อูรังเมดัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เอสเอส อูรังเมดัน (อังกฤษ: SS Ourang Medan) เป็นเรือซึ่งอ้างว่าเป็นเรือผี โดยตามแหล่งข้อมูลหลายแหล่งว่าเป็นเรืออับปางในน่านน้ำหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์หรือที่อื่น หลังลูกเรือทั้งลำเสียชีวิตภายใต้พฤติการณ์น่าสงสัย ใน ค.ศ. 1947 หรือ 1948 ขึ้นอยู่กับหนังสือพิมพ์ที่มา[1] นิยายอูรังเมดันกลายเป็นตำนาน[2]

ปริศนา[แก้]

การพาดพิงเรือและเหตุการณ์ดังกล่าวในภาษาอังกฤษครั้งหนึ่งปรากฏใน รายงานการประชุมสภาวาณิชทะเล (Proceedings of the Merchant Marine Council) ฉบับเดือนพฤษภาคม 1954 ซึ่งยามฝั่งสหรัฐเป็นผู้พิมพ์เผยแพร่[3] มีการจัดพิมพ์การพาดพิงในภาษาอังกฤษก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 1948 ในดิแอลบานีไทมส์ อัลแบนี รัฐนิวยอร์ก สหรัฐ และอ้างอิงต้นฉบับดั้งเดิมว่ามาจากเอลเซเวียส์วีกลี[4] คำว่า อูรัง เป็นภาษามาเลย์หรืออินโดนีเซีย หมายถึง "คน" ส่วนเมดันเป็นนครใหญ่สุดบนเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย ทำให้มีความหมายประมาณว่า "มนุษย์จากเมดัน" บันทึกอุบัติเหตุของเรือปรากฏในหนังสือและนิตยสารหลายฉบับ ความแม่นยำของข้อเท็จจริงและแม้แต่การมีอยู่จริงของเรือไม่มีการยืนยัน และรายละเอียดการก่อสร้างและประวัติศาสตร์ของเรือยังไม่มีผู้ใดทราบ การค้นหาทะเบียนราชการหรือการสืบสวนอุบัติเหตุนั้นล้มเหลว[2]

นิยายของเรือปรากฏครั้งแรกในชุดสามบทความในหนังสือพิมพ์ De locomotief: Samarangsch handels- en advertentie-blad ภาษาดัตช์-อินโดนีเซีย[5][6][7] นิยายนี้ส่วนใหญ่เหมือนกับนิยายฉบับภายหลัง แต่มีข้อแตกต่างสำคัญอยู่ ไม่เคยมีการกล่าวถึงชื่อเรือที่พบ อูรังเมดัน แต่มีอธิบายว่าตำแหน่งที่พบเรือนั้นอยู่ห่างจากหมู่เกาะมาร์แชลล์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 400 ไมล์ทะเล (740 กิโลเมตร) บทความที่สองและสามอธิบายประสบการณ์ของผู้รอดชีวิตรายเดียวของลูกเรืออูรังเมดัน ซึ่งมิชชันนารีชาวอิตาลีไปพบและเป็นชนพื้นเมืองเกาะ Taongi ในหมู่เกาะมาร์แชลล์ ก่อนเสียชีวิตคนผู้นั้นเล่าแก่มิชชันนารีว่าเรือกำลังบรรทุกสินค้ากรดซัลฟิวริก และลูกเรือส่วนใหญ่เสียชีวิตเพราะไอพิษที่รั่วไหลจากตู้บรรทุกที่เสียหาย นิยายมีว่า อูรังเมดัน กำลังล่องจากท่าเล็ก ๆ ในประเทศจีนไปประเทศคอสตาริกา และเจตนาหลบเลี่ยงทางการ ผู้รอดชีวิตซึ่งเป็นชาวเยอรมันนิรนาม เสียชีวิตหลังเล่านิยายของเขาแก่มิชชันนารี ซึ่งเล่านิยายนี้ต่อให้ Silvio Scherli ผู้ประพันธ์ชาวอิตาลี หนังสือพิมพ์ดัตช์ปิดท้ายด้วยข้อปฏิเสธความรับผิดชอบดังนี้

"นี่เป็นส่วนสุดท้ายของนิยายเราเกี่ยวกับปริศนาแห่งอูรังเมดัน เราต้องย้ำว่าเราไม่มีข้อมูลอื่นเกี่ยวกับ 'ปริศนาแห่งท้องทะเล' นี้ และเราไม่สามารถตอบคำถามที่ไม่มีคำตอบหลายคำถามในนิยายนี้ ชัดเจนว่านี้อาจเป็นนิยายโรมานซ์ชวนตื่นเต้นแห่งทะเล อีกด้านหนึ่ง ผู้ประพันธ์ Silvio Scherli รับรองความจริงของนิยายนี้"[7]

