ข้ามไปเนื้อหา

สาหร่ายไก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาหร่ายไก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Chlorophyta
ชั้น: Ulvophyceae
อันดับ: Cladophorales
วงศ์: Cladophoraceae
สกุล: Cladophora
Kütz., 1843
สปีชีส์
ดูในเนื้อหา

สาหร่ายไก เป็นสาหร่ายน้ำจืดสีเขียวสกุล Cladophora และ Rhizoclonium ที่พบทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะแถบ แม่น้ำน่าน ในอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน และแม่น้ำโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งสาหร่ายชนิดนี้สามารถนำมารับประทานได้

ชื่อพื้นเมือง

[แก้]

มีหลายชื่อได้แก่ ไกเหนียวหรือไกค้าง, ไกเปื้อยหรือไกไหม,ไกต๊ะ,สาหร่ายไก,สาหร่ายไคร,ไกค่าว เตา (ภาคเหนือ) นิยมนำมายำใส่ปลาทู มะเขือเปาะ

ชนิด

[แก้]

สาหร่ายไกมี 3 ชนิด คือ

  1. ไกเหนียว (ไกค้าง) - มีสีเขียวเข้ม ลักษณะยาว ไม่แตกแขนง เนื้อไม่ฟู มีน้ำหนักพอสมควร มีความยาวประมาณ 2 เมตร
  2. ไกเปื้อย (ไกไหม) - ลักษณะจะเกาะอยู่กับหินเป็นกระจุกแล้วจึงกระจายแผ่ออกเป็นฝอยจำนวนมาก ลักษณะเส้นจะเหนียวและลื่น มีสีเขียวซีด มีความยาวประมาณ 80 เซนติเมตร
  3. ไกต๊ะ - ลักษณะเป็นกระจุกอยู่ปนกับไกไหม ลักษณะเส้นจะสั้นและลื่นมาก

การทำอาหาร

[แก้]

สาหร่ายไกมักถูกนำมารับประทานแบบสด และยังสามารถนำมาปรุงเป็น ยำ ห่อนึ่ง โดยให้โปรตีนสูงกว่าการรับประทานเนื้อปลา มีวิตามินและเกลือแร่อยู่กว่า 18 ชนิด อีกทั้งมีสารต้านมะเร็ง และมีกากใยอาหารสูง กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหนองบัว อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ได้นำมาแปรรูปผลิตอาหารแปรรูปจากสาหร่ายไกได้กว่า 14 ชนิด

การจำแนก

[แก้]

แบ่งออกเป็นสปีชีส์ต่าง ๆ ได้ดังนี้

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Cladophora ที่วิกิสปีชีส์