สวนโอ่ว
Classical Gardens of Suzhou * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
ประเทศ | China |
ภูมิภาค ** | Asia-Pacific |
ประเภท | Cultural |
เกณฑ์พิจารณา | i, ii, iii, iv, v |
อ้างอิง | 813 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 1997 (คณะกรรมการสมัยที่ 21st) |
เพิ่มเติม | 2000 |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
สวนโอ่ว (อังกฤษ: Couple's Retreat Garden; จีน: 耦园; พินอิน: Ŏu Yuán) ตั้งอยู่เลขที่ 6 ตรอกเสี่ยวซินเฉียว ในผิงเจียง (平江区小新桥巷6号) ทางทิศตะวันออกของเมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นสวนที่สวยงามและมีความโดดเด่นมากแห่งหนี่ง แต่ไม่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมากเท่ากับสวนจัวเจิ้ง (Humble Administrator's Garden) และเขาหูชิวหรือเนินเสือ (Tiger Hill) สวนโอ่วยังเป็นอีกแห่งหนี่งที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสวนโบราณเมืองซูโจวที่ได้รับการบันทึกเป็นมรดกโลกโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
ประวัติ
[แก้]เดิมทีสวนโอวมีชื่อว่า สวนเชอ (อังกฤษ: She Garden; จีนตัวเต็ม: 涉园) สร้างขึ้นสมัยต้นราชวงศ์ชิงโดย (Lu Jin) ผู้ซึ่งเป็นนายอำเภอของเป่าติ้ง ต่อมาในปี ค.ศ. 1874 สมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิซุ่นจื้อ (อังกฤษ: Shunzhi; จีนตัวเต็ม: 順治; จีนตัวย่อ: 顺治; พินอิน: Shùnzhì) สวนเห่งนี้ถูกซื้อต่อโดย (Shen Bingcheng) ผู้ตรวจการของมณฑลซู่ซง (Susong; 宿松县) ซึ่งเป็นผู้ที่ปรับปรุงสวนนี้ในรูปแบบดังที่เห็นในปัจจุบัน เขายังได้เปลี่ยนชื่อสวนมาเป็นสวนโอ่ว หรือสวนสันโดษของคู่รัก (the Couple's Retreat Garden) โดยชื่อนี้มีที่มาจากพื้นที่สวนสองส่วนซึ่งเปรียบเสมือนดังคู่รัก[1]
ชื่อของสวนว่า “สวนโอ่ว (the Ou Garden; 耦园)” นั้นมาจากลักษณะของสวนที่แบ่งพื้นที่เป็นสองส่วน ทั้งด้านทิศตะวันออกและตะวันตก ตัวอักษร “耦 (โอ่ว; ou)” ในภาษาจีนโบราณหมายถึงคนสองคนช่วยกันเพาะปลูก ไถดินร่วมกัน โดยที่ตัวอักษร “耦” ในภาษาจีนนี้ มีเสียงคล้ายกับคำว่า “偶” ซึ่งมีความหมายว่า คู่ (a couple) ดังนั้นชื่อของสวนจึงมีความหมายโดยนัยถึงคู่รักที่ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสงบในชนบท
ช่วงสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี่หรือกวางสู (อังกฤษ: Guangxu; จีน: 光绪帝; พินอิน: Guāngxù, 1871-1908) แห่งราชวงศ์ชิง สวนนี้ถูกทิ้งร้าง และหลังจากนั้นได้มีการให้เช่าสวนเพื่อเป็นที่พักอาศัย ในปี ค.ศ. 1939 เฉียนมู่ (อังกฤษ: Qianmu; จีนตัวย่อ: 錢穆) นักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงก็เคยพักอาศัยอยู่ที่สวนฝั่งตะวันออกของสวนโอ่วนี้กับครอบครัวของเขา
ในปี ค.ศ.1941 หลิว กัวจุน (Liu Guojun) นักอุตสาหกรรมจากฉางโจว (อังกฤษ: Changzhou; จีนตัวเต็ม: 常州) ได้ซื้อสวนนี้และปรับปรุงสวนจนเสร็จ ต่อมาในปี ค.ศ. 1955 เขาได้มอบสวนนี้ให้เป็นสมบัติของเมืองซูโจว และเริ่มเปิดให้ประชาชนเข้าเที่ยวชมได้ในปี ค.ศ. 1980
ในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2000 สวนแห่งนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสวนโบราณเมืองซูโจว ที่ได้รับการบันทึกเป็นมรดกโลก โดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
