ค่ายมรณะแตรบลิงกา

พิกัด: 52°37′51.85″N 22°3′11.01″E / 52.6310694°N 22.0530583°E / 52.6310694; 22.0530583
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Treblinka extermination camp)
แตรบลิงกา
ค่ายมรณะ
บล็อกคอนกรีตเป็นสัญลักษณ์เส้นทางรถไฟย่อยที่แตรบลิงกา
ค่ายมรณะแตรบลิงกาตั้งอยู่ในประเทศโปแลนด์
ค่ายมรณะแตรบลิงกา
Location of แตรบลิงกา within ประเทศโปแลนด์
ค่ายมรณะแตรบลิงกาตั้งอยู่ในยุโรปกลาง
ค่ายมรณะแตรบลิงกา
ค่ายมรณะแตรบลิงกา (ยุโรปกลาง)
พิกัดภูมิศาสตร์52°37′51.85″N 22°3′11.01″E / 52.6310694°N 22.0530583°E / 52.6310694; 22.0530583
เป็นที่รู้จักจากพันธุฆาตระหว่างฮอโลคอสต์
ที่ตั้งใกล้กับแตรบลิงกา เขตปกครองสามัญ (โปแลนด์ส่วนที่ถูกเยอรมนียึดครอง)
สร้างโดย
ดำเนินการโดยSS-Totenkopfverbände
ผู้บังคับบัญชา
  • Irmfried Eberl (11 กรกฎาคม – 26 สิงหาคม 1942)
  • Franz Stangl (1 กันยายน 1942 – สิงหาคม 1943)
  • Kurt Franz (สิงหาคม–พฤศจิกายน 1943)
การใช้งานสถานที่ก่อนหน้าค่ายมรณะ
สร้างเมษายน–กรกฎาคม 1942
เปิดใช้งาน23 กรกฎาคม 1942 – ค.ศ. ตุลาคม 1943 (ตุลาคม 1943)[3]
จำนวนห้องรมแก๊ส6
ผู้ถูกกักกันยิว ส่วนใหญ่มีเชื้อสายโปแลนด์
จำนวนผู้ถูกกักกันประมาณ 1,000
เสียชีวิตประมาณ 700,000–900,000
ปลดปล่อยโดยปิดในปลายปี 1943
ผู้ถูกกักกันที่มีชื่อเสียง

ค่ายมรณะแตรบลิงกา (อังกฤษ: Treblinka extermination camp) เป็นค่ายมรณะ[b] ที่สร้างขึ้นและดำเนินการโดยนาซีเยอรมนีในเขตการยึดครองโปแลนด์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง[2] ตั้งอยู่ในป่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงวอร์ซอ ห่างจากสถานีรถไฟแตรบลิงกาไปทางทิศใต้เพียง 4 กิโลเมตร (2.5 ไมล์) ในเขตจังหวัดมาซอฟแชปัจจุบัน ค่ายแห่งนี้ได้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 ถึง 19 ตุลาคม ค.ศ. 1943 ในฐานะส่วนหนึ่งของปฏิบัติการไรน์ฮาร์ท ช่วงที่เลวร้ายที่สุดของการแก้ปัญหาสุดท้าย (Final Solution)[6] คาดกันว่าในช่วงเวลานั้น ชาวยิวจำนวนประมาณ 700,000–900,000 คนถูกสังหารในห้องรมแก๊ส[7][8] ร่วมกับชาวโรมานีกว่า 2,000 คน[9] มีชาวยิวถูกสังหารในแตรบลิงกามากกว่าในค่ายมรณะของนาซีอื่น ๆ นอกเหนือจากค่ายกักกันเอาช์วิทซ์

ค่ายแตรบลิงกาได้รับการบริหารจัดการโดยหน่วยเอ็สเอ็สและทหารตรัฟนีกี (Trawniki) (ถูกเกณฑ์ด้วยความสมัครใจจากหมู่เชลยศึกชาวโซเวียตเพื่อร่วมรบกับชาวเยอรมัน) ประกอบไปด้วยหน่วยสองหน่วยแยกจากกัน[10] แตรบลิงกาที่ 1 เป็นค่ายบังคับแรงงาน (Arbeitslager) นักโทษในค่ายจะทำงานในเหมืองกรวดทรายหรือพื้นที่ชลประทาน และในป่าที่พวกเขาจะเข้าไปตัดไม้เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผาศพ[11] ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1941–1944 จำนวนกว่าครึ่งของนักโทษ 20,000 คนได้เสียชีวิตจากการประหารชีวิตอย่างรวบรัด ความหิวโหย โรคภัย และการปฏิบัติที่ไม่ดี[12][13]

หน่วยที่สอง แตรบลิงกาที่ 2 เป็นค่ายมรณะ (Vernichtungslager) ซึ่งถูกนาซีเรียกอย่างสวยหรูว่า SS-Sonderkommando Treblinka ชายชาวยิวจำนวนหนึ่งที่ยังไม่ถูกสังหารทันทีที่เดินทางมาถึงก็จะกลายเป็นหน่วยแรงงานทาสที่ถูกเรียกว่า ซ็อนเดอร์ค็อมมันโด (Sonderkommando; "หน่วยพิเศษ")[14] ซึ่งจะถูกบังคับให้ฝังศพเหยื่อไว้ในหลุมศพ ศพเหล่านี้ถูกขุดขึ้นในปี ค.ศ. 1943 และนำไปเผาในกองไฟกลางแจ้งขนาดใหญ่พร้อมกับศพเหยื่อรายใหม่[15] ปฏิบัติการการรมแก๊สสิ้นสุดลงในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1943 หลังจาก ซ็อนเดอร์ค็อมมันโด ก่อการจลาจลในต้นเดือนสิงหาคม ทหารตรัฟนีกีหลายนายถูกสังหารและนักโทษ 200 คนได้หลบหนีออกจากค่าย;[16][17] มีจำนวนเกือบร้อยคนที่รอดชีวิตจากการถูกไล่ล่า[18][19] ค่ายแห่งนี้ได้ถูกรื้อถอนออกก่อนที่การรุกของกองทัพโซเวียตจะมาถึง โรงนาสำหรับยามเฝ้าสังเกตการณ์ได้ถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่และพื้นดินได้ถูกไถ่ปราบให้เรียบเพื่อซ่อนหลักฐานของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[20]

