ่มวัยรุ่น โดยช่วงแรกจะมีภาพด้านลบด้านการเป็นแหล่งมั่วสุม แต่ก็ค่อย ๆ สร้างภาพลักษณ์ด้านบวกขึ้น ด้วยการจัดกิจกรรมและเปิดพื้นที่ให้เอกชนโดยเฉพาะสินค้าต่าง ๆ เข้ามาจัดงานเปิดตัวของสินค้าใหม่ ๆ หลายชนิด ในช่วงที่เปิดทำการที่สยามสแควร์ มีร้านขนาดใหญ่และเล็กประมาณ 30 ห้อง เช่น วัน-ทู คอลช้อป ร้านนาฬิกาสวอท์ช ร้านแดรี่ควีน ฯลฯ นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา เข้ามาเปิดแผงขายของ หรือโครงการที่ใช้ชื่อว่า Indy Intown หรือชุมนุมคนมีไอเดีย

เซ็นเตอร์พ้อยท์ปิดตัวที่สยามสแควร์ไป โดยมีการจัดงานอำลาในชื่องานว่า "เซ็นเตอร์พ้อยท์ อินฟินีตี้ ปาร์ตี้" เมื่อวันที่ 14-15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และหลังการปิดตัวที่สยามสแควร์ เซ็นเตอร์พ้อยท์แหล่งใหม่จะเปิดใหม่ที่เซ็นทรัลเวิลด์

ประวัติ

[แก้]

เซ็นเตอร์พ้อยท์ เปิดตัวเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2541 เดิมแรกเริ่มสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีจุดประสงค์ต้องการพัฒนาพื้นที่นี้ให้เป็นลานกิจกรรมสำหรับวัยรุ่น โดยมีบริษัท พรไพลิน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้ชนะการประมูลและได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีสัญญาเช่าช่วงแรก เป็นเวลา 6 ปี จากปี 2541-2547 และต่อสัญญาอีก 3 ปี จนถึงปี 2550

ในช่วงพฤษภาคม 2547 ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ให้มีพื้นที่กิจกรรมมากขึ้น โดยรื้อถอนพื้นที่ร้านค้าตรงกลางจำนวน 12 ยูนิต ทำเป็นพื้นที่กิจกรรม และในส่วนพื้นที่โล่งสร้างหลังคาโปร่งแสงคลุมให้สามารถทำกิจกรรมในช่วงฤดูฝนได้ ส่วนบริเวณน้ำพุ ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของเซ็นเตอร์พ้อยท์ได้ปรับให้มีขนาดเล็กลง และเป็นทรงกลมเพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการนั่งชมจอเชคเกอร์สกรีน

เซ็นเตอร์พ้อยท์ปิดตัวที่สยามสแควร์ไป โดยมีการจัดงานอำลาในชื่องานว่า "เซ็นเตอร์พ้อยท์ อินฟินีตี้ ปาร์ตี้" เมื่อวันที่ 14-15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และหลังการปิดตัวที่สยามสแควร์

และต่อมาเซ็นเตอร์พ้อยท์แหล่งใหม่เปิดตัวแห่งใหม่ที่เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อเดือนมีนาคม 2551 โดยเป็นการร่วมธุรกิจกัน โดย 3 บริษัทคือ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เจ้าของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์, บริษัท มาสเตอร์แอด จำกัด (มหาชน) และบริษัท เซ็นเตอร์พ้อยท์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เปิดตัวเซ็นเตอร์พ้อยท์ ภายใต้ชื่อ "เซ็นเตอร์พ้อยท์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์" ตั้งอยู่บนชั้น 7-8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่โรงภาพยนตร์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ รวมพื้นที่รวมกว่า 1 หมื่นตร.ม. โดย มีพื้นที่หลัก 2 ส่วน คือ โซนเทคโนเทนเม้นท์ เจาะกลุ่มวัยรุ่นชาย เช่น โซนสินค้าดิจิทัล และเกมออนไลน์ แบบอารีน่า ที่มีการแข่งขันเกมผ่านจอขนาดใหญ่ และส่วนที่ 2 คือ โซนเออเบิร์น ไลฟ์สไตล์ แบ่งเป็น 1.เอเชี่ยนไลฟ์สไตล์ เจาะกลุ่มผู้หญิง มี การ์ตูนเวิลด์, ร้านขายสินค้าที่ระลึกจากศิลปินเอเชีย, ร้านซาลอนแนวเกาหลี ญี่ปุ่น และ 2.แอคติ้ง จะมีโรงละคร 750 ที่นั่ง, บูติค คาราโอเกะ, อีเวนท์ ฮอลล์, โซนอาหารแบบ สตรีท ฟู้ด และกำลังเจรจาผู้ดำเนินธุรกิจแบรนด์ดังในญี่ปุ่นและเกาหลี มาเปิดสาขา

