สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานี
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานี | |
---|---|
ลิเดีย ลิลิอู โลโลกู วาลาเนีย เวเวฮิ คามาคาเอฮา อา คาปาอาเคอา สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย | |
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรฮาวาย | |
ครองราชย์ | 29 มกราคม พ.ศ. 2434 - 17 มกราคม พ.ศ. 2436 |
รัชสมัย | 2 ปี |
รัชกาลก่อนหน้า | พระเจ้าคาลาคาอัวแห่งฮาวาย |
รัชกาลถัดไป | ราชาธิปไตยถูกล้มล้าง |
ประสูติ | 2 กันยายน พ.ศ. 2381 โฮโนลูลู ราชอาณาจักรฮาวาย |
สวรรคต | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 (79 พรรษา) โฮโนลูลู รัฐฮาวาย |
พระราชสวามี | เจ้าชายจอห์น โอเวนแห่งฮาวาย พระราชสวามี |
สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย | |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์คาลาคาอัว |
พระบรมราชชนก | คาเอซาร์ คาปาเคอา |
พระบรมราชชนนี | อานาเลอา เคโอโฮคาโลเล |
ลายพระอภิไธย |
สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย (อังกฤษ: Queen Liliuokalani of Hawaii) (2 กันยายน พ.ศ. 2381 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรฮาวาย มีพระนามเดิมว่า ลิเดีย ลิลิอู โลโลกู วาลาเนีย เวเวฮิ คามาคาเอฮา อา คาปาอาเคอา เมื่อทรงได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชวงศ์มีพระนามว่า เจ้าหญิงลีลีโอกาลานี หลังจากทรงอภิเษกสมรสก็มีพระนามว่า ลิเดีย เค โดมินิส
ต้นพระชนม์ชีพ
[แก้]สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2381 เป็นพระราชธิดาในคาเอซาร์ คาปาเคอาหัวหน้าพระสังฆราชแห่งฮาวาย กับอานาเลอา เคโอโฮคาโลเล จึงถือว่าพระองค์พระองค์เป็นพระราชบุตรบุญธรรมของพระมหากษัตริย์ฮาวายตามพระราชประเพณีโบราณของฮาวาย พระองค์ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในวัยเด็กศึกษาเล่าเรียน และใช้เวลาอยู่กับพระขนิษฐาของพระองค์
ในวันที่พระองค์เสด็จพระราชสมภพ พระชายาคินาอูในพระเจ้าคาลาคาอัว มีพระอาการแปลก ๆ ซึ่งเป็นที่มาของพระนามของพระองค์ คือ ลีลีอู (บาดเจ็บ[1]) โลโลกู (ร้องไห้[2]) วาลาเนีย (ปวดแสบปวดร้อน[3]) คามาคาเอฮา (เจ็บตา[4]) พระเชษฐาของพระองค์จึงนำชื่อเหล่านี้ไปตั้งเป็นพระนามของเจ้าฟ้าหญิง ซึ่งรวมกันหมายถึง อาการบาดเจ็บของพระราชวงศ์[5]
พระองค์ได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนหลวงแห่งราชอาณาจักรฮาวาย (ภายหลังรู้จักกันในชื่อโรงเรียนราชวงศ์ฮาวาย) และกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ พระองค์เข้าเรียนในโรงเรียนเดียวกับพระเชษฐาทั้งสองของพระองค์ เจมส์ คาลิโอคาลานี่และเดวิด คาลาคาอูอา พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในเด็กทั้งสิบห้าคน
อภิเษกสมรส
[แก้]เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2405 เจ้าหญิงลีลีโอกาลานี ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับจอห์น โอเวน โดมินิส ซึ่งต่อมาได้เป็นผู้ว่าราชการรัฐโอวาฮูและเมาอี พระองค์ทรงอภิเษกสมรสอย่างไม่มีความสุข เพราะพระองค์ทรงประสบกับปัญหาอย่างมากมาย แต่ในปีพ.ศ. 2425 พระราชสวามีของพระองค์ก็มีพระโอรสกับคนรับใช้ของพระองค์ ซึ่งพระองค์ก็ยอมรับมาเป็นโอรสบุญธรรม และพยายามจะให้ทายาทอยู่ในสายพระราชบัลลังก์ เพื่อจะได้เสริมความมั่นคงให้สถาบันพระมหากษัตริย์และปกป้องพระสวามีของพระองค์[6]
เจ้าฟ้าหญิงมกุฎราชกุมารี
