ข้ามไปเนื้อหา

เกเนอราลพลานอ็อสท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เจเนรัลพลันโอสท์)
เกเนอราลพลานอ็อสท์
แผนการตั้งอาณานิคม (จุดสีเหลืองและเพชร)ซึ่งถูกร่างขึ้นโดยมหาวิทยาลัยฮุมบ็อลท์แห่งเบอร์ลินในปี ค.ศ. 1942 โดยมีพื้นทีครอบคลุมประเทศในทะเลบอลติก, โปแลนด์, เบลารุส, ยูเครน และคาบสมุทรไครเมีย

ระยะเวลาค.ศ. 1941-1945
ที่ตั้งดินแดนที่ถูกยึดครองโดยนาซีเยอรมนี
ประเภทการขจัดชาติพันธุ์ และการถ่ายเทโยกย้ายประชากร
สาเหตุเลเบนสเราม์, ไฮม์อินไรช์
ผู้ดำเนินการอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

เกเนอราลพลานอ็อสท์ (เยอรมัน: Generalplan Ost), ย่อคำว่า GPO เป็นแผนการของรัฐบาลนาซีเยอรมนีในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[1] และขจัดชาติพันธุ์ในพื้นที่กว้างใหญ่ และเขตอาณานิคมของทวีปยุโรปกลางและตะวันออกโดยเยอรมัน มันได้ถูกรับรองในดินแดนที่ถูกยึดครองโดยเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แผนการนี้ได้เป็นที่รับรู้เพียงบางส่วนในช่วงสงคราม,ได้ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากมายมหาศาลทั้งทางตรงและทางอ้อม,แต่การลงมือแผนการทั้งหมดกลับไม่ได้ปฏิบัติตามในช่วงปฏิบัติการทางทหารที่สำคัญ และถูกขัดขวางจากความพ่ายแพ้ของเยอรมนี[2][3][4]

แผนการนี้ได้ก่อให้เกิดการกดขี่ข่มเหง ขับไล่เนรเทศ และสังหารหมู่ต่อชนชาวสลาฟจำนวนมากในทวีปยุโรปรวมถึงการวางแผนการทำลายประเทศชาติของพวกเขา,แบบที่"เผ่าอารยัน"ของนาซีนั้นได้ดูราวกับเชื้อชาติด้อยกว่าตน โครงการแนวทางการปฏิบัตินี้ได้ขึ้นอยู่กับนโยบายเลเบนสเราม์ ซึ่งได้ออกแบบโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซีในการปฏิบัติตามอุดมการณ์ของลัทธิ Drang nach Osten (การขับไล่ไปทางตะวันออก) จากการขยายตัวของเยอรมัน ซึ่งเช่นนี้แล้ว ได้มุ่งมั่นหมายที่จะเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบใหม่ในทวีปยุโรป[5]

แผนการนำได้ดำเนินไป มีเพียงสี่รุ่นที่เป็นที่รู้จักกัน มันได้ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อเวลาได้ผ่านพ้นไป ภายหลังจากการบุกยึดครองโปแลนด์ ภาพออกแบบพิมพ์เขียวสำหรับแผนการเกเนอราลพลานอ็อสท์ (GPO) ได้ถูกกล่าวถึงโดยสำนักผู้ตรวจการไรช์เพื่อความเป็นเอกภาพแห่งชนชาติเยอรมัน-RKFDV ในช่วงกลางของปี ค.ศ. 1940 ระหว่างการถ่ายเทโยกย้ายประชากรของนาซี-โซเวียต ส่วนรุ่นที่สองของแผนการได้รับการสนับสนุนในการจัดหาจากสำนักความมั่นคงหลักของรัฐ (Reich Main Security Office-RSHA) จาก Wetzel ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1942 ส่วนรุ่นที่สามได้ลงในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1942 อย่างเป็นทางการ ส่วนแผนการนำในการตั้งรกรากครั้งสุดท้ายสำหรับภาคตะวันออกใน RKFDV เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1942 อย่างไรก็ตามหลังจากที่เยอรมันต้องพบกับความปราชัยที่เมืองสตาลินกราด แผนการการตั้งรกรากทางตะวันออกได้ถูกระงับและถูกทอดทิ้งในที่สุด[6] แผนการนี้รวมค่าใช้จ่ายที่อยู่ในช่วง 40 ถึง 67 พันล้านไรช์มาร์ค ตัวเลขหลังมีความใกล้เคียงกับจีดีพีประเทศเยอรมนีทั้งประเทศใน ค.ศ. 1941[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "As a matter of fact, Hitler wanted to commit Genocide against the Slavic peoples, in order to colonize the East" Empire, Colony, Genocide: Conquest, Occupation, and Subaltern Resistance in World History by A. Dirk Moses, Berghahn Books, 2008, page 20
  2. WISSENSCHAFT - PLANUNG - VERTREIBUNG. เก็บถาวร 2021-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Der Generalplan Ost der Nationalsozialisten· Eine Ausstellung der Deutschen Forschungsgemeinschaft © 2006
  3. Dietrich Eichholtz»Generalplan Ost« zur Versklavung osteuropäischer Völker. PDF file, direct download.
  4. Yad Vashem. "Generalplan Ost" (PDF).
  5. "Lebensraum". encyclopedia.ushmm.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-06-23.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WFF_1
  7. Tooze, Adam (2007) The Wages of Destruction p. 472 ISBN 978-0-141-00348-1

หนังสือ

[แก้]

ข้อมูลปฐมภูมิ

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Bakoubayi Billy, Jonas: Musterkolonie des Rassenstaats: Togo in der kolonialpolitischen Propaganda und Planung Deutschlands 1919-1943, J.H.Röll-Verlag, Dettelbach 2011, ISBN 978-3-89754-377-5. (ในภาษาเยอรมัน)
  • Eichholtz, Dietrich. "Der Generalplan Ost." Über eine Ausgeburt imperialistischer Denkart und Politik, Jahrbuch für Geschichte, Volume 26, 1982. (ในภาษาเยอรมัน)
  • Heiber, Helmut. "Der Generalplan Ost." Vierteljahrshefte für Zeitgeschichte, Volume 3, 1958. (ในภาษาเยอรมัน)
  • Kamenetsky, Ihor (1961). Secret Nazi Plans for Eastern Europe: A Study of Lebensraum Policies. New York City: Bookman Associates.
  • Madajczyk, Czesław. Die Okkupationspolitik Nazideutschlands in Polen 1939-1945, Cologne, 1988. OCLC 473808120 (ในภาษาเยอรมัน)
  • Madajczyk, Czesław. Generalny Plan Wschodni: Zbiór dokumentów, Główna Komisja Badania Zbrodni Hitlerowskich w Polsce, Warszawa, 1990. OCLC 24945260 (ในภาษาโปแลนด์)
  • Roth, Karl-Heinz, "Erster Generalplan Ost." (April/May 1940) von Konrad Meyer, Dokumentationsstelle zur NS-Sozialpolitik, Mittelungen, Volume 1, 1985. (ในภาษาเยอรมัน)
  • Szcześniak, Andrzej Leszek. Plan Zagłady Słowian. Generalplan Ost, Polskie Wydawnictwo Encyklopedyczne, Radom, 2001. ISBN 8388822039 OCLC 54611513 (ในภาษาโปแลนด์)
  • Wildt, Michael. "The Spirit of the Reich Security Main Office (RSHA)." Totalitarian Movements and Political Religions (2005) 6#3 pp. 333–349. Full article available with purchase.

แหล่งข้อมูลอืน

[แก้]