เครื่องยิงจรวดคัตยูชา
คัตยูช่า | |
---|---|
เครื่องยิงจรวดคัตยูช่า บีเอ็ม-13 บน รถบรรทุกซีไอเอส-6,ณ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สองแห่งชาติของประเทศยูเครน กรุงเคียฟ | |
ชนิด | จรวดหลายลำกล้อง |
แหล่งกำเนิด | สหภาพโซเวียต |
บทบาท | |
ประจำการ | พ.ศ. 2482–ปัจจุบัน |
ผู้ใช้งาน | สหภาพโซเวียตและในที่อื่น |
สงคราม | สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม สงครามยมคิปปูร์ สงครามอิรัก–อิหร่าน สงครามเลบานอน พ.ศ. 2549 สงครามกลางเมืองลิเบีย สงครามกลางเมืองซีเรีย สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557) สงครามกลางเมืองเยเมน (พ.ศ. 2558) |
ประวัติการผลิต | |
ผู้ออกแบบ | Georgy Langemak, Kostikov |
บริษัทผู้ผลิต | Plant Comintern in Voronezh |
ช่วงการผลิต | พ.ศ. 2484 |
แบบอื่น | บีเอ็ม-13, บีเอ็ม-8, บีเอ็ม-31, บีเอ็ม-14, บีเอ็ม-21 แกรด, บีเอ็ม-24, บีเอ็ม-25, บีเอ็ม-27, บีเอ็ม-30 |
เครื่องยิงจรวดคัตยูชา (รัสเซีย: Катю́ша, สัทอักษรสากล: [kɐˈtʲuʂə] ( ฟังเสียง), อังกฤษ: Katyusha rocket launcher) เป็นประเภทของปืนใหญ่จรวดที่ผลิตโดยสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องมีความสามารถในการยิงใส่พื้นที่เป้าหมายได้เร็วกว่าปืนใหญ่ทั่วไปแต่มีความแม่นยำต่ำและต้องใช้เวลาในการบรรจุนานกว่าปืนใหญ่ทั่วไป มีความเปราะบางเมื่อเทียบกับปืนใหญ่ แต่มีราคาถูกสร้างง่ายในการผลิตและเข้ากับตัวถังรถบรรทุกได้หลากหลาย
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองคัตยูช่าเป็นปืนใหญ่อัตตาจรผลิตโดยสหภาพโซเวียต[1]มักติดตั้งอยู่บนรถบรรทุก ความคล่องตัวนี้ทำให้คัตยูช่าสามารถขับเคลื่อนตัวเองได้ มีข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือสามารถส่งระเบิดขนาดใหญ่ได้ในคราวเดียวและจากนั้นก็ขับหลบหนีก่อนที่จะเป็นเป้าโจมตีได้และถูกตรวจจับแบบเคาน์เตอร์-แบตเตอรี (การตรวจจับตำแหน่งการยิงปืนใหญ่) ได้
คัตยูชา เป็นชื่อเล่นของจรวด ซึ่งตั้งตามเพลงที่ได้รับความนิยมในกองทัพแดงในช่วงเวลานั้นคือ เพลงคัตยูชาของมีฮาอิล ซาร์คอฟสกี ที่กล่าวถึงหญิงสาวคิดถึงคนรักที่ไปรบในแดนไกล[2]