[แก้]ในปีพ.ศ. 2417 เจ้าชายลูนาลิโลทรงได้รับเลือกให้เป็นผู้สืบราชบัลลังก์แห่งราชอาณาจักรฮาวายต่อจากพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 5 แห่งฮาวาย ซึ่งเสด็จสวรรคตลงและไม่ทรงมีรัชทายาท ในการเลือกผู้สืบราชบัลลังก์ระหว่างเจ้าชายลูนาลิโล เดวิด คาลาคาอูอา และสมเด็จพระราชินีเอ็มมา นาเอ รูกในพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 4 เจ้าหญิงลีลีโอกาลานีสนับสนุนพระเชษฐาของพระองค์ซึ่งได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ในเวลาต่อมา[7]
พระเจ้าลูนาลิโลแห่งฮาวายทรงแต่งตั้งให้เจ้าชายคาลาคาอัวพระเชษฐาของเจ้าหญิงลีลีโอกาลานีเป็นมกุฎราชกุมาร พระเจ้าลูนาลิโลทรงปกครองฮาวายได้เพียงปีเดียวก็เสด็จสวรรคต เจ้าชายคาลาคาอัวจึงได้ทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าคาลาคาอัวแห่งฮาวาย และทรงแต่งตั้งให้เจ้าหญิงลีลีโอกาลานีเป็นเจ้าฟ้าหญิงมกุฎราชกุมารีรัชทายาทสืบพระราชบัลลังก์ในปีพ.ศ. 2420[7]: 50 เนื่องจากฮาวายไม่ได้เป็นอานาณิคมของประเทศในยุโรปจึงไม่ต้องให้พระมหากษัตริย์ยุโรปแต่งตั้งหรือรอรับการอนุมัติจากสภานิติบัญญัติ
ในเดือนเมษายนปีพ.ศ. 2430 พระองค์ได้เป็นผู้แทนพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมพระราชพิธีกาญจนาภิเษกในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียที่กรุงลอนดอน ระหว่างการเดินทางพระองค์ได้ทรงทราบข่าวพระเจ้าคาลาคาอัวถูกบังคับให้สละราชบัลลังก์ และเสด็จสวรรคต พระองค์จึงยกเลิกการเดินทางและเสด็จพระราชดำเนินกลับฮาวาย[8]
รัชกาล
[แก้]เจ้าหญิงลีลีโอกาลานีได้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าคาลาคาอัวพระเชษฐาของพระองค์ เมื่อวันที่29 มกราคม พ.ศ. 2434[9] ไม่นานหลังจากนั้นพระองค์ก็เริ่มมีบทบาททางการเมืองมากขึ้น พระองค์เริ่มปฏิรูปฮาวาย คณะรัฐมนตรีทั้งหมดสนับสนุนพระองค์[10] พระองค์ได้ปรับแก้รัฐธรรมนูญเพื่อที่จะยับยั้งชาวอเมริกันและคืนอำนาจให้ชาวเอเชียและชาวพื้นเมือง[11] ความพยายามร่างรัฐธรรมนูญใหม่ไม่เคยบรรลุผลมาก่อนในช่วงเวลาก่อนการล้มล้างราชอาณาจักรฮาวายโดยสหรัฐอเมริกา
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยพระราชินีถูกต่อต้านโดยนักธุรกิจชาวอเมริกันและชาวยุโรป ประชาชนเริ่มประท้วงและขับไล่พระราชินี โดยเสนอว่าพระราชินีควรจะ"สละราชสมบัติอย่างแท้จริง" ประชาชนไม่สนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เนื่องด้วยผลประโยชน์ทางธุรกิจในราชอาณาจักรที่ได้รับยังไม่น่าพึงพอใจเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขามองว่าเป็น "การดูแลกำกับกิจการที่ดี" ราชอาณาจักรทำก็เช่นเดียวกับการจัดการเก็บภาษีศุลกากรต่างประเทศของสหรัฐในการค้าน้ำตาล ทำให้ฮาวายเสียเปรียบดุลการค้าและมีมูลค่าภาษีติดลบจาก สนธิสัญญาร่วมกันในปี 1875 ชาวอเมริกันและยุโรปพยายามหาผลประโยชน์จากการค้าน้ำตาลในฮาวายเข้าสู่สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้เหล่านักธุรกิจยังแสดงถึงความกังวลในการปกครองของประมุขแห่งรัฐหญิง[12]
การล้มล้างราชอาณาจักรฮาวาย
