ข้ามไปเนื้อหา

สารฆ่าเชื้ออสุจิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สารฆ่าเชื้ออสุจิ
ความรู้พื้นฐาน
ประเภทการคุมกำเนิดสารฆ่าเชื้ออสุจิ
เริ่มใช้ครั้งแรกยุคโบราณ
อัตราการล้มเหลว (ในปีแรกของการใช้)
เมื่อใช้อย่างถูกต้อง18%
เมื่อใช้แบบทั่วไป28%
การใช้
การย้อนกลับทันที
สิ่งที่ผู้ใช้ควรรู้ประสิทธิผลสูงกว่าเมื่อใช้ร่วมกับการคุมกำเนิดโดยใช้สิ่งกีดขวาง
ข้อดีข้อเสีย
ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกัน
ผลกระทบต่อน้ำหนักตัวไม่มี
ข้อดีช่วยหล่อลื่น

สารฆ่าเชื้ออสุจิ (อังกฤษ: spermicide) เป็นสารคุมกำเนิดที่ทำลายตัวอสุจิ ใช้โดยการใส่เข้าไปในช่องคลอดก่อนการร่วมเพศเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ การใช้สารฆ่าเชื้ออสุจิอย่างเดียวสามารถใช้คุมกำเนิดได้ อย่างไรก็ตามคู่รักที่ใช้สารฆ่าเชื้ออสุจิอย่างเดียวมีอัตราการตั้งครรภ์สูงกว่าคู่ที่ใช้การคุมกำเนิดแบบอื่น โดยปกติ สารฆ่าเชื้ออสุจิมักถูกใช้คู่กับวิธีอื่น เช่น วิธีใช้สิ่งกีดขวางอย่าง ถุงยางอนามัย ฝาครอบปากมดลูก หมวกครอบปากมดลูก และฟองน้ำคุมกำเนิด การใช้ร่วมกันให้ผลดีกว่าการใช้วิธีคุมกำเนิดแบบใดแบบหนึ่งอย่างเดียว[1]

สารฆ่าเชื้ออสุจิไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ไม่มีรส ไม่ทิ้งคราบ และยังช่วยหล่อลื่น

ประเภทและประสิทธิผล

[แก้]

ตัวที่ใช้เป็นสารออกฤทธิ์ที่มักถูกใช้ในสารฆ่าเชื้ออสุจิ คือ nonoxynol-9 สารฆ่าเชื้ออสุจิที่มีส่วนผสมของ nonoxynol-9 มีหลายรูปแบบ เช่น เจล แผ่นฟิล์ม และโฟม หากใช้เดี่ยว ๆ สารฆ่าเชื้ออสุจิมีอัตราการล้มเหลวอยู่ที่ 18% ต่อปีเมื่อใช้อย่างถูกต้อง และ 28% ต่อปีเมื่อใช้แบบทั่วไป[2]

ยี่ห้อสารฆ่าเชื้ออสุจิ

[แก้]

รายชื่อตัวอย่างยี่ห้อของสารฆ่าเชื้ออสุจิจาก Mayo Clinic [3]

  1. Advantage-S
  2. Conceptrol
  3. Crinone
  4. Delfen Foam
  5. Emko
  6. Encare
  7. Endometrin
  8. First-Progesterone VGS
  9. Gynol II
  10. Prochieve
  11. Today Sponge
  12. VCF-Vaginal Contraceptive Film
  13. Vagi-Gard Douche Non-Staining

สารฆ่าเชื้อสุจิแต่ละแบบมีวิธีใช้แตกต่างกันและควรอ่านคำวิธีใช้ของแต่ละผลิตภัณฑ์อย่างถี่ถ้วน หากมีข้อกังวลเกี่ยวกับสารฆ่าเชื้ออสุจิควรติดต่อแพทย์

