ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่
ดำรงตำแหน่ง
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2480
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 เมษายน พ.ศ. 2441
จังหวัดแพร่ ประเทศสยาม
เสียชีวิต6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 (72 ปี)
ประเทศลาว
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสเจ้าน้อย แสนศิริพันธุ์ (สกุลเดิม บุตรรัตน์)
เจ้านายฝ่ายเหนือ

เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ หรือ เจ้าโว้ง แสนศิริพันธุ์[1] เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดแพร่[2] และเป็นอดีตสมาชิกขบวนการเสรีไทย[3]

ประวัติ

[แก้]

เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2441 ที่จังหวัดแพร่ เป็นบุตรชายคนเล็กของพระวิไชยราชา (เจ้าหนานขัติ แสนศิริพันธุ์) พระวิไชยราชานครแพร่ และอดีตเสนาคลังเมืองนครแพร่ (บุตรแสนเสมอใจ ขุนนางเค้าสนามหลวงนครแพร่ กับเจ้าพิมพา (สืบเชื้อสายมาจากเจ้าหลวงเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์แสนซ้าย)) และเจ้าคำป้อ (ธิดาพญาประเสริฐชนะสงครามราชภักดี) มีเจ้าพี่ร่วมมารดา 1 คน คือเจ้าสุคันธา ไชยประวัติ และต่างมารดาอีก 4 คน สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ ท่านเป็นศิษย์เอกของภราดา ฟ.ฮีแลร์ และมีความสามารถในการพูด อ่านภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว

เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 ที่ประเทศลาว สิริอายุรวม 72 ปี

ครอบครัว

[แก้]

เจ้าวงศ์ สมรสกับเจ้าน้อย แสนศิริพันธุ์ (สกุลเดิม บุตรรัตน์) (ธิดาเจ้าน้อยจุ๋งแก้ว และแม่นายมา บุตรรัตน์) มีบุตรชาย 1 คนคือ เจ้าสุนทร แสนศิริพันธุ์ สมรสกับนางจิรศักดิ์ และนางสุเนตรา มีบุตร-ธิดา คือ

1.นายอมรพล แสนศิริพันธุ์
2.นางอุบลพรรณ แสนศิริพันธุ์
3.นายภูมิ แสนศิริพันธุ์ (เกิดจากนางสุเนตรา)
4.นายโก้ แสนศิริพันธุ์ (เกิดจากนางสุเนตรา)
5.นางกิ๊ก แสนศิริพันธุ์ (เกิดจากนางสุเนตรา)
6.นายก้อย แสนศิริพันธุ์ (เกิดจากนางสุเนตรา)

และนอกจากนี้เจ้าวงศ์ ยังมีบุตร-ธิดา กับภรรยาอื่นๆอีกหลายคน ได้แก่

  • เจ้าน้อยบุญนัก แสนศิริพันธุ์ (เกิดจากเจ้าเป็ง (ธิดาเจ้าหนานโต้ง เชื้อสายเจ้าหลวงนครลำปาง)) สมรสกับนางจันทร์แดง แสนศิริพันธุ์ มีบุตร คือ
1.นายวันชัย ศิริพันธุ์ (ใช้นามสกุล "ศิริพันธุ์") สมรสกับนางอำพรรณ วงศ์ลือโลก และภรรยาคนที่ 2 มีบุตร คือ
1.1.นายวิบูลศักดิ์ ศิริพันธุ์
1.2.ดร.อนุกูล ศิริพันธุ์
1.3.นายดนัย ศิริพันธุ์ (เกิดจากภรรยาคนที่ 2)
  • นางศรีทอง อารีย์วงศ์ สมรสกับนายแพทย์บุญชม อารีย์วงศ์
  • นายสุทิน แสนศิริพันธุ์
  • นางทิพยวรรณ สุวรรณช่าง
  • นายสุเทพ แสนศิริพันธุ์
  • นายสุทัศน์ แสนศิริพันธุ์
  • นายสุวิทย์ แสนศิริพันธุ์ สมรสกับนางเฝื่อ แสนศิริพันธุ์ ภรรยาเชื้อสายลาว สัญชาติไทย
  • นายสมคิด แสนศิริพันธุ์
  • นายทวีศักดิ์ แสนศิริพันธุ์
  • นายสุภาพ แสนศิริพันธุ์
  • นายสุพจน์ แสนศิริพันธุ์
  • นางวงศ์สวาท แสนศิริพันธุ์
  • นางศริวัฒนา แสนศิริพันธุ์
  • นายสุทีพ แสนศิริพันธุ์
  • นางถนอมศรี แสนศิริพันธุ์