[แก้]ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2436 ชาวยุโรปและอเมริกันส่วนหนึ่งภายใต้ชื่อคณะกรรมการรักษาความปลอดภัย ได้มีความพยายามจะล้มล้างราชอาณาจักรฮาวาย ขับไล่ราชินี และผนวกฮาวายเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่าคณะกรรมการรักษาความปลอดภัยมีความกังวลในความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของพลเมืองอเมริกัน ในบ่ายวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2436 กองกำลังนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกาและกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้บุกยึดกรุงโฮโนลูลู ทำให้พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ไม่มีโอกาสได้ป้องกันตัว[13]
สมเด็จพระราชินีถูกปลดเมื่อ 17 มกราคม พ.ศ. 2436 และพระราชบัลลังก์ถูกปล่อยให้ว่างอยู่ชั่วคราว[14] โดยพระองค์หวังว่าสหรัฐอเมริกาจะยอมรับอำนาจอธิปไตยของฮาวายโดยชอบธรรม
สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีทรงยอมทำตามรัฐบาลเฉพาะกาลของฮาวายซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐบาลสหรัฐ
ข้าพเจ้า สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานี โดยพระหรรษทานของพระเจ้าและภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรฮาวาย ข้าพเจ้าจะไม่ประท้วงต่อต้านใด ๆ และการกระทำทั้งหมดที่ทำกับตัวเองและรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรฮาวายโดยคนบางคนที่อ้างว่ามีการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลของและราชอาณาจักรนี้ ที่ข้าพเจ้ายอมจำนนต่อกองกำลังที่เหนือกว่าของสหรัฐอเมริกาซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ฯพณฯ จอห์น เอล สตีเวนส์ ได้นำกองกำลังสหรัฐเข้ายึดโฮโนลูลูและประกาศว่าเขาจะสนับสนุนรัฐบาลเฉพาะกาล ตอนนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกันของกองกำลังติดอาวุธใด ๆ และบางทีอาจจะเป็นความสูญเสียของชีวิตที่ข้าพเจ้าทำภายใต้การประท้วงนี้และผลักดันโดยกล่าวว่ากองกำลังของอัตราผลตอบแทนผู้มีอำนาจของฉันจนกว่าจะถึงเวลาเช่นรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาจะต้องอยู่บนข้อเท็จจริงที่ถูกนำเสนอไป ยกเลิกการกระทำของตัวแทนและสิทธิของข้าพเจ้าในอำนาจที่ข้าพเจ้าจะเรียกร้องรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจอธิปไตยของหมู่เกาะฮาวาย
— สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานี 17 มกราคม พ.ศ. 2436[15]
รัฐบาลเฉพาะกาลซึ่งประกอบไปด้วยนักธุรกิจชาวยุโรปและอเมริกา ก็ได้ประสบความสำเร็จในการรวมฮาวายเข้ากับสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศว่าฮาวายเป็นดินแดนในอารักขาของสหรัฐอเมริกา
การสละราชสมบัติอย่างเป็นทางการ
[แก้]สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานี ทรงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2438 พระองค์ถูกตัดสินให้จำคุก 5 ปี ทำงานหนัก และปรับ 5,000 ดอลลาร์ โดยพระองค์ถูกขังในพระราชวังโอลานิ
ผู้สนับสนุนพระองค์ถูกตัดสินจำคุกทั้งหมด รวมทั้งรัฐมนตรีโจเซฟ นาวาฮี เจ้าชายคาวานานาโคอา โรเบิร์ต วิลค็อก และเจ้าชายโจนาห์ คูฮิโอ
ก่อนที่จะขึ้นครองบัลลังก์สิบสี่ปีหรือนับตั้งแต่วันที่ข้าพเจ้าได้รับการประกาศให้เป็นองค์รัชทายาทอย่างเป็นทางการ นามของข้าพเจ้ามีเพียงลีลีโอกาลานี ดังนั้นข้าพเจ้าจึงประกาศเป็นทั้งพระวรราชกุมารีและสมเด็จพระราชินี ดังนั้นมันจึงถูกบันทึกไว้ในจดหมายเหตุของรัฐบาลไปในวันนี้ รัฐบาลเฉพาะกาลหรืออื่น ๆ ได้ตราการเปลี่ยนแปลงใดในนามของข้าพเจ้า ทั้งหมดการกระทำอย่างเป็นทางการเช่นเดียวกับจดหมายส่วนตัวของข้าพเจ้าถูกออกวางจำหน่ายในลายเซ็นของ ลีลีโอกาลานี แต่เมื่อผู้คุมของข้าพเจ้าต้องการให้ข้าพเจ้าลงนาม ("ลีลีโอกาลานี โดมินิส") ข้าพเจ้าก็ทำตามที่พวกเขาได้รับคำสั่ง แรงจูงใจในเรื่องนี้เช่นเดียวกับในการดำเนินการอื่น ๆ ของพวกเขาแสดงออกอย่างชัดเจนว่าต้องการทำลายชื่อเสียงของข้าพเจ้าก่อนที่คนของข้าพเจ้าและก่อนที่โลกจะรู้ ข้าพเจ้าเห็นในช่วงเวลาที่สิ่งที่พวกเขาไม่ได้ว่าแม้จะถูกฉันไม่ปฏิบัติตามภายใต้การข่มขู่ที่รุนแรงที่สุดและเข้มงวดตามความต้องการของพวกเขา ข้าพเจ้าไม่มีและไม่เคยได้อยู่ในช่วงของความรู้ของบุคคลใดเช่น ลีลีโอกาลานี โดมินิส
— สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานี, "เรื่องราวของฮาวายโดยพระราชินีฮาวาย"[16]
พระองค์ทรงถูกกักบริเวณในที่พักเป็นเวลาหนึ่งปี และในปีพ.ศ. 2439 สาธารณรัฐฮาวายก็คืนสิทธิการเป็นพลเมืองแก่พระองค์[17]
สวรรคต
[แก้]หลังจากพ้นโทษ พระองค์ก็ทรงอาศัยอยู่ที่พระราชวังวอชิงตันจนกระทั่งเสด็จสวรรคตในเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดสมอง พระบรมศพของพระองค์ได้รับการจัดพิธีฝังอย่างสมพระเกียรติในฐานะอดีตประมุขแห่งรัฐ
พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ถูกบริจาคให้ "กองทุนสมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีเพื่อเด็กกำพร้าและยากจน" ซึ่งกองทุนสมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานียังคงมีอยู่ในปัจจุบัน
พระราชพงศาวลี
[แก้]16. คาเมเออิอาโมกู | ||||||||||||||||
8. เคปูคาลานี่ | ||||||||||||||||
17. คามาคาเอเฮอิคูลี | ||||||||||||||||
4. คามานาวาที่ 2 | ||||||||||||||||
18. คาลานินูอิอามามาโอ | ||||||||||||||||
9. อลาปาอิวาฮิเน | ||||||||||||||||
19. คาโอลานิอาลิอิ | ||||||||||||||||
2. คาเอซาร์ คาปาเคอา | ||||||||||||||||
20. คาลิโลอาโมกู | ||||||||||||||||
10. คาเนปาวาเล | ||||||||||||||||
21. คาฮูนา | ||||||||||||||||
5. คาโมคูอิคิ | ||||||||||||||||
22. อาฮูนูลาคาโลเว | ||||||||||||||||
11. อูอาอูอา | ||||||||||||||||
23. คาลิโออาโมคู | ||||||||||||||||
1. สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย | ||||||||||||||||
24. คาเมเออิอาโมกู | ||||||||||||||||
12. เคปูคาลานี่ | ||||||||||||||||
25. คามาคาเอเฮอิคูลี | ||||||||||||||||
6. อาอิคานาคา | ||||||||||||||||
26. เคอาวา อา เฮอูลู | ||||||||||||||||
13. เคโอโฮฮิวา | ||||||||||||||||
27. อูลูลานี่ | ||||||||||||||||
3. อานาเลอา เคโอโฮคาโลเล | ||||||||||||||||
28. คาโออิโออา | ||||||||||||||||
14. มาลาเออากินี่ | ||||||||||||||||
29. เคโคฮิโมกู | ||||||||||||||||
7. คามาเอโอคาลานี่ | ||||||||||||||||
30. คาโอ | ||||||||||||||||
15. คาอูฮิโนคาคา | ||||||||||||||||
31. อาวิลี | ||||||||||||||||
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Hawaiian Dictionaries Hawaiian Electronic Library, en:University of Hawaii Press Retrieved November 10, 2010
- ↑ Hawaiian Dictionaries Hawaiian Electronic Library, en:University of Hawaii Press Retrieved November 10, 2010
- ↑ Hawaiian Dictionaries Hawaiian Electronic Library, en:University of Hawaii Press Retrieved November 10, 2010
- ↑ Hawaiian Dictionaries Hawaiian Electronic Library, en:University of Hawaii Press Retrieved November 10, 2010
- ↑ "Queen Lili'uokalani and her Music — Part 1". Historical Collections of The Hawaiian Islands. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-19. สืบค้นเมื่อ 2013-04-12.
