ข้ามไปเนื้อหา

หงเฉวียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หงฉวน[1] หรือ มวยสกุลหง (จีน: 洪拳; อังกฤษ: Hung Kuen) เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวทางตอนใต้ของจีน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวีรบุรุษในตำนานชาวจีนนามว่า หวง เฟยหง ผู้ซึ่งเป็นปรมาจารย์แห่งเพลงหมัดหงฉวน[2]

ตามตำนานกล่าวว่าเพลงหมัดหงฉวนได้รับการตั้งชื่อตาม หง ซีกวน ผู้ซึ่งได้เรียนศิลปะการต่อสู้จาก จื้อซั่น ผู้ซึ่งเป็นปรมาจารย์ฉานแห่งวัดเส้าหลินภาคใต้[3] โดย จื้อซั่น (หรือ จื้อซั่นฉานซือ; จีน: 至善禪師) เป็นอาจารย์ของ 5 ลูกศิษย์ ซึ่งมีนามว่า หง ซีกวน, ไช่ จิ่วหยี, โม่ ชิงเจี่ยว, หลี่ โหย่วซัน และ หลิว ซานเหยี่ยน (จีน: 洪熙官, 蔡九儀, 莫清矯, 李友山 และ 劉三眼)[4] ห้าลูกศิษย์เหล่านี้ในภายหลังได้กลายเป็นห้าผู้ก่อตั้งที่มีชื่อเสียงแห่งห้าเพลงหมัดวัดเส้าหลินตอนใต้ (หงฉวน, ไช่เจียฉวน, โม่เจียฉวน, หลี่เจียฉวน และ หลิวเจียฉวน; จีน: 洪拳, 蔡家拳, 莫家拳, 李家拳 และ 劉家拳)[4]

วัดที่พวกเขาได้รับการฝึกฝนได้กลายเป็นที่หลบภัยสำหรับฝ่ายตรงข้ามของราชวงศ์ชิง ซึ่งใช้สถานที่แห่งนี้ดำเนินกิจกรรมของพวกเขา และได้ถูกทำลายโดยกองกำลังชิงในไม่นาน หงผู้เป็นพ่อค้าชาก็ได้ออกจากบ้านในมณฑลฝูเจี้ยนมายังมณฑลกวางตุ้งในที่สุด และเขาได้นำศาสตร์สายนี้มาเผยแพร่ในเวลาต่อมา[3]

ผู้ฝึกเพลงหมัดหงฉวนที่มีชื่อเสียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

หนังสืออ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Kennedy, Brian (2005). Chinese Martial Arts Training Manuals: A Historical Survey. Berkeley, California: North Atlantic Books. pp. 152–153. ISBN 1-55643-557-6. Fujian province was reputed to be home to one of the Shaolin temples that figure so prominently in martial arts folklore. As a result, Fujian province and the adjacent province of Guangdong were the birthplace and home of many southern Shaolin systems, at least according to the oral folklore. A military historian might be of the opinion that the reason those two southern provinces had so many different systems of martial arts had more to do with the fact that, during the Qing Dynasty, rebel armies were constantly being formed and disbanded in those provinces, resulting in a wide variety of people who had some training and interest in martial arts. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Rene Ritchie, Robert Chu and Hendrik Santo. "Wing Chun Kuen and the Secret Societies". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-03-16. สืบค้นเมื่อ August 14, 2005.
  • (2) Southern Shaolin Kung Fu Ling Nam Hung Gar | Author: Wing Lam | Copyright 2003 Wing Lam Enterprises | ISBN 1-58657-361-6 | pg. 241
  • Lam Sai Wing. "Iron Thread. Southern Shaolin Hung Gar Kung Fu Classics Series". Second Edition, 2007. Paperback, 188 pages. ISBN 978-1-84799-192-8 / Original edition: Hong Kong, 1957; translated from Chinese in 2002 - 2007 /

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]