อุตบะฮ์ อิบน์ ฆ็อซวาน
อุตบะฮ์ อิบน์ ฆ็อซวาน อัลมาซินี (อาหรับ: عُتبة بن غَزْوان المازني, อักษรโรมัน: ʿUtba ibn Ghazwān al-Māzinī; ป. ค.ศ. 581–638) เป็นผู้ติดตามที่เป็นที่รู้จักของศาสดามุฮัมมัด เขาเป็นบุคคลที่ 7 ที่เข้ารับอิสลามและทำการฮิจเราะห์ไปยังอะบิสซีเนีย แต่กลับมาอยู่กับมุฮัมมัดที่มักกะฮ์ก่อนทำการฮิจเราะห์ครั้งที่สองไปยังมะดีนะฮ์ เขาเข้ารบในยุทธการที่บะดัร (ค.ศ. 624) ยุทธการที่อุฮุด (ค.ศ. 625) ยุทธการสนามเพลาะ (ค.ศ. 627) และยุทธการอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงยุทธการที่ยะมามะฮ์
ในสมัยรัฐเคาะลีฟะฮ์ของอุมัร (ครองราชย์ ค.ศ. 634–644) อุตบะฮ์นำทัพ 2,000 นายในการทัพต่ออัลอุบุลละฮ์ที่กินระบะเวลาจากมิถุนายนถึงกันยายน ค.ศ. 635 เมื่ออัลอุบุลละฮ์ถูกพิชิตแล้ว อุตบะฮ์จึงส่งกองทัพข้ามแม่น้ำไทกริสที่ิอำเภอฟุรอต ตามมาด้วยมัยซานและ Abarqubaz จากนั้นเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการบัสรา (อิรัก) จากเคาะลีฟะฮ์ ใน ค.ศ. 639 อุตบะฮ์เดินทางไปทำฮัจญ์และขอให้ปลดเขาออกจากตำแหน่งผู้ว่าการ อุมัรปฏิเสธ แต่ในขณะที่อุตบะฮ์กำลังเดินทางกลับบัสรา เขากลับตกอูฐและเสียชีวิต ทำให้อัลมุฆีเราะฮ์ อิบน์ ชัวะอ์บะฮ์ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าการต่อจากเขา
ต้นกำเนิดและผู้ติดตามของมุฮัมมัด
[แก้]อุตบะฮ์เกิด ป. ค.ศ. 581 โดยเป็นบุตรของฆ็อซวาน อิบน์ อัลฮาริษ อิบน์ ญาบิร[1] เขาอยู่ในตระกูล Banu Mazin ซึ่งเป็นตระกูลย่อยจากสาย Mansur ibn Ikrima ของเผ่าก็อยส์ในฮิญาซ (อาระเบียตะวันตก)[1][2] อุตบะฮ์อยู่ในสมาพันธ์ตระกูลบะนูเนาฟัลของเผ่ากุร็อยช์แห่งมักกะฮ์[2] เขาเข้ารับอิสลามในช่วงแรกและเป็นผู้ติดตามของมุฮัมมัด[2] เขาเป็นที่รู้จักจากการเป็นบุคคลที่ 7 ที่เข้ารับอิสลามและเข้าในกลุ่มอพยพ 2 ครั้ง เช่นเดียวกันกับการมีส่วนสู้รบในยุทธการที่บะดัรและการรุกรานที่นำหรือตามคำสั่งของมุฮัมมัด[1] อุตบะฮ์แต่งงานกับลูกสาวของอัลฮาริษ อิบน์ กะละดะฮ์จากบะนูษะกีฟ อัลบะลาษุรีรายงานว่าเธอชื่อ Azda[3] ส่วนอัลมะดาอินีระบุว่าเธอชื่อ Safiyya[4]
การพิชิตอิรัก
[แก้]ในสมัยรัฐเคาะลีฟะฮ์อะบูบักร์ (ค. 632 – 634) ฝ่ายมุสลิมภายใต้การนำของคอลิด อิบน์ อัลวะลีดอาจเริ่มต้นการทัพแรกต่อซาเซเนียนของเปอร์เซียที่เมโสโปเตเมียตอนล่าง (อิรัก) แต่ผลประโยชน์เหล่านี้ดำรงอยู่ได้ไม่นานหรือจำกัด อุมัร (ค. 634 – 644) ผู้สืบทอดของอะบูบักร์ ส่งอุตบะฮ์ไปยังแนวหน้านี้จากเมืองหลวงที่มะดีนะฮ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการพิชิตอิรักขั้นสุดท้าย[2] กองทัพของเขามีขนาดค่อนข้างเล็ก โดยข้อมูลอาหรับสมัยกลางระบุจำนวนที่ 300 ถึง 2,000 นาย[2]
อุตบะฮ์ดำเนินการจู่โจมเมืองอัลอุบุลละฮ์และกองทหารม้าเปอร์เซียที่แข็งแกร่ง 500 นาย[2] เขาตั้งค่ายใกล้หมู่บ้านชื่อ Khurayba เขาแต่งตั้งนาเฟียะอ์ อิบน์ อัลฮาริษ อิบน์ กะละดะฮ์ น้องเขยที่เป็นหนึ่งในร้อยโทของเขา ป้องกันเมืองที่เขาใช้เป็นฐานปฏิบัติการต่อฐานซาเซเนียนอื่น ๆ ในพื้นที่นี้[2] ภายหลัง ตัวเขาหรืออัลมุฆีเราะฮ์ อิบน์ ชัวะอ์บะฮ์กับMujashi ibn Mas'ud al-Sulami ผู้บัญชาการร้อยโทของเขา เข้ายึดครองเมืองอัลฟุรอตกับมัยซาน และอำเภอ Abazqubadh กับ Dast Maysan ทั้งหมดอยู่ริมแม่น้ำไทกริสตอนล่าง[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Bosworth 2000, p. 944.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Donner 1981, p. 213.
- ↑ Donner 1981, p. 415.
- ↑ Friedmann 1992, p. 171.
- ↑ Donner 1981, pp. 213–214.
บรรณานุกรม
[แก้]- Bosworth, C. E. (2000). "ʿUtba b. Ghazwān". ใน Bearman, P. J.; Bianquis, Th.; Bosworth, C. E.; van Donzel, E. & Heinrichs, W. P. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume X: T–U. Leiden: E. J. Brill. p. 944. ISBN 978-90-04-11211-7.
- Donner, Fred M. (1981). The Early Islamic Conquests. Princeton: Princeton University Press. ISBN 0-691-05327-8.
- Friedmann, Yohanan, บ.ก. (1992). The History of al-Ṭabarī, Volume XII: The Battle of al-Qādisīyyah and the Conquest of Syria and Palestine. SUNY Series in Near Eastern Studies. Albany, New York: State University of New York Press. ISBN 978-0-7914-0733-2.