- ↑ Darlene E. Kelley (July 8, 2008). "Queen Lili'uokalani and Her Hanai (adopted ) Children". Keepers of the Culture: A study in time of the Hawaiian Islands As told by the ancients. สืบค้นเมื่อ 2012-04-06.
- ↑ 7.0 7.1 Queen Liliʻuokalani (July 25, 2007) [1898]. Hawaii's Story by Hawaii's Queen, Liliuokalani. Lothrop, Lee and Shepard, reprinted by Kessinger Publishing. ISBN 978-0-548-22265-2.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Potter, Norris W; Kasdon, Lawrence M; Rayson, Ann, History of the Hawaiian Kingdom.
- ↑ Kuykendall 1967, p. 474.
- ↑ The Bayonet Constitution was named because it had been signed by the previous monarch under threat of violence from a militia composed of armed American and Europeans calling themselves the "Honolulu Rifles".
- ↑ Daws, G (1974), Shoal of Time: A History of the Hawaiian Islands, Honolulu: University of Hawaii Press, p. 271.
- ↑ Liliuokalani 1898.
- ↑ Russ, William Adam (1992). The Hawaiian Revolution (1893–94). Associated University Presses. ISBN 0-945636-43-1.
- ↑ Dougherty, Michael. "To Steal A Kingdom".
- ↑ "Nu'uanu, O'ahu — Lili'uokalani's Abdication". Pacific Worlds. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-21. สืบค้นเมื่อ 2013-04-12.
- ↑ Liliuokalani 1898, p. 275.
- ↑ Liliuokalani 1898, p. 262.
บรรณานุกรม
[แก้]- Kuykendall, RS (1967), The Hawaiian Kingdom, 1874–1893, Honolulu: University of Hawaii Press.
- Liliuokalani (1898), Hawaii's Story by Hawaii's Queen, Boston: Lothrop, Lee & Shepard, สืบค้นเมื่อ 2009-01-03.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Queen Lydia Liliʻuokalani, University of Illinois at Chicago.
- Public Law 103-150, also known as "The Apology Bill", Pixi, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-20, สืบค้นเมื่อ 2013-04-12.
- The Overthrow of the Monarchy, Hawaii nation.
- Her Majesty Queen Liliuokalani The Constitutional Queen of The Nation of Hawaii 1891–1893, Free Hawaii, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-13, สืบค้นเมื่อ 2013-04-12.
- "Queen Lili'uokalani", The Honolulu Advertiser, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-10, สืบค้นเมื่อ 2013-04-12
- Lili`uokalani (Lydia Kamaka'eha Paki, 1838–1917), Hawaii Music Museum.
- Liliuokalani Woman who changed the world, EB.
- Hawaiian ex-Queen Liliʻuokalani Comes to Washington, Ghosts of DC, 2012-02-02.
- The American Experience: Hawaii's Last Queen (PBS documentary film), IMDb.
- วิดีโอ ที่ยูทูบ
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าคาลาคาอัวแห่งฮาวาย | สมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรฮาวาย (29 มกราคม พ.ศ. 2434 - 17 มกราคม พ.ศ. 2436) |
ล้มล้างระบอบกษัตริย์ ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา | ||
พระเจ้าคาลาคาอัวแห่งฮาวาย | ประมุขแห่งรัฐฮาวาย (29 มกราคม พ.ศ. 2434 - 17 มกราคม พ.ศ. 2436) |
แซนฟอร์ด บี ดอล ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฮาวาย | ||
ไม่มี | ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ราชอาณาจักรฮาวาย (17 มกราคม พ.ศ. 2436 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460) |
เดวิด คาลาคาอัว คาวานานาโคอา |