Nonoxynol-9 เป็นสารหลักในสารฆ่าเชื้ออสุจิที่ขัดขวางการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิ สารออกฤทธิ์รองสามารถประกอบด้วย octoxynol-9, benzalkonium chloride และ menfegol[4] การขัดขวางการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิสามารถหยุดยั้งการเดินทางไปยังเซลล์ไข่ หากใส่ในความลึกที่ถูกต้อง สารฆ่าเชื้ออสุจิควรปิดกลั้นบริเวณปากมดลูกเพื่อไม่ให้ตัวอสุจิสามารถผ่านไปยังมดลูกหรือท่อนำไข่ งานวิจัยโดย K.T. Bartman และคณะชี้ว่าเมื่อทาสารฆ่าเชื้ออสุจิที่มีส่วนผสมของ Nonoxynol-9 ในช่องคลอด "เจลได้คลอบคลุมเยื่อบุผิวในความหนาต่างกันเมื่อผ่านไป 10 นาที"[5] เป้าหมายเดียวของสารฆ่าเชื้ออสุจิคือการป้องกันการตั้งครรภ์

การใช้ร่วมกับถุงยางอนามัย

[แก้]

เชื่อกันว่าสารฆ่าเชื้ออสุจิเพิ่มประสิทธิผลของถุงยางอนามัย[1]

อย่างไรก็ตาม ถุงยางอนามัยที่ผลิตโดยมีสารฆ่าเชื้ออสุจิมีอายุสั้นกว่า[6] และอาจทำให้ระบบปัสสาวะของผู้หญิงอักเสบ[7] องค์การอนามัยโลกกล่าวว่าควรเลิกสนับสนุนถุงยางอนามัยที่มีสารฆ่าเชื้ออสุจิ อย่างไรก็ตามพวกเขาแนะนำว่าการใช้ถุงยางอนามัยที่มีส่วนประกอบของ nonoxynol-9 ยังดีกว่าการไม่ใช้ถุงยางอนามัยเลย[8]

การใช้สารฆ่าเชื้ออสุจิอย่างเดียวให้ประสิทธิภาพเพียงร้อยละ 70 ถึง 80[9] เมื่อสารฆ่าเชื้ออสุจิถูกใช้ร่วมกับถุงยางอนามัยและวิธีทีใช้สิ่งกีดขวางอื่น ๆ ให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูงถึงร้อยละ 97

ผลข้างเคียง

[แก้]

การระคายเคืองผิวแบบชั่วคราวบริเวณ โยนี ช่องคลอด หรือองคชาต เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุดเมื่อใช้สารฆ่าเชื้ออสุจิ[10]

ไม่แนะนำสำหรับผู้ที่ใช้บ่อย (มากกว่า 2 ครั้งต่อวัน) หากมีความเสี่ยงติดโรคเฮชไอวี เนื่องจากสารฆ่าเชื้ออสุจิที่มีส่วนประกอบของ nonoxynol-9 เพิ่มความเสียหายบนเยื่อบุผิวบริเวณโยนีและช่องคลอด เพิ่มโอกาสการติดเชื้อเฮชไอวี[10]

ใน พ.ศ. 2540 องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) กำหนดให้ผลิตภัณฑ์คุมกำเนิดที่มีส่วนประกอบของ nonoxynol-9 ที่ขายตามร้านขายยาให้ระบุบนฉลากว่าไม่ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์[11][12]

ประวัติ

[แก้]

บันทึกรายอักษรแรกของสารฆ่าเชื้ออสุจิถูกพบบนพาไพรัสคาฮุน (Kahun Papyrus) เอกสารของชาวอียิปต์ย้อนกลับไปตั้งแต่ 1850 ปีก่อนคริสตกาล มีการบรรยายถึงห่วงพยุงในช่องคลอดทำจากอุจจาระจรเข้และแป้งโดว์หมัก[13] เชื่อกันว่า pH ที่ต่ำของอุจจาระอาจช่วยฆ่าเชื้ออสุจิ [14]

