จอห์น โอเวน โดมินิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอห์น โอเวน โดมินิส

จอห์น โอเวน โดมินิส
เจ้าชายพระราชสวามีแห่งฮาวาย
รัชสมัย29 มกราคม ค.ศ. 1891 - 27 สิงหาคม ค.ศ. 1891
ประสูติ10 มีนาคม ค.ศ. 1832
สวรรคต27 สิงหาคม ค.ศ. 1891 (พระชนมายุ 59 พรรษา)
พระอัครมเหสีสมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย
พระราชบุตรจอห์น อาอิโมกู โดมินิส
พระราชบิดาจอห์น โดมินิส
พระราชมารดาแมรี่ โจนส์ โดมินิส
ลายพระอภิไธย

เจ้าชายจอห์น โอเวนแห่งฮาวาย พระราชสวามี หรือพระนามเดิม จอห์น โอเวน โดมินิส (อังกฤษ: John Owen Dominis) ทรงเป็นเจ้าชายพระราชสวามีแห่งราชอาณาจักรฮาวาย พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย พระองค์ทรงพ้นจากตำแหน่งเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีถูกโค่นล้มราชบัลลังก์โดยคณะกรรมาธิการรักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นกลุ่มที่จัดขึ้นโดยนักธุรกิจชาวอเมริกันและชาวยุโรปที่พยายามจะแสวงหาผลกำไรจากราชอาณาจักรฮาวาย

พระราชประวัติ[แก้]

กัปตันจอห์น โดมินิส พระราชบิดา

เจ้าชายจอห์น โอเวน โดมินิส แห่งฮาวาย พระราชสวามี มีพระนามเดิมว่าจอห์น โอเวน โดมินิส เสด็จพระราชสมภพเมื่อ 10 มีนาคม ค.ศ. 1832 ทรงเป็นโอรสของ จอห์น โดมินิส กับ แมรี่ โจนส์ โดมินิส บิดาของพระองค์เป็นชาวอิตาลี ซึ่งย้ายจากตรีเยสเตเมื่อปีค.ศ. 1819 ในช่วงสงครามนโปเลียน แม้จะมีหลักฐานว่าเขาเป็นชาวอิตาลี แต่ก็มีการสันนิษฐานว่าเขาอาจมาจากตระกูลขุนนางโครเอเชีย[1] เขาประกอบอาชีพเป็นกัปตันเรือ และได้ล่องเรือมาถึงอเมริกา และได้พบกับ แมรี่ แลมเบิร์ต โจนส์ ลูกสาวของ โอเวน โจนส์ กับ อลิซาเบธ แลมเบิร์ต ทั้งสองแต่งานกันในวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1821 และมีลูกสาวด้วยกันสองคนชื่อ แมรี่ อลิซาเบธ โดมินิส และ ฟรานเซส แอน โดมินิส ต่อมาพวกเขาย้ายไปอยู่สเกอเนคเทอดี รัฐนิวยอร์ก ทั้งสองจึงได้ประสูติพระองค์

ต่อมาในปีค.ศ. 1837 กัปตันจอห์น โดมินิส พร้อมด้วยภรรยาและลูกชายได้ย้ายจากนิวยอร์กไปอยู่โฮโนลูลู พระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 3ทรงพระราชทานที่ดินให้พวกเขาจำนวนหนึ่ง กัปตันตั้งถิ่นฐานและทำงานกับกงสุลอังกฤษชื่อริชาร์ด ชาร์ลตัน เขายังคงตั้งหน้าทำงานเก็บเงินเพื่อสร้างบ้านหลังใหญ่ ต่อมาเขาเดินทางไปประเทศจีนเพื่อซื้ออุปกรณ์ตกแต่งบ้านที่กำลังจะเสร็จสมบูรณ์ แต่เรือกลับสูญหายระหว่างการเดินทาง ทำให้แมรี่ มารดาของพระองค์เป็นหม้าย[2]

ต่อมาเมื่อพระองค์โตเป็นหนุ่ม พระองค์จึงได้ไปทำงานเป็นช่างที่โรงเรียนหลวง ซึ่งเป็นโรงเรียนสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนาง บ่อยครั้งที่พระองค์ไปแอบดูเจ้าชายและเจ้าหญิงที่ทรงศึกษาอยู่ในโรงเรียน ทำให้พระองค์เริ่มสนิทและกลายเป็นเพื่อนกับเหล่าเจ้าชายและเจ้าหญิง[3]: 24 

อภิเษกสมรส[แก้]

