ข้ามไปเนื้อหา

ษูลกิฟล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ษูลกิฟล์ / ซุลกิฟลี
ذُو ٱلْكِفْل
เอเสเคียล
ชื่อษูลกิฟล์ในอักษรวิจิตรอิสลาม
ชื่ออื่นฮิซกีล(โต้แย้ง)
บิชร์ อิบน์ อัยยูบ (بشر بن أيوب)(โต้แย้ง)
ยูชะอ์(โต้แย้ง)
อิสยาห์(โต้แย้ง)
โอบาดีห์(โต้แย้ง)
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนอัรมียา
ผู้สืบตำแหน่งดานียาล

ษูลกิฟล์ (อาหรับ: ذُو ٱلْكِفْل, แปลตรงตัว'เจ้าของกิฟล์') เป็นศาสดาในศาสนาอิสลาม ถึงแม้ว่าไม่มีใครทราบตัวตนของเขา ก็มีการตั้งทฤษฎีและระบุตัวตนตามศาสดาและบุคคลอื่น ๆ ในคัมภีร์ฮีบรู โดยทั่วไประบุเป็นเอเสเคียลและพระโคตมพุทธเจ้า[1][2][3][4] เชื่อกันว่า ษูลกิฟล์เป็นผู้ที่ได้รับการสรรเสริญจากอัลลอฮ์และถูกบันทึกในอัลกุรอานว่าเป็นชายที่อยู่ใน"หมู่ผู้ดีเลิศ"[5] ถึงแม้ว่าจะไม่มีข้อมูลษูลกิฟล์ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ ผลงานจากผู้อธิบายยุคคลาสสิกอย่างอิบน์ อิสฮากกับอิบน์ กะษีร กล่าวถึงษูลกิฟล์ว่าเป็นศาสดาที่ยึดมั่นในการละหมาดกับการสักการะพระเจ้าองค์เดียว[6]

มีคนเชื่อว่าสุสานบนเนินเขาที่มีชื่อว่า Makam Dağı ในแอร์กานี จังหวัดดียาร์บาคือร์ ประเทศตุรกี เป็นที่ฝังศพของศาสดาษูลกิฟล์ ซึ่งอยู่ห่างจากใจกลางเมือง 5 กิโลเมตร[7][8]

ในอัลกุรอาน

[แก้]

มีการกล่าวถึงษูลกิฟล์ในอัลกุรอานสองครั้ง ตามโองการนี้:

และจงรำลึกถึงเรื่องราวของอิสมาอีลและอิดรีส และซุลกิฟลิ แต่ละคนอยุ่ในหมู่ผู้อดทนสันนติ
และเราได้ให้พวกเขาเข้าอยู่ในความเมตตาของเรา แท้จริงพวกเขาอยู่ในหมู่คนดีมีคุณธรรม

— กุรอาน ซูเราะฮ์อัลอันบิยาอ์ (21), อายะฮ์ 85–86[9]

และจงรำลึกถึงอิสมาอีล และอัลยะสะอ์ และซัลกิฟลิ และทุกคนอยู่ในหมู่ผู้ดีเลิศ

— กุรอาน ซูเราะฮ์ศอด (38), อายะฮ์ 48[10]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ชื่อษูลกิฟล์มีความหมายตรงตัวว่า "เจ้าของสอง" โดย ذُو ษู ("เจ้าของ") นำหน้าลักษณะเฉพาะที่เกี่ยวข้องกัน[11] ตัวอย่างชื่อบุคคลสำคัญในอัลกุรอาน ได้แก่ ษูลก็อลนัยน์ (อาหรับ: ذُو ٱلْقَرْنَيْن, แปลตรงตัว'เขาผู้มีสองเขา/เขาผู้มีสองเวลา') และษูนนูน (อาหรับ: ذُو ٱلْنُّون, แปลตรงตัว'เจ้าของปลา') ซึ่งสื่อถึงยูนุส. ส่วนกิฟล์ เป็นศัพท์ภาษาอาหรับสมัยก่อนที่หมายถึง "สอง" หรือ "ซ้ำ" จากรากที่หมายถึง "เพื่อทำเป็นสอง" หรือ "เพื่อพับ" ชื่อนี้โดยทั่วไปเข้าใจว่าหมายถึง "ผู้ที่มีส่วนคู่" นักวิชาการบางส่วนกล่าวแนะว่าชื่อนี้หมายถึง "ชายผู้มีการตอบแทนทั้งสอง" หรือ "ชายผู้ได้รับตอบแทนสองครั้ง"[12] ซึ่งเป็นตำแหน่งของโยบ เพราะครอบครัวของเขาเดินทางกลับมาหาเขาตามคัมภีร์อัลกุรอานและหนังสือโยบ[13]

รายงานจากมุมมองหนึ่ง คำนี้มีความหมายว่า “ชายจากกิฟล์“ และคำว่ากิฟล์การคำที่สะกดตามภาษาอาหรับของคำว่ากบิลพัสดุ์[14]

ตัวตน

[แก้]

ฮิซกีล (เอเสเคียล)

[แก้]

