เชอร์ชาห์สุรี
เชอร์ชาห์สุรี | |
---|---|
สุลต่านแห่งเดลี | |
รัชสมัย | 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1540 – 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1545 |
ราชาภิเษก | ค.ศ. 1540 |
รัชกาลก่อนหน้า | สมเด็จพระจักรพรรดิหุมายุน |
รัชกาลถัดไป | สมเด็จพระจักรพรรดิอักบัร |
ประสูติ | ค.ศ. 1472[1] ปาตลีบุตร รัฐพิหาร |
สวรรคต | 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1545 สหัสราม รัฐอุตตรประเทศ |
พระอัครมเหสี | มลิกา บีบิ |
พระราชบุตร | จาลัล คาน |
เชอร์ ชาห์ สุรี | |
ราชวงศ์ | ซูร์ |
พระราชบิดา | มีอัน ฮัสซัน คาน ซูร์ |
พระราชมารดา | พระนางมะฮาม เบกุล |
เชอร์ ชาห์ สุรี (ค.ศ. 1486 – 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1545) (ภาษาเปอร์เซีย/ปาทาน: فريد خان شير شاہ سوري – Farīd Xān Šer Šāh Sūrī, พระนามเดิม ฟาริด คาน, หรือนิยมกล่าวพระนามว่า เชอร์ คาน, "กษัตริย์เจ้าพยัคฆา") เป็นกษัตริย์ผู้สถาปนาราชวงศ์ซูร์ ซึ่งปกครองจักรวรรดิซูร์ในอินเดียตอนเหนือ โดยมีเมืองหลวงที่เดลี[2] โดยกำเนิดเป็นชาวอัฟกันพื้นเมือง โดยพระองค์สามารถยึดจักรวรรดิโมกุลมาเป็นของพระองค์ได้ในปีค.ศ. 1540 ต่อมาหลังจากสวรรคตอย่างกะทันหันในปีค.ศ. 1545 พระโอรสจึงได้สืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ในพระนามว่า "อิสลาม ชาห์ สุรี"[3][4][5][6][7] ในช่วงแรกนั้นรับราชการเป็นพลทหารของจักรวรรดิโมกุล ก่อนที่จะได้รับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองทัพในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิบาบูร์ และต่อมาได้เป็นผู้ปกครองพิหาร ในปีค.ศ. 1537 ในขณะที่สมเด็จพระจักรพรรดิหุมายุนเสด็จแปรพระราชฐานต่างเมือง เชอร์ คานได้นำกองทัพเข้าบุกยึดครองรัฐเบงกอลและสถาปนาราชวงศ์ซูร์ขึ้น[8] พระองค์ทรงเป็นผู้มีพระปรีชาญาณหลักแหลมทางด้านการวางแผน ทรงเป็นทั้งผู้ปกครองและจอมทัพผู้เก่งกล้า การจัดระเบียบการปกครองภายในจักรวรรดิในรัชสมัยของพระองค์เป็นการปูรากฐานสำคัญของจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมกุลในรัชสมัยต่อๆมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิอักบัร[8]
ในระหว่างรัชสมัยของพระองค์ซึ่งกินเวลาเพียง 5 ปีนั้น ได้ทรงจัดระเบียบการปกครองทั้งพลเรือนและการทหาร และยังเริ่มการใช้สกุลเงิน "รูปี" และยังจัดระเบียบการไปรษณีย์ของอินเดียอีกด้วย นอกจากนี้ยังทรงพัฒนาเมืองดินา-ปานาห์ ซึ่งสร้างโดยสมเด็จพระจักรพรรดิหุมายุน และเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่เป็น "เชอร์การห์" และยังพัฒนาเมืองปาตลีบุตร ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานซึ่งกำลังอยู่ในช่วงตกต่ำตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 เป็นต้นมา แล้วเรียกชื่อใหม่ว่า "ปัฎนา"[9] พระองค์ยังเป็นที่จดจำจากการฆ่าเสือขนาดตัวเต็มวัยด้วยมือเปล่าในป่าของพิหาร ซึ่งเป็นที่มาของพระนามของพระองค์[3][8] พระองค์ยังเป็นผู้ที่ปรับปรุงและขยาย "แกรนด์ ทรังก์ โรด" ซึ่งเป็นถนนที่เก่าแก่และมีความยาวที่สุดในอนุทวีปอินเดีย กินระยะทางจากจิตตะกองในบังคลาเทศ ไปยังคาบูลในอัฟกานิสถาน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Muhammad Ansar Ali , Sher Shah เก็บถาวร 2012-01-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Banglapedia: The National Encyclopedia of Bangladesh, Asiatic Society of Bangladesh, Dhaka, Retrieved: 17 March 2012
- ↑ "Sher Shah – The Lion King". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-12. สืบค้นเมื่อ 2013-06-04.
- ↑ 3.0 3.1 "Shēr Shah of Sūr". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 23 August 2010.
- ↑ Chaurasia, Radhey Shyam (2002). History of medieval India: from 1000 A.D. to 1707 A.D. Crabtree Publishing Company. p. 179. ISBN 81-269-0123-3. สืบค้นเมื่อ 23 August 2010.
- ↑ Schimmel, Annemarie (2004). The empire of the great Mughals: history, art and culture. Reaktion Books. p. 28. ISBN 1-86189-185-7. สืบค้นเมื่อ 23 August 2010.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Singh, Sarina (2008). Pakistan & the Karakoram Highway. Vol. 7, illustrated. Lonely Planet. p. 137. ISBN 1-74104-542-8. สืบค้นเมื่อ 23 August 2010.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Greenberger, Robert (2003). A Historical Atlas of Pakistan. The Rosen Publishing Group. p. 28. ISBN 0-8239-3866-2. สืบค้นเมื่อ 23 August 2010.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 "Sher Khan". Columbia Encyclopedia. 2010. สืบค้นเมื่อ 24 August 2010.
- ↑ Patna encyclopedia.com.
ก่อนหน้า | เชอร์ชาห์สุรี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
- | ชาห์แห่งจักรวรรดิซูร์ (17 พฤษภาคม ค.ศ. 1540 – 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1545) |
อิสลามชาห์สุรี |