ข้ามไปเนื้อหา

เซกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซกา คอร์ปอเรชั่น
株式会社セガ
ประเภทบริษัทลูก ของ เซกา แซมมี โฮลดิ้งส์
อุตสาหกรรมVideo games
former video game console manufacturer
ก่อตั้งStandard Games (1940);[1] Service Games (May 1952)[2]
สำนักงานใหญ่
บุคลากรหลักHajime Satomi, CEO of Sega Corp.
Hisao Oguchi, President of Sega Corp.
Naoya Tsurumi, Head of Sega's Entertainment Business
Alberto Sega, President and CEO of Sega West
Yu Suzuki
ผลิตภัณฑ์Hedgehog Engine
Sonic the Hedgehog series
Total War series
Virtua Fighter series
Shenmue series
The House of the Dead series
Phantasy Star series
Panzer Dragoon series
Ryu Ga Gotoku series
(See complete software listing.)
SG-1000
Master System
Mega Drive/Genesis(32x,CD)
Game Gear
Nomad
Pico
Saturn
Dreamcast
รายได้US$1.64 billion
พนักงาน
3,127 (2009)
เว็บไซต์Sega Corporation (Japan)
Sega of America
Sega Europe
PlaySega

เซกา (อังกฤษ: Sega ; ญี่ปุ่น: セガ) เป็นบริษัทผลิตวิดีโอเกมทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สัญชาติญี่ปุ่น เดิมทีเซกาทำธุรกิจทั้งเกมคอนโซลและเกมอาเขต แต่หลังจาก ค.ศ. 2001 บริษัทได้หันมามุ่งผลิตซอฟต์แวร์เกมเพียงอย่างเดียว

สำนักงานใหญ่ของเซกาอยู่ที่เมืองโอตะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ส่วนสำนักงานใหญ่ของเซกาอเมริกาอยู่ที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เซกายุโรปมีสำนักงานใหญ่ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร

ประวัติ

[แก้]

บริษัทเซกาก่อตั้งในปี ค.ศ. 1940 โดยในตอนแรกใช้ชื่อบริษัทว่า แสตนดาร์ดเกมส์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น เซอร์วิสเกมส์) ก่อตั้งในเกาะฮาวายประเทศสหรัฐอเมริกา[3] โดยมีเป้าหมายในการผลิตเครื่องเล่นแบบหยอดเหรียญสำหรับผ่อนคลายขายให้กองทัพนำไปตั้งตามฐานทัพเพื่อให้ทหารได้หย่อนใจ ต่อมาบริษัทได้ย้ายที่ตั้งบริษัทไปตั้งที่ญี่ปุ่นในปี 1951 และจดทะเบียนในชื่อ "SErvice GAmes of Japan" ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "เซกา"

ในปี 1954 นักธุรกิจชาวอเมริกันผู้หนึ่งได้ก่อตั้งบริษัท "รอซเซน เอนเตอไพรซ์" ขึ้นในญี่ปุ่น โดยเป็นบริษัทส่งออกสินค้าทางศิลปะ ต่อมาทางบริษัทได้นำเข้าตู้ถ่ายรูปอัตโนมัติแบบหยอดเหรียญเข้ามาในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้รับความนิยมอย่างคาดไม่ถึง ตู้ถ่ายรูปแบบยอดเหรียญกลายเป็นกระแสที่นิยมอย่าสูงในญี่ปุ่น บริษัทรอซเซนจึงตัดสินใจขยายกิจการโดยเริ่มนำเข้าตู้เกมแบบหยอดเหรียญเข้ามาทำตลาดด้วย

ในปี 1965 บริษัทเซอร์วิสเกมและบริษัทรอซเซนเอนเตอไพรซ์ก็ได้ควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน กลายเป็นบริษัทใหม่ที่ชื่อ "เซกา" ภายในปีเดียวกัน เซกาได้นำเกมจำลองการขับเรือดำน้ำออกขาย ซึ่งกลายเป็นที่นิยมไปทั่วโลก