ในโปแลนด์หลังสงคราม รัฐบาลได้กว้านซื้อที่ดินส่วนใหญ่ที่ค่ายนั้นเคยตั้งอยู่ และสร้างอนุสรณ์สถานศิลาขนาดใหญ่ ณ ที่แห่งนั้นระหว่าง ค.ศ. 1959–1962 ใน ค.ศ. 1964 แตรบลิงกาได้รับการประกาศให้เป็นอนุสรณ์สถานแห่งชาติของมรณสักขีชาวยิวในพิธีการที่จัดขึ้นบริเวณอดีตห้องรมแก๊ส[21] ในปีเดียวกัน ได้มีการพิจารณาคดีเยอรมันครั้งที่หนึ่งว่าด้วยอาชญากรรมสงครามที่อดีตสมาชิกหน่วยเอ็สเอ็สก่อขึ้นที่แตรบลิงกา ภายหลังการสิ้นสุดของระบอบคอมมิวนิสต์ในโปแลนด์ในปี ค.ศ. 1989 จำนวนผู้เข้ามาเยี่ยมชมแตรบลิงกาจากต่างประเทศได้เพิ่มมากขึ่น ศูนย์นิทรรศการที่ค่ายได้เปิดทำการใน ค.ศ. 2006 ต่อมาได้ขยายและกลายเป็นสาขาหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ภูมิภาคแชดล์แซ (Siedlce)[22][23]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. Yitzhak Arad gives his name as Jacob Wiernik.[4]
  2. คำว่า "แตรบลิงกา" ในเอกสารข้อมูลต่าง ๆ หมายถึงทั้งค่ายบังคับแรงงานแตรบลิงกาที่ 1 และค่ายมรณะแตรบลิงกาที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่ายที่ 2

อ้างอิง[แก้]

  1. Webb & Chocholatý 2014, p. 20.
  2. 2.0 2.1 Arad 1987, p. 37.
  3. Kopówka & Rytel-Andrianik 2011, p. 125.
  4. Arad 1987, p. 209.
  5. Wiernik 1945.
  6. Sereny 2013, p. 151.
  7. Roca, Xavier (2010). "Comparative Efficacy of the Extermination Methods in Auschwitz and Operation Reinhard" (PDF). Equip Revista HMiC (Història Moderna i Contemporània). University of Barcelona. 8. p. 204 (4/15 in current document).
  8. Kopówka & Rytel-Andrianik 2011, p. 114.
  9. Huttenbach, Henry R. (1991). "The Romani Porajmos: The Nazi Genocide of Europe's Gypsies". Nationalities Papers: The Journal of Nationalism and Ethnicity. Routledge: 380–381. doi:10.1080/00905999108408209.
  10. Browning 2017, pp. 52, 77, 79, 80.
  11. Webb & Chocholatý 2014, p. 90.
  12. Maranda, Michał (2002). Prisoners of the extermination camp in Treblinka [Więźniowie obozu zagłady w Treblince] (PDF). Nazistowskie Obozy Zagłady. Opis i próba analizy zjawiska (ภาษาโปแลนด์). University of Warsaw, Instytut Stosowanych Nauk Społecznych. pp. 160–161. OCLC 52658491. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 กันยายน 2013. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2018 – โดยทาง Internet Archive, direct download.
  13. Cywiński 2013, Treblinka.
  14. Webb & Chocholatý 2014, pp. 153, 370.
  15. Rees 2005, BBC.
  16. Weinfeld 2013, p. 43.
  17. Kopówka & Rytel-Andrianik 2011, p. 110.
  18. Śląski, Jerzy (1990). VII. Pod Gwiazdą Dawida [Under the Star of David] (PDF). Polska Walcząca, Vol. IV: Solidarni (ภาษาโปแลนด์). PAX, Warsaw. pp. 8–9. ISBN 83-01-04946-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ 15 August 2013.
  19. Easton, Adam (4 August 2013), Treblinka survivor recalls suffering and resistance, BBC News, Treblinka, Poland
  20. Grossman 1946, p. 405.
  21. Kopówka & Rytel-Andrianik 2011, p. 122.
  22. Memorial Museums.org (2013). "Treblinka Museum of Struggle and Martyrdom". Remembrance. Portal to European Sites of Remembrance. สืบค้นเมื่อ 14 September 2013.
  23. Kopówka, Edward (4 February 2010). "The Memorial". Treblinka. Nigdy wiecej, Siedlce 2002, pp. 5–54. Muzeum Walki i Męczeństwa w Treblince. Oddział Muzeum Regionalnego w Siedlcach [Museum of Struggle and Martyrdom at Treblinka. Division of the Regional Museum in Siedlce]. สืบค้นเมื่อ 31 October 2013.