ข้ามไปเนื้อหา

อัลอุบุลละฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อัลอุบุลละฮ์ (อาหรับ: الأبلة) หรือชาวกรีกในสมัยก่อนอิสลามเรียกว่า อาโปโลกูเอมโปรีโอน (กรีกโบราณ: 'Απολόγου 'Εμπόριον) เป็นเมืองท่าที่ต้นอ่าวเปอร์เซียทางตะวันออกของบัสราในประเทศอิรักปัจจุบัน ในสมัยกลาง เมืองนี้ทำหน้าที่เป็นท่าเรือการค้าหลักของอิรักสำหรับการค้ากับอินเดีย

ที่ตั้ง[แก้]

ตัวนครแสดงเป็น "al-Ubullah" ทางตะวันออกเฉียงเหนือของบัสรา บนแผนที่อิรักในคริสต์ศตวรรษที่ 9 (เมโสโปเตเมียตอนล่าง)

อัลอุบุลละฮ์ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของชะวากทะเลยูเฟรติสไทกริสที่บริเวณทางเข้าสู่อ่าวเปอร์เซีย[1][2] เมืองนี้ตั้งอยู่ทางตะวันออกของบัสราเก่าและอยู่ด้านเหนือของคลองที่มีชื่อว่า Nahr al-Ubulla ซึ่งเชื่อมบัสราเข้ากับแม่น้ำไทกริสทางตะวันออกเฉียงใต้ ออบอดอน (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิหร่าน) และลงไปยังอ่าวเปอร์เซีย[3][4] ย่าน 'Ashar ของบัสราในปัจจุบันตั้งอยู่บนพื้นที่อัลอุบุลละฮ์[5][6]

ประวัติ[แก้]

อัลอุบุลละฮ์มีความเกี่ยวข้องกับเมืองโบราณอาโปโลกูเอมโปรีโอนในเอกสารตัวเขียนบันทึกเส้นทางการเดินเรือในทะเลอีริทเธรียนของกรีก[5] เมืองนี้มีอายุอย่างน้อยในสมัยซาเซเนียน (คริสตศตวรรษที่ 3–7) และอาจถึงก่อนหน้านั้น[1] Eutychius of Alexandria นักประวัติศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 รายงานว่า เมืองนี้ก่อตั้งโดยแอร์แดชีร์ที่ 1 จักรพรรดิซาเซเนียน (ครองราชย์ ค.ศ. 212–224)[5] เมืองนี้อยู่ในอาณาจักรลัคมิดที่เป็นรัฐบริวารของซาเซเนียนจนกระทั่งสิ้นสุดสมัย[1]

ในช่วงการพิชิตดินแดนโดยมุสลิมยุคต้นเมื่อคริสต์ทศวรรษ 630 อัลอุบุลละฮ์ถูกพิชิตโดยกองทัพอาหรับของอุตบะฮ์ อิบน์ ฆ็อซวาน อัลมาซินีหลังเอาชนะกองทหารรักษาการณ์ซาเซเนียน 500 นาย เมืองนี้ถูกอุตบะฮ์ อิบน์ ฆ็อซวานเข้าพิชิตถึงสองครั้ง[7][8] ในจดหมายที่เขียนถึงอุตบะฮ์ เขากล่าวถึงเมืองนี้เป็น "ท่าอัลบะห์ร็อยน์ (อาระเบียตะวันออก), อุมาน, อัลฮินด์ (อินเดีย) และอัสซีน (จีน)"[5] หลังสถาปนาบัสรา เมืองกองทหารรักษาการณ์อาหรับให้ไกลออกไปจากทะเล อัลอุบุลละฮ์จึงสูญเสียความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ แต่ยังคงเป็นท่าการค้าหลักจนกระทั่งการรุกรานของมองโกล[5]

การรุกรานของมองโกลในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ส่งผลให้พื้นที่หลายแห่งในอิรักส่วนนี้ รวมถึงอัลอุบุลละฮ์ เสื่อมถอยลง[5] อิบน์ บะฏูเฏาะฮ์ นักเดินทางในคริสต์ศตวรรษที่ 14 กล่าวถึงบริเวณเป็นเพียงแค่หมู่บ้าน และประมาณช่วงนี้ อัลอุบุลละฮ์จึงหายไปจากบันทึกทางประวัติศาสตร์[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Bosworth 1999, p. 357, note 850.
  2. Kramers 2000, p. 765.
  3. Kramers 2000, pp. 765–766.
  4. Fred McGraw Donner, The Early Islamic Conquests (Princeton: Princeton University Press, 1981), 46, 160.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 Kramers 2000, p. 766.
  6. Gibb 1962, p. 281, note 40.
  7. Donner, 174-176, 179.
  8. Heba al-Zuraiqi & Irsan Ramini, “The Muslim Conquest of the City of al-Ubulla” in the Journal of Islamic Studies, Vol. 31, No. 2 (2020), 173-184.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Bosworth, C. E., บ.ก. (1999). The History of al-Ṭabarī, Volume V: The Sāsānids, the Byzantines, the Lakhmids, and Yemen. SUNY Series in Near Eastern Studies. Albany, New York: State University of New York Press. ISBN 978-0-7914-4355-2.
  • Donner, Fred McGraw (1981). The Early Islamic Conquests. Princeton University Press.
  • Gibb, H. A. R. (1962). The Travels of Ibn Battuta, A.D. 1325-1354, Volume 2. The Hakluyt Society at Cambridge University Press. ISBN 9781351539920.
  • Huntingford, G.W.B. (2010). The Periplus of The Erythraean Sea, By an Unknown Author. Burlington: Ashgate Publishing Company.
  • Kramers, J. H. (2000). "Ubulla". ใน Bearman, P. J.; Bianquis, Th.; Bosworth, C. E.; van Donzel, E. & Heinrichs, W. P. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume X: T–U. Leiden: E. J. Brill. pp. 765–766. ISBN 978-90-04-11211-7.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Ramini, Irsan; Al-Zuraiqi, Heba (2020). "The Muslim Conquest of the City of al-Ubulla". Journal of Islamic Studies. 31 (2): 173–184. doi:10.1093/jis/etaa004.