ในปี 1969 บริษัท กัลฟ์+เวสต์เทิร์น ได้เข้าซื้อบริษัทเซกาได้สำเร็จ แต่ได้อนุญาตให้นายรอซเซน CEO คนเก่าของเซกายังคงตำแหน่ง CEO ของเซกาต่อไป ภายใต้การบริหารของนายรอซเซน เซกากลายเป็นผู้ผลิตเกมรายใหญ่ ผลิตเกมที่ได้รับความนิยมมากมาย

ในปี 1983 ตลาดวิดีโอเกมซบเซาอย่างหนัก หรือที่เรียกกันว่า "ยุคล่มสลายของวิดีโอเกม" เซกาได้รับผลกระทบอย่างหนัก จนในที่สุดบริษัทกัลฟ์+เวสต์เทิร์นจึงได้ขายทรัพย์สินของเซกาที่ตนถือครองอยู่ให้กับบริษัท "บอลลี" ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตเกมพินบอลชั้นนำ ส่วนทรัพย์สินของเซกาในญี่ปุ่น นายรอซเซนอดีต CEO ได้ร่วมทุนกับนายฮายาโอะ นาคายาม่า เข้าซื้อทรัพย์สินของเซกาในญี่ปุ่น นายนาคายาม่าได้เป็น CEO คนใหม่ของเซกา ส่วนนายรอซเซนได้เป็นหัวหน้าสาขาของเซกาในอเมริกา

ในปี 1984 กลุ่มบริษัท CSK ได้เข้าซื้อบริษัทเซกา และเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท "เซกา เอนเตอไพรซ์ จำกัด" โดยมีสำนักงานใหญ่ในญี่ปุ่น มีนายอิซาโอะ โอคาวะเป็นประธานบริษัท และมีการนำหุ้นของบริษัทเซกาเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในปี 1986

ในปี 1986 ตลาดวิดีโอเกมในอเมริกาได้เริ่มฟื้นตัวขึ้น เซกาจึงฉวยจังหวะนี้ก่อตั้งบริษัท "เซกา ออฟ อเมริกา" ขึ้นมา และได้ผลิตเครื่องเกมคอนโซลเครื่องแรกของเซกาที่ชื่อ "มาสเตอร์ซิสเต็ม" ขึ้นมาแข่งกับแฟมิคอมของบริษัทนินเทนโด ถึงแม้เซกาจะแพ้ให้กับนินเทนโดในการขายมาสเตอร์ซิสเต็มในอเมริกาเหนือ แต่เซกาสามารถครอบครองตลาดยุโรปและบราซิลได้สำเร็จ

เมกาไดรฟ์

[แก้]

เซกาผลิตเครื่องเกม 16 บิทที่ชื่อ "เมกาไดรฟ์" (ในอเมริกาใช้ชื่อว่า "เจเนซิส") ออกวางจำหน่ายในปี 1988 เครื่องเมกาไดรฟ์นั้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องแฟมิคอมหลายเท่า เซกาจึงหวังจะใช้เมกาไดรฟ์ในการตีตลาดวิดีโอเกมที่นินเทนโดครอบครองอยู่ โดยใช้สโลแกนว่า "เจเนซิสทำ ในสิ่งที่นินเทนโดทำไม่ได้" (Genesis does what Nintendon't) ซึ่งต่อมาในปี 1991 เมื่อนินเทนโดนำเครื่องเกมรุ่นใหม่ที่ชื่อ "ซูเปอร์แฟมิคอม" ออกจำหน่าย จึงเกิดการแข่งขันอย่างดุเดือดระหว่างสองบริษัท จนเรียกขานกันภายหลังว่าเป็นสงครามเกมคอนโซลที่ดุเดือดที่สุด เพื่อแข่งกับเกมชื่อดังของนินเทนโดอย่างมาริโอ เซกาพัฒนาเกมใหม่ที่มีชื่อว่า "Sonic the Hedgehog" โดยมีจุดมุ่งหมายเอาใจตลาดกลุ่มวัยรุ่นในยุคนั้น ด้วยรูปลักษณ์ที่ดูเท่ห์กว่าและการดำเนินเกมที่เร็วกว่าเกมมาริโอ ต่อมาเมื่อสื่อบันทึกรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า CD-ROM เริ่มเป็นที่นิยม เซกาได้พัฒนาอุปกรณ์เสริมที่ชื่อ "เซกา-CD" ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริมที่ทำให้เครื่องเมกาไดรฟ์สามารถเล่นเกมจากแผ่นซีดีได้ ต่อมาในปี 1994 เครื่องเกมแบบ 16 บิทเริ่มจะล้าสมัย เซกาได้พยายามยืดอายุของเครื่องเมกาไดรฟ์โดยออกอุปกรณ์ที่ชื่อ "เซกา-32X" ออกวางจำหน่าย โดยเซกา-32X จะช่วยอัพเกรดให้เครื่องเมกาไดรฟ์มีประสิทธิภาพใกล้เคียงเครื่องเกม 32 บิท แต่ก็ต้องหลีกทางให้เครื่องเกมรุ่นใหม่อย่างเพลย์สเตชันและแซทเทิร์นในที่สุด

