เครื่องอิสริยาภรณ์ดารายูโกสลาฟ
เครื่องอิสริยาภรณ์ดารายูโกสลาฟ | |
---|---|
ประเภท | เครื่องราชอิสริยาภรณ์สี่ชั้น |
วันสถาปนา | พ.ศ. 2497 |
ประเทศ | ยูโกสลาเวีย เซอร์เบียและมอนเตเนโกร |
ผู้สมควรได้รับ | ชาวยูโกสลาเวียและชาวต่างประเทศ |
สถานะ | พ้นสมัยการมอบ |
ผู้สถาปนา | ยอซีป บรอซ ตีโต |
ล้มเลิก | พ.ศ. 2549 |
ลำดับเกียรติ | |
สูงกว่า | เครื่องราชอิสริยาภรณ์ยูโกสลาเวีย |
รองมา | เครื่องอิสริยาภรณ์ธงแห่งยูโกสลาเวีย |
หมายเหตุ | แพรแถบเครื่องอิสริยาภรณ์ |
เครื่องอิสริยาภรณ์ดารายูโกสลาฟ[a] เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย[1] สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2497 โดยยอซีป บรอซ ตีโต[2] สำหรับมอบให้แก่ผู้กระทำคุณประโยชน์ต่อยูโกสลาเวีย แต่โดยส่วนมากมักจะมอบให้แก่ประมุขแห่งรัฐต่างประเทศเป็นหลัก เครื่องอิสริยาภรณ์นี้มีทั้งสิ้นด้วยกัน 4 ชั้น
ต่อมาเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้อยู่ในลำดับชั้นที่สองรองจากเครื่องอิสริยาภรณ์ยูโกสลาเวีย[3] และเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ได้พ้นสภาพเมื่อ พ.ศ. 2549 หลังการแยกตัวของประเทศมอนเตเนโกรส่งผลให้สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียสิ้นสุดลง
ลำดับชั้น
[แก้]เครื่องอิสริยาภรณ์นี้มีทั้งสิ้นสี่ชั้น ได้แก่
- มหาดารายูโกสลาฟ
- ดารายูโกสลาฟพร้อมสายสะพาย
- ดาราแห่งยูโกสลาเวียและสร้อยคอสีทอง
- ดาราแห่งยูโกสลาเวียและสร้อยคอ
สมาชิกแห่งราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มักจะมอบให้แก่ประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ คู่สมรสของประมุข รวมถึงชาวต่างประเทศที่มีเกียรติ สำหรับชั้นมหาดารายูโกสลาฟนั้นมีการมอบไป 127 ราย เป็นชาวต่างประเทศ 115 ราย และชาวยูโกสลาเวีย 12 ราย[4] สมาชิกแห่งอิสริยาภรณ์ชั้นมหาดารายูโกสลาฟ อาทิ
- สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
- สมเด็จพระจักรพรรดิฮัยเลอ ซึลลาเซที่ 1[5]
- ฌัก ชาบาน-เดอมา, นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส[5]
- พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี[5]
- สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก[6]
- สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์
- สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ[7]
- พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ[5]
- สมเด็จพระราชาธิบดีพีเรนทระแห่งเนปาล[5]
- นีกอลาเอ ชาวูเชสกู, ประธานาธิบดีโรมาเนีย
- มูอัมมาร์ กัดดาฟี, ผู้นำประเทศลิเบีย[8]
- คิม อิล-ซ็อง, ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ[9]
- เลโอนิด เบรจเนฟ, ผู้นำสหภาพโซเวียต
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ โครเอเชีย: Orden jugoslavenske zvijezde
เซอร์เบีย: Орден југословенске звезде, Orden jugoslovenske zvezde
สโลวีเนีย: Red jugoslovanske zvezde
มาซิโดเนีย: Орден на југословенската ѕвезда, Orden na jugoslovenskata zvezda
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Orders and Decorations of the Socialist Federal Republic of Yugoslavia, 1945-90 by Lukasz Gaszewski 2000, 2003
- ↑ Standard magazin: Srbija ponovo deli odlikovanja เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, br.133, 05.12.2008. (ในภาษาเซอร์เบีย)
- ↑ Orders and Decorations of the Federal Republic of Yugoslavia, 1990- by Lukasz Gaszewski 2000, 2003
- ↑ Samler.ru: Order of the Yugoslav Grand Star (ในภาษารัสเซีย)
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 Dragović, Rade (6 April 2011). "Srpski orden na ruskim grudima" [Serbian Medals on Russian Chests] (ภาษาเซอร์เบีย). Večernje novosti. สืบค้นเมื่อ 8 December 2014.
- ↑ The Danish Monarchy official site: H.M. Dronningens dekorationer เก็บถาวร 2010-03-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาเดนมาร์ก)
- ↑ "Svečani prijem povodom rođendana japanskog cara" (ภาษาเซอร์เบีย). Tendoryu Aikido Novi Sad. 12 December 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2011. สืบค้นเมื่อ 1 July 2016.
- ↑ Kosova Crisis Center: Gaddafi Given Yugoslavia's Top Medal By Milosevic เก็บถาวร 2011-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reuters, October 26, 1999 06:22 AM EDT
- ↑ "Kim Il Sung". Who's Who in Asian and Australasian Politics. London: Bowker-Saur. 1991. p. 146. ISBN 978-0-86291-593-3.