ฮอโลคอสต์ในโปแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮอโลคอสต์
ในโปแลนด์ภายใต้การยึดครองของเยอรมนี
ข้างบน, หมุนตามเข็มนาฬิกา: วอร์ซอเกตโตถูกไฟไหม้, พฤษภาคม ค.ศ. 1943 • ไอน์ซัทซกรุพเพนยิงใส่เหล่าสตรีจาก Mizocz เกตโต, ค.ศ. 1942 • การคัดเลือกคนที่จะถูกส่งไปยังห้องรมแก็สทันที หลังจากพวกเขาเดินทางมาถึงค่ายกักกันเอาชวิทซ์ที่ 2 -เบียร์เคเนา • ชาวยิวถูกจับกุมในเหตุการณ์การก่อการกำเริบวอร์ซอเกตโต ถูกพาไปยัง Umschlagplatz โดยทหารวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส • ที่ วูชเกตโต พวกเด็กๆถูกเนรเทศไปยังค่ายมรณะเคล์มนอ, ค.ศ. 1942
แผนที่ฮอโลคอสต์ในโปแลนด์ภายใต้ยึดครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองพร้อมด้วยค่ายมรณะ 6 แห่งที่ถูกทำเครื่องหมายด้วยสัญลักษณ์กะโหลกไขว้สีขาวในสีเหลี่ยมดำ: ค่ายเอาชวิทซ์-เบียร์เคเนา, เบวเชตซ์, เคล์มนอ, ไมดาเนก, โซบีบอร์ และ เทรบลิงคา; เช่นเดียวกับส่วนที่การสังหารหมู่ที่ห่างไกลออกไปที่ Bronna Góra, Ponary, Połonka และอื่นๆ. เครื่องหมายด้วยดาราแห่งดาวิดคือการเลือกเมืองโปลขนาดใหญ่ด้วยการทำลายล้างเกตโต. เส้นสีแดงทึบคือเขตชายแดนระหว่างนาซี-โซเวียต-จุดเริ่มต้นของปฏิบัติการบาร์บารอสซา ปี ค.ศ. 1941.
Overview
Periodกันยายน ค.ศ. 1939 – เมษายน ค.ศ. 1945
ดินแดนเขตยึดครองโปลแลนด์, เช่นเดียวกับยูเครนตะวันตกและเบลารุสตะวันตกพร้อมกับอื่นๆ
Major perpetrators
หน่วยงานเอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอ, ไอน์ซัทซกรุพเพน, ออร์ดนุงโพลีไซ, Trawnikis, BKA, OUN-UPA, TDA, Ypatingasis būrys[1]
ถูกสังหารชาวโปลเชื้อสายยิว 3,000,000 คน และชาวโปล 2,500,000 คน[2]
ผู้รอดชีวิต50,000–120,000 คน;[3] หรือ 210,000–230,000 คน;[4] หรือทั้งหมด 350,000 คน.[5]
Armed resistance
การก่อการกำเริบชาวยิวBędzin, Białystok, Birkenau, Częstochowa, Łachwa, Łuck, Mińsk Mazowiecki, Mizocz, Pińsk, Poniatowa, Sobibór, Sosnowiec, Treblinka, วอร์ซอ, Wilno

ฮอโลคอสต์ในโปแลนด์ภายใต้การยึดครองของเยอรมนี เป็นช่วงสุดท้ายและเป็นขั้นตอนที่ร้ายแรงที่สุดของนาซีคือ การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย (Endlösung der Judenfrage) ซึ่งได้ทำเครื่องหมายโดยการก่อสร้างค่ายมรณะบนประเทศโปแลนด์ที่ถูกเยอรมนียึดครอง การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อย่างเป็นทางการได้รับการอนุมัติและปฏิบัติการโดยจักรวรรดิไรชส์ที่สามในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เรียกกันโดยรวมแล้วว่า ฮอโลคอสต์ ได้คร่าชีวิตชาวโปลเชื้อสายยิวจำนวนสามล้านคนและจำนวนที่ใกล้เคียงชองชาวโปล ยังไม่รวมถึงความสูญเสียชองพลเรือนชาวโปลของชาติพันธุ์อื่นๆ ค่ายมรณะได้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินการตามนโยบายของเยอรมนีในการทำลายล้างอย่างเป็นระบบและประสบความสำเร็จมากที่สุดเพียง 90% ของจำนวนประชากรโปแลนด์-ยิวของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง[6]

