องค์การบริหารส่วนตำบลทะเลชุบศร
องค์การบริหารส่วนตำบลทะเลชุบศร | |
---|---|
พระตำหนักชุบศร หรือพระที่นั่งเย็น | |
คำขวัญ: "แดนแห่งดินสอพองเลื่องชื่อ ผลิตภัณฑ์นามระบือเครื่องทองเหลือง งานฝีมือลือเลื่องหัตถกรรมไม้กวาด แหล่งประวัติศาสตร์พระที่นั่งเย็น" | |
พิกัด: 14°48′44.5″N 100°36′47.5″E / 14.812361°N 100.613194°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ลพบุรี |
อำเภอ | เมืองลพบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 6.94 ตร.กม. (2.68 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2563) | |
• ทั้งหมด | 13,899 คน |
• ความหนาแน่น | 2,002.73 คน/ตร.กม. (5,187.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06160118 |
ที่อยู่ที่ทำการ | หมู่ที่ 1 บ้านโคกขยาย ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15000 |
เว็บไซต์ | www |
องค์การบริหารส่วนตำบลทะเลชุบศร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 1–9 ของตำบลทะเลชุบศร (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองลพบุรี)[1] ในอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลทะเลชุบศรใน พ.ศ. 2516[2] ก่อนที่จะได้ยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลทะเลชุบศรในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539[3] ปัจจุบันเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทะเลชุบศรมีประชากร 13,899 คน
พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทะเลชุบศรประกอบไปด้วย 9 หมู่บ้านในตำบลทะเลชุบศร แบ่งเป็นครอบคลุมเต็มพื้นที่ 9 หมู่บ้าน (ไม่นับรวมพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองลพบุรีซึ่งไม่มีตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้าน และยกระบบหมู่แล้ว) ได้แก่ พื้นที่หมู่ 1 บ้านโคกขยาย หมู่ 2 บ้านท่ากระยาง หมู่ 3–4 บ้านสะพานอิฐ และหมู่ 5–9 บ้านพระที่นั่งเย็น (พระที่นั่งไกรสรสีหราช) มีพื้นที่รับผิดชอบ 6.94 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นพื้นที่ 4,337.5 ไร่ และแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่อยู่อาศัยประมาณ 4.30 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นพื้นที่ 2,687.5 ไร่ และพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 2.64 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นพื้นที่ 1,650.0 ไร่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 71 (35 ก): 746–752. 1 มิถุนายน 1954.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–72. 24 สิงหาคม 1973.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. 30 มกราคม 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-11-11.