กิจกรรม

[แก้]

เซ็นเตอร์พ้อยท์ เป็นสถานที่จัดงานคอนเสิร์ต จัดงาน และเปิดตัวสินค้ามาแล้วมากมาย เป็นสถานที่ประกวดดนตรี หรือเป็นลานทางความคิด เน้นกลุ่มวัยรุ่น โดยวัตถุประสงค์การจัดอีเว้นท์ เนื่องมาจากทุกวันนี้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เน้นการตลาดแบบ Below the Line มากขึ้น ซึ่งเซ็นเตอร์พอยท์มีลักษณะพิเศษเป็นแหล่งรวมวัยรุ่นกลุ่มพิเศษ และแสดงภาพของวัยรุ่นได้อย่างชัดเจน มีรูปแบบการจัดกิจกรรมที่เน้นเรื่องความทันสมัยโดนใจวัยรุ่น

โดยมีเวทีการจัดงานภายในที่มีหลังคาโปร่งใสคลุมและบริเวณลานน้ำพุ และจากสถิติของผู้สนใจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในพื้นที่แห่งนี้ ปีละไม่ต่ำกว่า 7,500,000 คน หรือประมาณ 150,000 คน ต่อวัน รวมถึงสื่อในการรองรับกิจกรรมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสื่อทีวี (Shaker Screen, Strawberry Sunday – TTV2, Under Cut – TTV1, Music Chic Showz – Beyond Channel), วิทยุ (S.O.S Radio), Website (www.centerpoint108.com) และสิ่งพิมพ์ (Centerpoint Magazine)

สื่ออื่น ๆ

[แก้]

สิ่งพิมพ์

[แก้]

สื่อสิ่งพิมพ์เริ่มต้นตั้งแต่มีนาคม 2548 ในรูปแบบของนิตยสาร Centerpoint นิตยสารรายสองเดือนฉบับแรกในเครือเซ็นเตอร์พ้อยท์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ มีเนื้อหาแฟชั่น บทสัมภาษณ์นักร้อง ดารา ที่เป็นที่นิยม โดยมีคำขวัญว่า More Than U Can See (มอร์ แดน ยู แคน ซี) นอกจากนั้นยังมีการจัดทำพ็อกเก็ตบุ๊คอย่างเช่น งกแต่ร่วยช่วยไม่ได้ (โดย เจมิกซ์-เจริญ แซ่จู ดี.เจ.จาก True Music Radio), เม้าท์ไป เรียนไปในอะโอะโมะริ (โดยแพท จีว่า) และ เวลา...อารมณ์ (โดย นพจงกล)

สื่อออนไลน์

[แก้]

นอกจากนี้เซ็นเตอร์พ้อยท์ ยังมีการจัดทำเว็บไซต์ www.centerpoint108.com เป็นเนื้อหาวาไรตี้และมีสถานีวิทยุออนไลน์ S.O.S RADIO และเว็บไซต์ www.centerpoint.co.th นำเสนอข่าวสารองค์กรและกิจกรรมที่เซ็นเตอร์พ้อยท์

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°44′40″N 100°31′59″E / 13.744430°N 100.533140°E / 13.744430; 100.533140