หลักฐานใหม่ที่เดอะสกิตติชไลบรารีพบแสดงให้เห็นว่ารายงานหนังสือพิมพ์ปี 1940 ของเหตุการณ์นี้รับมาจากแอสโซซิเอเด็ตเพรสในหนังสือพิมพ์บริติช เดอะเดลีมิร์เรอร์และยอร์กไชร์อีฟนิงโพสต์ อีกครั้งหนึ่ง มีข้อแตกต่างในนิยายนี้ โดยตำแหน่งที่พบเรือคือ หมู่เกาะโซโลมอน และสารเอสโอเอสต่างจากรายงานทีหลัง นิยายนี้ยังดูเหมือนเริ่มมาจาก Silvio Scherzi ในตรีเยสเต[8]

อุบัติเหตุที่เป็นไปได้[แก้]

ตามนิยาย ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งประมาณเดือนมิถุนายน 1947[2] (แกดดิสและผู้อื่นระบุว่าวันที่โดยประมาณ คือ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 1948[9][10]) เรืออเมริกันสองลำที่กำลังเดินเรือในช่องแคบมะละกา ได้แก่ ซิตีออฟบัลติมอร์ และ ซิลเวอร์สตาร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาเรือที่แล่นผ่านช่องแคบดังกล่าว ได้รับสารขอความช่วยเหลือหลายสารจากเรือวาณิชดัตช์ อูรังเมดัน ที่อยู่ใกล้ ๆ[2][11] ผู้ควบคุมวิทยุบนเรือนั้นส่งสารต่อไปนี้เป็นรหัสมอร์ส: "เอสโอเอสจากอูรังเมดัน * * * เราลอย เจ้าหน้าที่ทุกคนรวมทั้งกัปตัน เสียชีวิตในห้องชาร์ตและบนสะพานเรือ เป็นไปได้ว่าลูกเรือทั้งหมดเสียชีวิต * * *" หลังมีรหัสมอร์สที่ชวนสับสนต่อมา ตามด้วยคำสองคำ คือ "ฉันตาย" หลังจากนั้นไม่ได้รับสารใดอีก[3] เมื่อลูกเรือ ซิลเวอร์สตาร์ ค้นหาและขึ้นเรืออูรังเมดัน ซึ่งไม่ปรากฏความเสียหายเพื่อพยายามช่วยเหลือ ก็พบว่าเรือมีศพมนุษย์และหมาเกลื่อน โดยพบว่าศพนอนหงายหลังเหยียดแขนขา ใบหน้าแข็งค้างดูหวาดกลัวสุดขีด โดยปากอ้ากว้างและตาจ้องมองตรงไปข้างหน้า โดยศพดูเหมือนภาพล้อชั้นเลว[3] ไม่พบผู้รอดชีวิตและไม่มีร่องรอยการบาดเจ็บบนศพ[9][10] ขณะที่มีการเตรียมลากเรือไปกับ ซิลเวอร์สตาร์ ไปยังท่าใกล้เคียง ทันใดนั้นเกิดไฟไหม้ในห้องเก็บสินค้าหมายเลข 4 ของเรือ ทำให้ลูกเรือต้องรีบอพยพเรืออูรังเมดัน ฉะนั้นทำให้ไม่สามารถสืบสวนต่อไปได้ ไม่นานจากนั้น เรือ อูรังเมดัน เกิดระเบิดก่อนจมลงในที่สุด[9][12]

อ้างอิง[แก้]

  1. Estelle (December 29, 2015). "The Myth of the Ourang Medan Ghost Ship, 1940". The Skittish Library. สืบค้นเมื่อ 2019-04-02.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Bainton, Roy (September 1999). "A Cargo of Death". Fortean Times. p. 28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-05.
  3. 3.0 3.1 3.2 "We Sail together". Proceedings of the Merchant Marine Council. U.S. Coast Guard. 9 (5): 107. May 1952.
  4. "Secrets of the Sea" (PDF). October 10, 1948. สืบค้นเมื่อ November 22, 2016.
  5. "Een Mysterie van de Zee". De locomotief : Samarangsch handels- en advertentie-blad. February 3, 1948. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-21. สืบค้นเมื่อ 2019-09-04.
  6. "Ondergang der "Ourang Medan"". De locomotief : Samarangsch handels- en advertentie-blad. February 28, 1948. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-21. สืบค้นเมื่อ 2019-09-04.
  7. 7.0 7.1 "Mysterie der "Ourang Medan"". De locomotief : Samarangsch handels- en advertentie-blad. March 13, 1948. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-21. สืบค้นเมื่อ 2019-09-04.
  8. Estelle (December 29, 2015). "The Myth of the Ourang Medan Ghost Ship, 1940". The Skittish Library. สืบค้นเมื่อ 2017-05-08.
  9. 9.0 9.1 9.2 Gaddis, Vincent (1965). Invisible Horizons. Ace Books, Inc., New York. pp. 125–126. ISBN 0-441-37177-9.
  10. 10.0 10.1 Edwards, Frank (June 1953). "Strangest of All". Fate Magazine.
  11. Raybin Emert, Phyllis (1990). Mysteries of Ships and Planes. Tom Doherty Associates, Inc., New York. ISBN 0-8125-9427-4.
  12. Winer, Richard (2000). Ghost Ships. Berkley. ISBN 0-425-17548-0.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]