เข็มขัดไทเฮโย
เข็มขัดไทเฮโย (ญี่ปุ่น: 太平洋ベルト; โรมาจิ: Taiheiyō beruto; ทับศัพท์: ไทเฮโยเบรูโตะ) หรือ เข็มขัดแปซิฟิก หรือ ระเบียงเศรษฐกิจโทไกโด เป็นชื่อของเขตอภิมหานครในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่จังหวัดอิบารากิในภาคกลางไปจนถึงจังหวัดฟูกูโอกะในเกาะคีวชู ซึ่งมีระยะทางกว่า 1,200 กิโลเมตร มีประชากรกว่า 70 ล้านคน
เขตเมืองทางยาวนี้ ขนานไปกับชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของญี่ปุ่นตั้งแต่ภูมิภาคคันโตถึงโอซากะ และบริเวณทะเลในไปจนถึงฟูกูโอกะ ซึ่งเป็นแนวเส้นทางของทางรถไฟสายโทไกโด–ซังโย ทั้งนี้ ภาพถ่ายดาวเทียมในตอนกลางคืนจะเห็นแสงไฟของเข็มขัดไทเฮโยเป็นแนวยาวได้อย่างชัดเจน[1]
จำนวนประชากรที่มากนั้นเป็นเพราะมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบขนาดใหญ่ ประกอบด้วยที่ราบคันโต ที่ราบคิไน และที่ราบโนบิ ซึ่งเอื้อต่อการสร้างสิ่งปลูกสร้าง ท่ามกลางภูมิประเทศส่วนใหญ่ของญี่ปุ่นที่เป็นภูเขา
เมืองหลัก
[แก้]รายชื่อเขตเมืองเรียงจากที่ตั้งเหนือสุดไปใต้สุด
เขตมหานคร[2] | ภูมิภาค | นคร/เมือง ที่เป็นส่วนหนึ่ง |
ประชากร ค.ศ. 2010 (คน) |
จีดีพี (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
---|---|---|---|---|
มิโตะและปริมณฑล | คันโต | ฮิตาจินากะ | 678,969 | 30,258 |
สึกูบะและปริมณฑล | คันโต | สึจิอูระ | 847,292 | 37,132 |
โตเกียวและปริมณฑล | คันโต | ไซตามะ, ชิบะ, โยโกฮามะ, คาวาซากิ, ซางามิฮาระ | 34,834,167 | 1,797,899 |
นูมาซุและปริมณฑล | ชูบุ | มิชิมะ | 509,249 | 22,888 |
ชิซูโอกะและปริมณฑล | ชูบุ | ไยซุ, ฟูจิเอดะ | 1,001,597 | 45,840 |
ฮามามัตสึและปริมณฑล | ชูบุ | อิวาตะ, ฟูกูโรอิ | 1,133,879 | 54,258 |
โทโยฮาชิและปริมณฑล | ชูบุ | โทโยกาวะ | 676,333 | 31,001 |
นาโงยะและปริมณฑล | ชูบุ | อิจิโนมิยะ, คาซูงาอิ, คูวานะ, คานิ | 5,490,453 | 256,290 |
ยกกาอิจิและปริมณฑล | คันไซ | ซูซูกะ | 621,689 | 29,072 |
เกียวโตและปริมณฑล | คันไซ | อูจิ, โอตสึ, คูซัตสึ | 2,679,094 | 115,258 |
โอซากะและปริมณฑล | คันไซ | ซาไก, ฮิงาชิโอซากะ, นิชิโนมิยะ, นาระ | 12,273,041 | 516,775 |
โคเบะและปริมณฑล | คันไซ | อากาชิ, คาโกงาวะ, ทากาซาโงะ | 2,431,076 | 96,004 |
ฮิเมจิและปริมณฑล | คันไซ | ทัตสึโนะ | 784,365 | 33,587 |
วากายามะและปริมณฑล | คันไซ | อิวาเดะ | 584,852 | 24,592 |
โทกูชิมะและปริมณฑล | ชิโกกุ | อานัง | 680,467 | 28,384 |
โอกายามะและปริมณฑล | ชูโงกุ | คูราชิกิ, โซจะ | 1,532,146 | 63,101 |
ทากามัตสึและปริมณฑล | ชิโกกุ | มารูงาเมะ | 830,040 | 34,722 |
ฟูกูยามะและปริมณฑล | ชูโงกุ | โอโนมิจิ | 764,838 | 31,518 |
ฮิโรชิมะและปริมณฑล | ชูโงกุ | ฮัตสึกาอิจิ, ฟูจู | 1,141,848 | 61,345 |
มัตสึยามะและปริมณฑล | ชิโกกุ | อิโยะ | 642,841 | 24,509 |
คิตะกีวชูและปริมณฑล | คีวชู | ยูกูฮาชิ, โนงาตะ | 1,370,169 | 55,693 |
ฟูกูโอกะและปริมณฑล | คีวชู | คาซูงะ, ชิกูชิโนะ, อิโตชิมะ | 2,495,552 | 101,644 |
โออิตะและปริมณฑล | คีวชู | เบ็ปปุ | 743,323 | 28,881 |
และอาจรวมถึง[ต้องการอ้างอิง]
เขตมหานคร | ภูมิภาค | นคร/เมือง ที่เป็นส่วนหนึ่ง |
ประชากร ค.ศ. 2010 (คน) |
จีดีพี (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
---|---|---|---|---|
คูมาโมโตะและปริมณฑล | คีวชู | อูกิ, โคชิ | 1,102,398 | 39,763 |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Satellite images of stable night time lights in Japan
- ↑ "Urban Employment Area". Center for Spatial Information Science, The University of Tokyo. สืบค้นเมื่อ August 13, 2016.