ทะเลเซโตะใน

พิกัด: 34°10′N 133°20′E / 34.167°N 133.333°E / 34.167; 133.333
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ทะเลในเซโตะ)
ทะเลในเซโตะ
ทะเลในเซโตะมองจากเกาะมิยาจิมะ
ทะเลในเซโตะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ทะเลในเซโตะ
ทะเลในเซโตะ
ทะเลในเซโตะและช่องแคบหลัก ๆ
ที่ตั้งมหาสมุทรแปซิฟิก
พิกัด34°10′N 133°20′E / 34.167°N 133.333°E / 34.167; 133.333
ชนิดทะเล
ประเทศในลุ่มน้ำประเทศญี่ปุ่น
พื้นที่พื้นน้ำ23,203 ตารางกิโลเมตร (9,000 ตารางไมล์)
ความลึกโดยเฉลี่ย38 เมตร (125 ฟุต)

ทะเลในเซโตะ (ญี่ปุ่น: 瀬戸内海โรมาจิSeto Naikai) เป็นทะเลที่คั่นกลางระหว่างเกาะฮนชู, เกาะชิโกกุ, และเกาะคีวชู สามเกาะหลักของประเทศญี่ปุ่น เป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลญี่ปุ่น สามารถเชื่อมต่อไปยังอ่าวโอซากะ และเชื่อมโยงการขนส่งทางทะเลไปยังศูนย์กลางอุตสาหกรรมในภูมิภาคคันไซ ประกอบด้วยโอซากะและโคเบะ ก่อนจะมีการก่อสร้างรถไฟสายซันโย (Sanyō Main Line) ทะเลในเซโตะเป็นการคมนาคมหลักระหว่างคันไซและคีวชู ทะเลแห่งนี้เป็นหนึ่งในพื้นที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น [1]

จังหวัดยามางูจิ, ฮิโรชิมะ, โอกายามะ, เฮียวโงะ, โอซากะ, คางาวะ, เอฮิเมะ, ฟูกูโอกะ, และโออิตะเป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลในเซโตะ รวมทั้งเมืองฮิโรชิมะ, อิวากูนิ, ทากามัตสึ, และมัตสึยามะด้วยเช่นกัน

พื้นที่แถบทะเลในเซโตะมีภูมิอากาศอบอุ่น มีอุณหภูมิเกือบจะคงที่ตลอดปีและมีปริมาณน้ำฝนที่ต่ำ บ่อยครั้งมักถูกเรียกว่า ดินแดนที่มีสภาพอากาศเท่าเทียม (ญี่ปุ่น: 晴れの国โรมาจิhare no kuni) ทะเลแห่งนี้มักเกิดปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ (ญี่ปุ่น: 赤潮โรมาจิakashio) บ่อย ๆ เพราะกลุ่มแพลงก์ตอนพืชที่หนาแน่น เป็นเหตุให้เกิดปลาตายจำนวนมาก และมีมีสภาพแวดล้อมทางทะเลที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญจากกิจกรรมของมนุษย์ในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา [1]

ผลกระทบจากสึนามิ[แก้]

เกิดแผ่นดินไหวใหญ่สามครั้งในภูมิภาคนังไกโดซึ่งอยู่ใกล้กับแอ่งนังไก ในปี ค.ศ. 1707 ค.ศ. 1854 และ ค.ศ. 1946 ซึ่งกระทบต่อประเทศญี่ปุ่นทางตะวันออกบริเวณชายฝั่งจังหวัดวากายามะ จังหวัดโทกูชิมะ และโคจิ ซึ่งหันไปทางมหาสมุทรแปซิฟิกได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากสึนามิขนาดใหญ่ ความสูงของสึนามิตามชายฝั่งได้รับการสํารวจโดยผู้เขียน (HATORI, 1978, 1980, 1981) ในเอกสารกล่าวถึงพฤติกรรมสึนามิในทะเลในเซโตะและช่องแคบบุงโงะดังนี้

  1. ความสูงของสึนามิในปี ค.ศ. 1946[2] ในบริเวณชายฝั่งที่หันไปทางช่องแคบบุงโงะมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร ในปี ค.ศ. 1707 และ ค.ศ. 1854 วัดได้ถึง 3-4 เมตร [3]
  2. ตามแผนภาพการเคลื่อนไหวของสึนามิใน ค.ศ. 1946 แนวคลื่นที่กระจายลงสู่ทะเลเซโตะในจะผ่านช่องแคบคิอิและช่องแคบบุงโงะก่อนจะไปถึงตอนกลางของทะเลในเซโตะประมาณ 3 ชั่วโมงหลังจากแผ่นดินไหว ความสูงของสึนามิประมาณ 1 เมตร มีการกระจายไปตามแนวชายฝั่งอย่างสม่ำเสมอ
  3. ความสูงของสึนามิใน ค.ศ. 1707 และ ค.ศ. 1854 สามารถวัดได้ในตอนกลางและทางตะวันตกของทะเลในเซโตะประมาณ 1.5 เมตร แต่ในทางตะวันออกกลับวัดได้ถึง 2-3 เมตรพฤติกรรมนี้ดูเหมือนจะเกิดจากความแตกต่างระหว่างความสูงของสึนามิที่เข้ามาทั้งสองช่องแคบ[a]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ช่องแคบบุงโงะและช่องแคบคิอิ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Takeoka, Hidetaka (1 February 2002). "Progress in Seto Inland Sea Research". Journal of Oceanography (ภาษาอังกฤษ). pp. 93–107. doi:10.1023/A:1015828818202. สืบค้นเมื่อ 20 April 2022.
  2. 昭和21年12月21日南海道大地震調査概報 - 国立国会図書館デジタルコレクション (ภาษาญี่ปุ่น). 1947. p. 84. สืบค้นเมื่อ 22 April 2022.
  3. 徳太郎, 羽鳥 (1988). "瀬戸内海・豊後水道沿岸における宝永 (1707)・安政 (1854)・昭和 (1946) 南海道津波の挙動". 地震 第2輯. pp. 215–221. doi:10.4294/zisin1948.41.2_215.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]