ความสำเร็จในอุตสหกรรมเกมอาเขต

[แก้]

ในปี 1993 เซกาได้นำเกมต่อสู้ 3 มิติ "Virtua Fighter" ออกจำหน่ายในรูปแบบของเกมตู้อาเขต ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในผลงานที่ประสบความสำเร็จที่สุดของเซกา ด้วยตู้เกมส์อาเขตแบบใหม่ที่เซกาาพัฒนาขึ้น เวอร์ชวลไฟต์เตอร์เป็นผลงานที่ล้ำหน้าในยุคนั้นในด้านกราฟิกแบบ 3 มิติ ซึ่งเกมนี้เป็นจุดกำเนิดของเกมต่อสู้แบบ 3 มิติ

ต่อมาในปี 1994 เซกาก็ได้นำเกมแข่งรถที่ชื่อ "เดโทน่า USA" ออกวางตลาด ซึ่งกลายเป็นเกมแข่งรถแบบอาเขตที่ประสบความสำเร็จสูงสุด เป็นเกมแข่งรถที่ทำเงินได้มากที่สุดในยุคนั้น ในปีเดียวกันเซกาก็ได้นำเกม "เวอร์ชวล คอป" และ "สตาร์ วอวร์" ออกวางตลาด ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเช่นกัน

ในปี 1994 เซกาได้เข้าซื้อบริษัทผลิตเกมพินบอล[4] และเริ่มเข้ามาลงทุนในตลาดเกมพินบอลในอเมริกา ซึ่งต่อมาเซกากลายเป็นหนึ่งในผู้ผลิตเกมพินบอลรายใหญ่ที่สุดในโลก

แซตเทิร์น

[แก้]

เซกานำเครื่องเกมรุ่นใหม่ที่ใช้ CD-ROM ที่ชื่อ "แซตเทิร์น" ออกวางจำหน่ายในปี 1994 โดยแข่งขันกับคู่แข่งอย่างเครื่องเพลย์สเตชันของโซนี่และนินเท็นโด 64ของนินเท็นโด แต่เครื่องแซทเทิร์นกลับขายไม่ค่อยดีนักในตลาดฝั่งตะวันตก เครื่องแซทเทิร์นจึงถูกเซกาทอดทิ้งในเวลาไม่นาน แต่ในญี่ปุ่น เครื่องแซทเทิร์นประสบความสำเร็จพอสมควร จึงมีเกมที่ออกวางขายเฉพาะในญี่ปุ่นออกให้กับเครื่องแซทเทิร์นจำนวนมากมาย ปี 1997 เซกาได้ควบรวมกิจการกับบันไดชั่วคราว แต่ไม่นานหลังจากนั้นก็แยกตัวออกมา เนื่องจาก "วัฒนธรรมในการทำงานแตกต่างกัน"[5]

ดรีมแคสต์

[แก้]

ในวันที่ 9 เดือน 9 ปี ค.ศ. 1999 เซกาได้เปิดตัวเครื่องเกมรุ่นใหม่ นั่นคือ "ดรีมแคสต์" ดรีมแคสต์นั้นมีราคาไม่แพงนัก ทั้งยังมีเทคโนโลยีชั้นสูงที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้สามารถเล่นเกมที่มีคุณภาพสูงกว่าเกมของนินเทนโด 64 หรือเพลย์สเตชัน พร้อมด้วยแถมโมเด็มขนาด 56K มาพร้อมกับเครื่อง ทำให้สามารถเล่นเกมดรีมแคสต์ออนไลน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้อีกด้วย พร้อมกันนี้ เซกาได้พัฒนาเกมที่สามารถใช้กับระบบออนไลน์นี้ เช่น เกม "แฟนตาซี สตาร์ ออนไลน์" ซึ่งเป็นเกมออนไลน์บนคอนโซลเกมแรกของวงการ

