อุทยานโอลิมปิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อุทยานโอลิมปิก (อังกฤษ: Olympic Park) เป็นศูนย์กีฬาสำหรับรองรับการเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก โดยปกติจะประกอบด้วย สนามกีฬาโอลิมปิก (Olympic Stadium) และ ศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ (International Broadcast Center) นอกจากนี้ อาจมีหมู่บ้านนักกีฬาโอลิมปิก หรือสนามจัดการแข่งขันกีฬาอื่นๆ อีกบางส่วน อย่างเช่นศูนย์กีฬาทางน้ำในกรณีโอลิมปิกฤดูร้อน หรือลานฮอกกีน้ำแข็งสำหรับโอลิมปิกฤดูหนาว นับเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งตกทอด ซึ่งยังประโยชน์แก่นครเจ้าภาพภายหลังการแข่งขันสิ้นสุดลง ทั้งนี้อาจหมายรวมถึงสวนสาธารณะในเขตเมือง และพิพิธภัณฑ์หรืออนุสรณ์ของการเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขัน

อุทยานโอลิมปิกเริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรก ในการแข่งขันฤดูร้อนครั้งที่ 4 ในกรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักร เมื่อปี พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) โดยคณะกรรมการจัดการแข่งขันระบุว่า การแข่งขันทั้งหมดเท่าที่เป็นไปได้ ซึ่งประกอบด้วย ว่ายน้ำ ยิงธนู ฟันดาบ เป็นต้น จะจัดขึ้นบนทำเลเดียวกัน ซึ่งจะมีการจัดสร้างอัฒจันทร์ สำหรับกรีฑาประเภทลู่และกีฬาจักรยาน[1] แต่การจัดตั้งศูนย์กีฬารวมในลักษณะนี้ มิได้ปรากฏในการแข่งขันทุกครั้งแต่อย่างใด โดยในโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 16 เมื่อปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) และครั้งที่ 21 เมื่อปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) มีการกระจายสนามแข่งขันออกไปในวงกว้าง อนึ่ง ในปีหลังนี้มีสนามแข่งขันรายการนอร์ดิกสกีใช้ชื่อว่า “อุทยานโอลิมปิกวิสต์เลอร์” (Whistler Olympic Park) สำหรับในการแข่งขันฤดูร้อนครั้งที่ 31 ที่กรุงริโอเดจาเนโรของบราซิล ในปี พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) จะแบ่งสนามแข่งขันออกเป็น 4 กลุ่ม มากกว่าจะรวมกันอยู่ในอุทยานแห่งเดียว

รายชื่อ[แก้]

การแข่งขัน เมืองเจ้าภาพ อุทยาน หมายเหตุ
ฤดูร้อน 2451 สหราชอาณาจักร กรุงลอนดอน นครขาว (White City) เป็นสถานที่จัดงานแสดงสินค้าฝรั่งเศส-บริเตน ในปีเดียวกันด้วย
ฤดูร้อน 2499 ออสเตรเลีย นครเมลเบิร์น เขตกีฬาและสันทนาการแห่งเมลเบิร์น
(Melbourne Sports and Entertainment Precinct)
สนามกีฬาหลักภายในบริเวณเขต สร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934)
ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น สนามกีฬาอุทยานโอลิมปิก (Olympic Park Stadium) ในภายหลัง[2]
ฤดูร้อน 2503 อิตาลี กรุงโรม ศูนย์กีฬา โฟโร อิตาลิโก (Foro Italico)
ฤดูร้อน 2507 ญี่ปุ่น กรุงโตเกียว อุทยานโอลิมปิกเมจิ (Meiji Olympic Park)
ฤดูร้อน 2511 เม็กซิโก กรุงเม็กซิโกซิตี นครกีฬา มักดาเลนา มิกซ์ฮิวกา
(Magdalena Mixhuca Sports City)
ฤดูร้อน 2515 เยอรมนี นครมิวนิก อุทยานโอลิมเปียมิวนิก (Munich Olympiapark)
ฤดูร้อน 2519 แคนาดา นครมอนทรีออล อุทยานโอลิมปิกมอนทรีออล (Montreal Olympic Park)
ฤดูร้อน 2523 สหภาพโซเวียต กรุงมอสโก ศูนย์โอลิมปิกลุซนิกี (Luzhniki Olympic Complex)
ฤดูหนาว 2531 แคนาดา นครคัลการี อุทยานโอลิมปิกแคนาดา (Canada Olympic Park)
ฤดูร้อน 2531 เกาหลีใต้ โซล อุทยานโอลิมปิกโซล (Seoul Olympic Park)
ฤดูร้อน 2535 สเปน นครบาร์เซโลนา อเนลลา โอลิมปิกา (Anella Olímpica)
ฤดูหนาว 2537 นอร์เวย์ นครลิลล์ฮัมเมอร์ สแตมเปสเลตตา (Stampesletta)
ฤดูร้อน 2539 สหรัฐ นครแอตแลนตา อุทยานโอลิมปิกศตวรรษ (Centennial Olympic Park)
ฤดูร้อน 2543 ออสเตรเลีย นครซิดนีย์ อุทยานโอลิมปิกซิดนีย์ (Sydney Olympic Park)
ฤดูหนาว 2545 สหรัฐ นครซอลต์เลก อุทยานโอลิมปิกยูทาห์ (Utah Olympic Park)
ฤดูร้อน 2547 กรีซ กรุงเอเธนส์ ศูนย์กีฬาโอลิมปิกเอเธนส์ (Athens Olympic Sports Complex)
ฤดูหนาว 2549 อิตาลี นครตูริน อุทยานโอลิมปิกแห่งตูริน (Torino Olympic Park)
ฤดูร้อน 2551 จีน กรุงปักกิ่ง โอลิมปิกกรีน (Olympic Green)
ฤดูร้อน 2555 สหราชอาณาจักร กรุงลอนดอน อุทยานโอลิมปิกลอนดอน
(London Olympic Park)
ในปี พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) จะเปลี่ยนชื่อเป็น
อุทยานโอลิมปิกราชินีเอลิซาเบธ (Queen Elizabeth Olympic Park)
ฤดูร้อน 2559 บราซิล กรุงริโอเดจาเนโร นครอุทยานโอลิมปิก (Parque Olímpico Cidade do Rock)
ฤดูหนาว 2561 เกาหลีใต้ พย็องชัง Gangneung Olympic Park และ Alpensia Sports Park
ฤดูหนาว 2565 จีน ปักกิ่ง โอลิมปิกกรีน เคยถูกใช้ใน โอลิมปิกฤดูร้อน 2008

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Cooke, Theodore Andrea (May 1909). "The Fourth Olympiad; being the Official Report of the Olympic Games of 1908" (PDF). British Olympic Association. p. 25. สืบค้นเมื่อ 1 August 2010.
  2. "Melbourne & Olympic Parks: 1909-2009" (PDF). Melbourne & Olympic Parks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-02-18. สืบค้นเมื่อ 1 August 2010.