สวนโอ่วมีลักษณะที่โดดเด่นจากสวนโบราณอื่นๆ ในเมืองซูโจว คือ ส่วนที่เป็นบริเวณที่พักอาศัยจะอยู่ตรงกลางระหว่างสวนซึ่งตั้งอยู่รอบทั้งสองด้าน กล่าวได้ว่าสวนฝั่งตะวันออกมีความงดงามมากกว่าสวนฝั่งตะวันตก โดยมีการประดับด้วยหินสีเหลือง (yellowstone) รูปทรงต่างๆ โดยเฉพาะหินที่ตั้งประดับอยู่ในสระซึ่งมีความโดดเด่นสะดุดตาที่สุด
การออกแบบ
[แก้]สวนโอ่วมีพื้นที่ประมาณ 5.4 หมู่ (mu, 亩) หรือประมาณ 0.89 เอเคอร์ (acres) พื้นที่สวนแบ่งเป็นสวนฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก โดยมีบริเวณที่พักอาศัยอยู่ตรงกลาง ซึ่งเป็นลักษณะการออกแบบและจัดวางองค์ประกอบสวนที่แตกต่างจากสวนโบราณอื่นๆ[2] มีคูขนาดเล็กล้อมรอบสวนทั้งสามด้าน มีท่าน้ำ (piers) ใกล้ทางเข้าสวนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ภายในสวนมีอาคารหลักหลังใหญ่และอาคารขนาดเล็กอีกหลายหลัง อาคารหลักกลางสวน (middle mansion) มีลักษณะคล้ายอาคารโบราณทั่วไปในซูโจว แบ่งพี้นที่เป็นสี่ส่วน (terraces) ซึ่งแต่ละส่วนประกอบด้วยโถงด้านหน้า (lobby) โถงรับแขก (guest hall) และโถงหลัก (main hall)
สวนฝั่งตะวันออกเป็นส่วนหลักของพื้นที่สวนทั้งหมด ประกอบไปด้วยบ่อน้ำ ถ้ำหินจำลอง และทางเดินที่เชื่อมต่อโดยรอบพื้นที่สวน จุดที่โดดเด่นที่สุดคือเนินหินใหญ่กลางสระน้ำภายในสวน โดยมีศาลา ระเบียง และอาคารตั้งอยู่โดยรอบ กระท่อมหญ้าคา (the Thatched Cottage) เป็นอาคารหลักในสวนฝั่งนี้ โดดเด่นด้วยหลังคาสองชั้นซึ่งมักไม่ค่อยเห็นในงานสถาปัตยกรรมสวนโบราณเมืองซูโจว หันหน้าเข้าหาเนินเขาหินสีเหลือง (yellowstone) ที่สร้างขึ้นสมัยปลายราชวงศ์หมิง
สวนฝั่งตะวันตกซึ่งมีขนาดเล็กกว่าสวนฝั่งตะวันออก ประกอบด้วยอาคารต่างๆ เช่น หอสมุด ศาลา และชานชมสวน ภายในสวนมีเขาหินปูนและถ้ำที่เชิ่อมต่อถึงกัน
สวนโอ่วมีอาคารทั้งหมด 24 อาคาร มีแท่งหินจารึก 21 แท่ง มีหินแกะสลัก 10 ชิ้น และมีต้นไม้โบราณที่สำคัญ 7 ต้น อาทิ ต้นไพน์ต่างๆ (pinus bungeana, pinus thunbergii) และต้นวิสเทอเรีย (wisteria sinensis) เป็นต้น
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ China Internet Information Center (June 24, 2004). "The Couple's Garden". สืบค้นเมื่อ 2009-02-30.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Suzhou Mingcheng Information Port Co., LTD. "The Couple's Garden Retreat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-07-02. สืบค้นเมื่อ 2009-02-30.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
บรรณานุกรม
[แก้]- Terebess Hungary LLC. (2009), The Couple Garden Retreat, สืบค้นเมื่อ 2009
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - Yuan (袁), Xuehan (学汉) (2004), The Classical Gardens of Suzhou (苏州古典园林), CIP, p. 217, ISBN 7-214-03763-7, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-25, สืบค้นเมื่อ 2014-04-05
{{citation}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Shanghai News and Press Bureau (2009), The Couple Garden Retreat (Ou Yuan), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03, สืบค้นเมื่อ 2009
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - Classical Gardens of Suzhou, UNESCO's official website on World Heritage site.
- Couple's Garden Retreat at Asian Historical Architecture.