การทำงาน

[แก้]

กิจการไม้สัก

[แก้]

เจ้าวงศ์ เริ่มทำงานเป็นสมุหบัญชีที่ห้างอิสต์เอเชียทีค บริษัทที่ได้รับสัมปทานป่าไม้เขตภาคเหนือ เมื่อศึกษาวิธีการทำงานและบริหารงานจนชำนาญแล้วจึงได้ลาออกมาประกอบอาชีพค้าไม้สัก เป็นผู้รับเหมางานจากห้างอิสต์เอเชียทีค และห้างบอมเบย์เบอร์มา อาชีพทำสัปทานไม้ท่านทำให้มีช้างใช้ในงานถึง 100 เชือก และรถลากไม้ไม่น้อยกวา 40 คัน ทำสัปทานไม้สักทั้งในจังหวัดแพร่และจังหวัดใกล้ จนร่ำรวยมหาศาล

ต่อมาท่านได้เลิกกิจการค้าไม้สักแล้วหันมาทำธุรกิจโรงบ่มใบยาสูบและไร่ยาสูบ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จจึงได้เลิกกิจการ แล้วหันมาประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ เช่น ปลูกทุเรียน เงาะ มังคุด ซึ่งเป็นสวนผลไม้รสดีแห่งเดียวในจังหวัดแพร่

งานการเมือง

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2476 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476 ซึ่งให้ราษฎรเลือกตัวแทนตำบลละ 1 คน จากนั้นก็ให้ตัวแทนตำบลมาเลือกกันเอง ปรากฏว่าเจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดแพร่[4][5][1] ขณะอายุได้ 32 ปี

กิจการสาธารณะ

[แก้]

เจ้าวงศ์ มิได้แตกต่างจากบิดาของท่านในเรื่องการศาสนา ท่านได้บริจาครถยนต์ให้วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร บริจาคไม้สัก เงินทอง สร้างวัด โรงเรียน ศาลาการเปรียญ โบสถ์ วิหาร อยู่อย่างสม่ำเสมอ ท่านเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาจึงสนับสนุนลูกหลานให้เรียนชั้นสูงสุดถึงมหาวิทยาลัยทั้งในและนอกประเทศ รวมทั้งให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนโรงเรียนวนศาสตร์ (โรงเรียนป่าไม้) เป็นจำนวนมาก

บั้นปลายชีวิต

[แก้]

เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ และครอบครัวต้องประสบชะตากรรม สูญสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง รวมทั้งคุ้มวิชัยราชาเพราะถูกรัฐยึด เนื่องจากมาตรการชำระภาษีในยุคนั้นจากการศึกษาวิเคราะห์หาสาเหตุที่เจ้าวงค์ต้องมีอันเป็นไปนี้ เป็นไปได้ว่า คงเป็นเพราะความสัมพันธ์แนบแน่นกับท่านปรีดี พนมยงค์ จึงทำให้ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกับแกนทำขบวนการเสรีไทยคนอื่นๆ ที่ใกล้ชิดกับหัวหน้าที่ผิดเพี้ยนไปคือไม่ได้โดนฆ่าแบบนายเลียง ไชยกาล นายเตียง ศิริขันธ์ หรือนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ฯลฯ ชีวิตในช่วงที่เหลือของท่านค่อนข้างอับเฉา ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากในประเทศลาว จนวาระสุดท้ายที่เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2513 จนมีบางคนกล่าวว่า ถ้าโดนฆ่าตายแบบคนอื่นจะดีกว่า เพราะไม่ต้องทนทุกข์ทรมาน

สถานที่อันเนื่องชื่อ

[แก้]

โรงเรียนบ้านพันเชิง (วงศ์หล้าราษฎร์บำรุง)

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่. ประวัติศาสตร์เมืองแพร่ 2550. แพร่ : เมืองแพร่การพิมพ์. 2550
  2. สถาบันพระปกเกล้า. นักการเมืองถิ่นจังหวัดแพร่ กรุงเทพ : สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555
  3. คุ้มวิชัยราชา[ลิงก์เสีย]
  4. อาร์วายทีไนน์,สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากการเลือกตั้งครั้งแรก
  5. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปรเภทที่ 1