ข้ามไปเนื้อหา

หลิว เซ่าอัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลิว เซ่าอัง
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อเล่นอาโด (Ádó)[1]
สัญชาติธงของประเทศฮังการี ฮังการี (1998–2022)
ธงของประเทศจีน จีน (2023–ปัจจุบัน)
เกิด (1998-03-13) 13 มีนาคม ค.ศ. 1998 (26 ปี)
บูดาเปสต์, ประเทศฮังการี
ส่วนสูง1.80–1.82 m (5 ft 11 in–6 ft 0 in)
น้ำหนัก78 กก
กีฬา
ประเทศธงของประเทศฮังการี ฮังการี (2015–2022)
ธงของประเทศจีน จีน (2023–ปัจจุบัน)
กีฬาสเกตความเร็วระยะสั้น
สโมสรสโมสรกายบริหารแฟแร็นตส์วาโรช
รายการที่ประสบความสำเร็จ
สถิติที่ดีที่สุด500 เมตร: 39.699 (2018)
1,000 เมตร: 1:23.021 (2016)
1,500 เมตร: 2:12.826 (2018)
3,000 เมตร: 4:46.026 (2019)
รายการเหรียญรางวัล
รายการ  1   2   3 
กีฬาโอลิมปิก 2 0 2
ชิงแชมป์โลก 6 5 2
ชิงแชมป์ยุโรป 4 8 1
รวม 12 13 5
โอลิมปิกฤดูหนาว
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2018 พย็องชัง ผลัด 5000 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2022 ปักกิ่ง 500 เมตร
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2022 ปักกิ่ง 1000 เมตร
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2022 ปักกิ่ง ผลัดผสม 2000 เมตร
ชิงแชมป์โลก
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2021 ดอร์เดรชท์ คะแนนรวม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2021 ดอร์เดรชท์ 500 เมตร
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2015 มอสโก ผลัด 5000 เมตร
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2016 โซล 1500 เมตร
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2017 ร็อตเตอร์ดัม 1000 เมตร
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2021 ดอร์เดรชท์ 1000 เมตร
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2021 ดอร์เดรชท์ ผลัด 5000 เมตร
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2016 โซล 500 เมตร
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2017 ร็อตเตอร์ดัม ผลัด 5000 เมตร
ชิงแชมป์ยุโรป
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2019 ดอร์เดรชท์ 500 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2019 ดอร์เดรชท์ ผลัด 5000 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2020 แดแบร็ตแซ็น คะแนนรวม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2020 แดแบร็ตแซ็น 1500 เมตร
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2015 ดอร์เดรชท์ ผลัด 5000 เมตร
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2016 โซชี ผลัด 5000 เมตร
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2017 ตูริน 1000 เมตร
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2017 ตูริน 1500 เมตร
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2019 ดอร์เดรชท์ คะแนนรวม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2019 ดอร์เดรชท์ 1500 เมตร
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2020 แดแบร็ตแซ็น 500 เมตร
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2020 แดแบร็ตแซ็น 1000 เมตร
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2018 เดรสเดิน ผลัด 5000 เมตร
หลิว เซ่าอัง
อักษรจีนตัวย่อ
อักษรจีนตัวเต็ม

หลิว เซ่าอัง (จีน: 刘少昂; พินอิน: Liú Shào'áng; 13 มีนาคม ค.ศ. 1998 —) เป็นนักสเกตความเร็วระยะสั้นชาวฮังการี เขาเป็นผู้ชนะเลิศเหรียญทองโอลิมปิก แชมป์โลกและแชมป์ยุโรป[2] เขาเปลี่ยนสัญชาติและอาจเป็นตัวแทนของประเทศจีนหลังปี ค.ศ. 2023[3]

ประวัติ

[แก้]

หลิวเกิดในบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี โดยพ่อของเขาเป็นชาวจีนและแม่เป็นชาวฮังการี เขาเป็นน้องชายของเซ่าหลิน ซานโดร์ หลิว ซึ่งเป็นนักสเกตความเร็วระยะสั้น[4] เขาเริ่มเล่นสเกตความเร็วระยะสั้นในปี ค.ศ. 2006 และฝึกซ้อมที่ประเทศจีนเป็นเวลาหนึ่งปี[2] เขาปรากฏตัวในระดับนานาชาติครั้งแรกในการแข่งขันสเกตความเร็วระยะสั้นเยาวชนชิงแชมป์โลก 2014 ที่ แอร์ซูรุม เขาได้รับรางวัลเหรียญเงินในรายการทีมผลัด 3000 เมตร อีกหนึ่งปีต่อมาเขาได้รับรางวัลเหรียญเงินในการแข่งขันสเกตความเร็วระยะสั้นชิงแชมป์โลก 2015 ที่ มอสโก และสเกตความเร็วระยะสั้นชิงแชมป์ยุโรป 2015 ที่ ดอร์เดรชท์