สูตรอื่นถูกพบในพาไพรัสอีเบอร์ส์จากประมาณ 1500 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีการแนะนำให้ผสมขนแกะ อาเคเซีย ผลอินทผลัม และน้ำผึ้งเข้าด้วยกันและนำไปใส่ในช่องคลอด คาดว่าประสิทธิผลอาจมาจากความเหนียวหนืดที่ช่วยกีดขวางและกรดแล็กติก (มีผลในการฆ่าเชื้ออสุจิ) จากอาเคเซีย[14]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Kestelman P, Trussell J (1991). "Efficacy of the simultaneous use of condoms and spermicides". Fam Plann Perspect. 23 (5): 226–7, 232. doi:10.2307/2135759. JSTOR 2135759. PMID 1743276.
  2. Trussell, James (2011). "Contraceptive efficacy". ใน Hatcher, Robert A.; Trussell, James; Nelson, Anita L.; Cates, Willard Jr.; Kowal, Deborah; Policar, Michael S. (บ.ก.). Contraceptive Technology (20th revised ed.). New York: Ardent Media. pp. 779–863. ISBN 978-1-59708-004-0. ISSN 0091-9721. OCLC 781956734.
  3. Clinic, Mayo. "Spermicide (Vaginal Route)". Mayo Clinic. สืบค้นเมื่อ April 1, 2014.
  4. World Health Organization. "WHO/Conrad Technical Consultation" (PDF). Geneva. สืบค้นเมื่อ April 1, 2014.
  5. Bartman, K.T; A. Stolpen; E S Pretorious; D Malamud (July 2001). "Distribution of a spermicide containing Nonoxynol-9 in the vaginal canal and the upper female reproductive tract". Human Reproduction. 16 (6): 1151–1154. doi:10.1093/humrep/16.6.1151. สืบค้นเมื่อ April 1, 2014.
  6. "Spermicide (Nonoxynol-9)". Other disadvantages. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-20. สืบค้นเมื่อ 2008-04-23.
  7. "Condoms: Extra protection". ConsumerReports.org. February 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 26, 2006. สืบค้นเมื่อ 2006-08-06.
  8. WHO (2002). "HIV/AIDS Topics: Microbicides". Geneva: World Health Organization. สืบค้นเมื่อ August 6, 2006.
  9. WebMD. "Spermicide for Birth Control - Topic Overview". WebMD. สืบค้นเมื่อ April 1, 2014.
  10. 10.0 10.1 Cates, Willard Jr.; Harwood, Bryna (2011). "Vaginal Barriers and Spermicides". ใน Hatcher, Robert A.; Trussell, James; Nelson, Anita L.; Cates, Willard Jr.; Kowal, Deborah; Policar, Michael S. (บ.ก.). Contraceptive Technology (20th revised ed.). New York: Ardent Media. pp. 391–408. ISBN 978-1-59708-004-0. ISSN 0091-9721. OCLC 781956734. p. 399:

    Currently available spermicides containing nonoxynol-9 are ineffective as microbicides, in particular as HIV-preventive measures.17 Thus, spermicides used alone are not recommended to prevent HIV or other STIs. Furthermore, frequent use (more than 2 times a day) of spermicide causes more vulvovovaginal epithelial disruption,18 which theoretically could increase susceptibility to HIV. In a high-risk population using a vaginal gel with nonoxynol-9 more than three applications per day on average, the risk of HIV acquisition was increased compared with placebo.19

    p.399–400:

    Disadvantages and cautions

    Local irritation

    Temporary skin irritation involving the vulva, vagina, or penis caused by either local toxicity or allergy to the formulation is the most common problem associated with spermicide use... Although vaginal epithelial disruption has been associated with frequent use (twice a day or more) of spermicides containing N-9, this is usually asymptomatic. In a low risk population, long-term use of N-9 containing methods was not associated with epithelial disruption.22

    p. 401:

    N-9 spermicides are inadvisable if STI/HIV exposure is likely in situations that would involve frequent use defined as 2 times or more a day.

  11. FDA (December 18, 2007). "FDA mandates new warning for nonoxynol 9 OTC contraceptive products. Label must warn consumers products do not protect against STDs and HIV/AIDS (news release)". Silver Spring, Md.: Food and Drug Administration. สืบค้นเมื่อ April 16, 2014.
  12. FDA (December 19, 2007). "Final rule. Over-the-counter vaginal contraceptive and spermicide drug products containing nonoxynol 9; required labeling". Federal Register. 72 (243): 71769–71785.
  13. "Evolution and Revolution: The Past, Present, and Future of Contraception". Contraception Online (Baylor College of Medicine). 10 (6). February 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 26, 2006.
  14. 14.0 14.1 Towie, Brian (January 19, 2004). "4,000 years of contraception on display in Toronto museum". torontObserver. Centennial College journalism students. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 25, 2004.