พระองค์ได้พบรักกับเจ้าหญิงลิเดีย คามาเอฮา ปากี และได้ทรงอภิเษกสมรสกันในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1862 แต่ความเป็นจริงแล้วเจ้าหญิงลิเดียจะต้องอภิเษกสมรกับเจ้าชายอัลเบิร์ต พระโอรสในพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 4[4] แต่เจ้าชายอัลเบิร์ตสิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์จึงได้อภิเษกสมรสกัน แต่การอภิเษกสมรสของทั้งสองพระองค์นั้นไม่ค่อยมีความสุขนัก เนื่องจากเจ้าหญิงไม่ทรงมีรัชทายาท และแมรี่ มารดาในพระสวามีก็ไม่พอใจในตัวเจ้าหญิง แต่สุดท้ายแมรี่ก็ยอมรับในตัวเจ้าหญิง[5]

เมื่อทั้งสองพระองค์อภิเษกสมรสกัน ความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 5ก็ก้าวหน้าขึ้นมาก พระองค์ได้เป็นขุนนางในราชสำนักฮาวาย และได้รับการแห่งตั้งจากพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 5 ให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ มากมาย และได้ดำรงตำแหน่งสูงสุดคือผู้บัญชาการทหาร[6]

เจ้าชายพระราชสวามี[แก้]

แมรี่ โดมินิส เสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 เมษายน 1889 บ้านวอชิงตันจึงตกเป็นของพระองค์ ต่อมาเจ้าฟ้าหญิงลีลีโอกาลานี ได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย ต่อจากพระเจ้าคาลาคาอัวแห่งฮาวายพระเชษฐา ซึ่งสวรรคตเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1891 ทำให้จอห์น โอเวน โดมินิส ได้รับการสถาปนาเป็น "เจ้าชายจอห์น โอเวน โดมินิส แห่งฮาวาย พระราชสวามี"

สวรรคต[แก้]

หลังจากทรงได้ดำรงพระราชอิสริยยศเป็น เจ้าชายพระราชสวามี ยังไม่ถึงหนึ่งปีพระองค์ก็เสด็จสวรรคต พระองค์สวรรคตเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 1891 ที่บ้านวอชิงตัน พระบรมศพของพระองค์ได้รับการฝังในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1891[7] ที่สุสานพระราชวงศ์

พระราชโอรส[แก้]

เจ้าชายจอห์น มีพระราชโอรสองค์หนึ่งชื่อ จอห์น อาอิโมกู โดมินิส ซึงทรงมีกับ แมรี่ เพอร์ดี้ ลามิกิ อาอิโมกู คนรับใช้ในสมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานี สมเด็จพระราชินีนาถทรงยอมรับความไม่ซื่อสัตย์ของพระองค์ และยอมรับ จอห์น อาอิโมกู โดมินิส เป็นพระราชโอรสบุญธรรมต่อมาจอห์น แต่งงานกับซีบิล แมคอินเนอร์นี่ และมีลูกหลานสืบตระกูลต่อมา[8] พวกเขาอาศัยอยู่ที่พระราชวังวอชิงตันร่วมกับพระราชินี จนกระทั่งสมเด็จพระราชินีนาถเสด็จสวรรคตในวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917[9]

พระฉายาลักษณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Ante Kovacevic (1976). "On the Descent of John Owen Dominis, Prince Consort of Queen Liliuokalani". Hawaiian Journal of History. Hawaiian Historical Society, Honolulu. 10.
  2. Robert M. Fox and Dorothy Riconda (September 22, 1972). "Washington Place nomination form" (PDF). National Register of Historic Places. National Park Service. สืบค้นเมื่อ 2009-10-06.
  3. Liliuokalani (Queen of Hawaii) (1898). Hawaii's story by Hawaii's queen, Liliuokalani. Lee and Shepard, reprinted by Kessinger Publishing, LLC (July 25, 2007). ISBN 978-0-548-22265-2.
  4. "Oahu Marriages 1832-1910". Hawaii State Archives. p. 51. สืบค้นเมื่อ 2009-10-06.
  5. "Hawaii's Last Queen — Transcript". American Experience. WGBH-TV Public Broadcasting System. สืบค้นเมื่อ 2009-12-21.
  6. "Dominis, John Owen office record". official archives. State of Hawaii. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2009-10-06.
  7. David W. Forbes, บ.ก. (2003). Hawaiian national bibliography, 1780-1900. Vol. 4. University of Hawaii Press. p. 393. ISBN 0-8248-2636-1.
  8. "Oahu Marriages 1911-1929". Hawaii State Archives. สืบค้นเมื่อ 2009-10-06.
  9. Helena G. Allen (1982). The betrayal of Liliuokalani, last Queen of Hawaii, 1838-1917. A.H. Clark Co. ISBN 978-0-935180-89-3.