ทุกสาขาของระบบการปกครองข้าราชการของเยอรมนีที่ซับซ้อนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการสังหาร จากกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลัง ไปยังบริษัทเยอรมนีและการรถไฟของรัฐได้ถูกใช้สำหรับการเนรเทศชาวยิว บริษัทเยอรมนีได้เสนอประมูลราคาสำหรับการทำสัญญาในการสร้างเตาเผาศพภายในค่ายกักกันที่ได้ดำเนินการโดยนาซีเยอรมนีในเขตปกครองสามัญ เช่นเดียวกับในส่วนที่อื่นๆของเขตยึดครองโปแลนด์และอื่น ๆ[6][7]

ตลอดเวลาในเขตเยอรมนียึดครอง ด้วยความเสี่ยงสูงต่อพวกเขาและครอบครัวของพวกเขาจำนวนมากของชาวคริสเตียนได้ประสบความสำเร็จในการให้ความช่วยเหลือชาวยิวจากพวกนาซี ได้มีการจัดกลุ่มตามสัญชาติ ชาวโปลได้ช่วยเหลือผู้คนจำนวนมากที่สุดของผู้คนที่ช่วยชีวิตชาวยิวในช่วงฮอโลคอสต์ ได้มีการมอบรางวัลโดยรัฐอิสราเอล ชาวโปลผู้ได้รับความชอบธรรมในเชื้อชาติ (Polish Righteous Among the Nations) รวมทั้งคนที่ไม่ใช่ยิว 3,706 คน มากกว่าประเทศอื่นๆ เปอร์เซ็นเล็กน้อยของชาวโปลเชื้อสายยิวสามารถรอดชีวิตในสงครามโลกครั้งที่สองภายในประเทศโปลแลนด์ภายใต้การยึดครองของเยอรมนี หรือประสบความสำเร็จในการหลบหนีไปยังตะวันออกที่ห่างไกลออกไปจากพวกนาซีเข้าไปยังดินแดนโปแลนด์ที่ถูกผนวกโดยสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1939[8] เพียงเพื่อที่จะถูกเนรเทศไปยังค่ายแรงงานบังคับในไซบีเรียพร้อมกับครอบครัวจำนวน 1 ล้านคนของชาวโปลที่ไม่ใช่ยิว[9][10]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Holocaust Encyclopedia -Trawniki". United States Holocaust Memorial Museum. สืบค้นเมื่อ 21 July 2011.
  2. Anti-Defamation League (1997). "Estimated Number of Jews Killed". The "Final Solution". Jewish Virtual Library. สืบค้นเมื่อ 3 March 2015.
  3. Lukas (1989), pp. 5, 13, 111, 201, "Introduction". Also in: Lukas (2001), p. 13.
  4. David Engel (2005), "Poland", Liberation, Reconstruction, and Flight (1944-1947) (PDF), The YIVO Encyclopedia of Jews in Eastern Europe, pp. 5–6 in current document, YIVO, "The largest group of Polish-Jewish survivors spent the war years in the Soviet or Soviet-controlled territories.", ISBN 9780300119039, [see also:] Golczewski (2000), p. 330, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-03, สืบค้นเมื่อ 2018-04-15{{citation}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  5. Cherry & Orla-Bukowska (2007), p. 137, 'Part III Introduction' by Michael Schudrich.
  6. 6.0 6.1 Berenbaum, Michael (1993). The World Must Know. Contributors: Arnold Kramer, USHMM. Little Brown / USHMM. ISBN 978-0-316-09135-0.
    —— Second ed. (2006) USHMM / Johns Hopkins Univ Press, ISBN 978-0-8018-8358-3, p. 140.
  7. American Jewish Committee. (2005-01-30). "Statement on Poland and the Auschwitz Commemoration." เก็บถาวร 2016-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Press release.
  8. Piotrowski (1998), Preface.
  9. Levin, Nora (1990). Annexed Territories. The Jews in the Soviet Union Since 1917: Paradox of Survival, Volume 1. NYU Press. p. 347. ISBN 0-8147-5051-6. Many Jews associated with the Bund, Zionist organizations, religious life, and 'bourgeois' occupations, were deported in April. The third deportation in June–July 1941 consisted mainly of refugees from western and central Poland who had fled to eastern Poland.[p.347]
  10. Materski & Szarota (2009), Source: Z.S. Siemaszko (pl) (1991), p. 95. ISBN 0850652103.