เขาได้เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาว 2016 ที่ ลิลเลอฮาเมอร์ เขาได้รับเหรียญทองแดงในรายการ 1000 เมตร และจบอันดับที่เก้าในรายการ 500 เมตร[5][6] ต่อมาในปีเดียวกันเขาได้เข้าแข่งขันชิงแชมป์โลก 2016 ที่ โซล เขาได้รับรางวัลเหรียญเงินในรายการ 1500 เมตร และเหรียญทองแดงในรายการ 500 เมตร[7][8]

ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ที่ พย็องชัง เขาได้รับรางวัลเหรียญทองในรายการทีมผลัด 5000 เมตร (ร่วมกับเซ่าหลิน ซานโดร์ หลิว, วิกโตร์ คโนช และชอบอ บูร์ยาน) ทำให้ทีมชาติฮังการีได้รับเหรียญทองเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในโอลิมปิกฤดูหนาว และในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019 เขาได้รับเหรียญทองในรายการ 500 เมตร และ 1500 เมตร จากการแข่งขันสเกตความเร็วระยะสั้นชิงแชมป์ยุโรป 2019 หลังจากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2019 เขาประสบอุบัติกระดูกข้อมือซ้ายหักหลังจากการล้มระหว่างการแข่งขันเวิลดัพ 2019 ที่เดรสเดิน[2][9]

ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ที่ ปักกิ่ง เขาได้รับรางวัลเหรียญทองในรายการ 500 เมตร[10] และสองเหรียญทองแดงในรายการทีมผลัดผสม 2000 เมตร (ร่วมกับแปตรอ ยาซอปาตี, ชอเฟีย โกนยอ และเซ่าหลิน ซานโดร์ หลิว)[11] และ 1000 เมตร ซึ่งเขาจบการแข่งขันตามหลังเหริน จื่อเวย์และหลี่ เหวินหลงจากประเทศจีน[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ághassi, Attila (13 February 2022). "Liu Shaoang kitűnő versenyzéssel olimpiai bajnok 500 méteren" [Shaoang Liu is Olympic champion in the 500 metres with an excellent race]. Telex (ภาษาฮังการี). สืบค้นเมื่อ 13 February 2022.
  2. 2.0 2.1 2.2 "ISU bio". Isu.html.infostradasports.com. สืบค้นเมื่อ 11 February 2022.
  3. Li, Pasha (14 December 2022). "Two Star Athletes Have Chosen to Represent China. Netizens Are Furious". Sixth Tone.
  4. "Meet Sándor Liu Shaolin, Chinese-Hungarian speed skating heartthrob". Medium. สืบค้นเมื่อ 2021-02-11.
  5. "Ifjúsági téli olimpia: Liu Shaoang bronzérmes 1000 méteren" (ภาษาฮังการี). nemzetisport.hu. 2016-02-14. สืบค้นเมื่อ 2016-02-14.
  6. "Ifjúsági téli olimpia: nem az hozta az érmet, akitől vártuk" (ภาษาฮังการี). nemzetisport.hu. 2016-02-16. สืบค้นเมื่อ 2016-02-17.
  7. "Rp. gyorskorcsolya vb: Liu Shaoang ezüstérmes 1500 m-en". 2016-03-12. สืบค้นเมื่อ 2016-03-12.
  8. "Rp. gyorskorcsolya vb: 500 m-en világbajnok Liu Shaolin!". 2016-03-12. สืบค้นเมื่อ 2016-03-12.
  9. "Rp. gyorskorcsolya: három helyen eltört Liu Shaoang keze" (ภาษาฮังการี). 2019-02-01. สืบค้นเมื่อ 2019-02-01.
  10. Dajka Balázs (2022-02-13). "Liu Shaoang olimpiai bajnok 500 méteren". 24.hu (ภาษาฮังการี). Central Médiacsoport Zrt. สืบค้นเมื่อ 2022-02-13.
  11. "Bronzérmes a magyar vegyes váltó a téli olimpián!" (ภาษาฮังการี). 2022-02-05. สืบค้นเมื่อ 2022-02-05.
  12. "Téli olimpia: Liu Shaoang bronzérmes 1000 méteren" (ภาษาฮังการี). 2022-02-07. สืบค้นเมื่อ 2022-02-07.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]