แต่อย่างไรก็ตาม การเปิดตัวของดรีมแคสต์ในญี่ปุ่นไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก เนื่องจากมีจำนวนเกมให้เลือกเล่นน้อย และบรรดานักเล่นเกมต่างกำลังรอคอยเครื่องเพลย์สเตชัน 2ที่กำลังจะออกใหม่ ทำให้เครื่องดรีมแคสต์ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ส่วนในตลาดฝั่งตะวันตกนั้นประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ จนได้รับการเรียกขานว่า "การเปิดตัวอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในประวัติศาสตร์" ในอเมริกาขายได้ถึง 500,000 เครื่องภายในอาทิตย์แรก[6] เซกาสามารถครอบครองส่วนแบ่งการตลาดนี้ไว้ได้ในระยะเวลาหนึ่ง จนกระทั่งเครื่อง"เพลย์สเตชัน"ของโซนี่เปิดตัวในอเมริกา ซึ่งทำให้ความนิยมของดรีมแคสต์ตกต่ำลง จนสูญเสียตลาดให้กับโซนี่ในที่สุด

เครื่องดรีมแคสต์ได้สร้างนวัตถกรรมใหม่ๆหลายอย่างให้กับวงการเกม เช่น การใช้กราฟิกแบบ "เซล-เชด" ระบบที่ทำให้ติดต่อกับเกมผ่านทางไมโครโฟนได้ และเกมชื่อดังอย่างเกม "เชนมู" ที่ได้รับคำชมจากนักวิจารณ์เป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ดี เกมของเซกานั้นส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากบรรดานักเล่นเกมส่วนมาก เนื่องจากบรรดานักเล่นเกมมัวแต่หันไปสนใจกับเครื่องเพลย์สเตชัน 2

เซกาต้องประสบกับปัญหาหนี้สิน และการเข้ามาของเพลย์สเตชัน 2 ทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลงไปอีก เซกาจึงตัดสินใจยุติการผลิตเครื่องดรีมแคสต์ และถอนตัวจากอุตสาหกรรมเครื่องเกมคอนโซล เครื่องดรีมแคสต์จึงเป็นเครื่องเกมคอนโซลเครื่องสุดท้ายของเซกา

เครื่องเล่นเกมคอนโซล

[แก้]

ผลิตภัณฑ์เครื่องเล่นเกมคอนโซลของเซกา ได้แก่ เอสจี-1000, เอสจี-1000 มาร์ก ทู, เอสซี-3000, มาสเตอร์ซิสเต็ม, เอสจี-1000 มาร์ก ทรี, เมกาไดรฟ์ (ในอเมริกาใช้ชื่อว่า Genesis) , เซกา แซตเทิร์น และ ดรีมแคสต์

เครื่องเล่นเกมพกพา

[แก้]

ผลิตภัณฑ์เครื่องเล่นเกมพกพาของเซกา ได้แก่ เกมเกียร์ และ Sega Nomad

ซอฟต์แวร์

[แก้]

เซก้ามีซีรีส์เกมที่มีชื่อเสียงหลายเกม เช่น Sonic the Hedgehog และ Virtua Fighter

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.referenceforbusiness.com/history/Ro-Sh/SEGA-Corporation.html
  2. Kent, Steven. "The Seeds of Competition". The Ultimate History of Video Games: From Pong to Pokémon and Beyond- The Story That Touched Our Lives and Changed the World (First ed.). Roseville, California: Prima Publishing. p. 305. ISBN 0-7615-3643-4. Service Games began in 1952
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-05. สืบค้นเมื่อ 2009-02-25.
  4. http://query.nytimes.com/gst/fullpage.html?res=9A05E4DF1E39F934A1575BC0A962958260
  5. http://www.gamespot.com/news/2466444.html
  6. http://www.vidgame.net/SEGA/DC.html

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]