บางคนมีความเห็นว่า นบีซูลกิฟล์ อาจเป็นนบีฮิซกีล (เอเสเคียล) เมื่อการเนรเทศ ราชาธิปไตย และรัฐถูกทำลายลง ชีวิตทางการเมืองและชาติก็ไม่สามารถทำได้อีกต่อไป เพื่อให้สอดคล้องกับสองส่วนของหนังสือของท่าน บุคลิกภาพและการเทศนาของท่านเหมือนกันสองเท่า และชื่อ ษูลกิฟล์ หมายถึง "หนึ่งสองเท่า" หรือ "พับ"

อับดุลลอฮ์ ยูซุฟ อะลี ในคำอธิบายอัลกุรอานของเขากล่าวว่า:

ษูลกิฟล์ มีความหมายตามตัวอักษรว่า "ผู้ครอบครอง หรือผู้ให้ การตอบแทนสองเท่าหรือส่วน"; หรือ "ผู้ที่ใช้เสื้อคลุมหนาสองเท่า" ซึ่งเป็นหนึ่งในความหมายของกิฟล์ นักตัฟซีรมีความเห็นแตกต่างกันไปว่าใครหมายถึงเหตุใดจึงใช้ชื่อนี้กับท่าน ผมคิดว่าคำแนะนำที่ดีที่สุดคือข้อเสนอของคาร์สเตน ไนเบอร์ ใน Reisebeschreibung nach Arabien , Copenhagen, 1778, ii 264–266 ตามที่อ้างถึงใน Encyclopaedia of Islam ภายใต้ษูลกิฟล์ ท่านไปเยี่ยมมัชฮัด 'ทั้งหมดในอิรัก และเมืองเล็กๆ ที่ชื่อว่า อัลกิฟล์ ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างนะญัฟและอัลฮิลลาฮ์ (บาบิโลน) เขากล่าวว่า กิฟลิเป็นรูปแบบภาษาอาหรับของฮิซกีล วิหารของฮิซกีลอยู่ที่นั่น และพวกยิวเดินทางมาแสวงบุญ ที่นั่น หากเรายอมรับว่า "ษูลกิฟล์" ไม่ใช่ฉายา แต่เป็นรูปแบบภาษาอาหรับของ "ฮิซกีล" มันเหมาะกับบริบท ฮิซกีลเป็นนบีในอิสราเอลที่ถูกเนบูคัดเนสซาร์พาตัวไปบาบิโลนหลังจากโจมตีเยรูซาเล็มครั้งที่สอง (ประมาณ 599 ก่อนคริสต์ศักราช) หนังสือของท่านรวมอยู่ในพระคัมภีร์ภาษาอังกฤษ (พันธสัญญาเดิม)[15] ท่านถูกล่ามโซ่และถูกคุมขัง ท่านเป็นใบ้อยู่ช่วงหนึ่ง ท่านทนทุกอย่างด้วยความอดทนและมั่นคง และยังคงตำหนิความชั่วร้ายในอิสราเอลอย่างกล้าหาญ ในสาส์นอันรุนแรง ท่านประณามผู้นำจอมปลอมด้วยคำพูดที่เป็นความจริงชั่วนิรันดร์: "วิบัติแก่คนเลี้ยงแกะของอิสราเอลที่เลี้ยงตัวเอง! คนเลี้ยงแกะไม่ควรให้อาหารฝูงแกะหรือ? เจ้ากินไขมัน เจ้าเอาขนแกะห่ม เจ้าฆ่าสัตว์ที่เป็นอาหาร แต่เจ้าไม่ให้อาหารฝูงสัตว์ เจ้าป่วยไม่แข็งแรง เจ้าไม่รักษาสิ่งที่ป่วย และเจ้าไม่พันสิ่งที่หัก ......"[16]

อัลกิฟล์ (อาหรับ: الكفل; ul-Kifl) เป็นเมืองทางตะวันออกเฉียงใต้ของอิรักบนแม่น้ำยูเฟรทีส ระหว่าง นะญัฟ และ อัลฮิลลาฮ์ ชื่อที่แตกต่างกันสำหรับมะกอมภายในอัลกิฟล์ ได้แก่: มะกอมษูลกิฟล์, มัรก็อดษูลกิฟล์, กุบบาตษูลกิฟล์, ก็อบรันนะบีษูลกิฟล์, มะกอมซูลกิฟล์, มะกอมซุลกิฟลิ, ก็อบร์ฮัซกีล, มะกอมฮัซกีลฮัซกีล เป็นคำทับศัพท์ภาษาอาหรับของภาษาฮีบรู เฮสเคล ซึ่งส่วนใหญ่ใช้โดย ชาวยิวเซฟาร์ดี หลังจากที่พวกเขารับเอาภาษาอาหรับ สิ่งนี้บ่งชี้ว่าชาวยิวถือเอาฮิซกีลและษูลกิฟล์ และบรรดานักตัฟซีรชาวมุสลิมก็ปฏิบัติตาม ทางการอิรักยืนยันว่าในปี ค.ศ. 1316 (ฮิจญ์เราะฮ์ 715–16) สุลต่านอุลไจตูอิลคานิดได้รับสิทธิ์ในการดูแลสุสานจากชุมชนชาวยิว ด้วยเหตุนี้ ศาลเจ้าจึงถูกเปลี่ยนชื่อตามศัพท์อิสลามสำหรับนบีองค์เดียวกัน สุลต่านอุลไจตู เสริมโครงสร้างด้วยการสร้างมัสยิดและสุเหร่า นอกจากนี้ เขายังบูรณะมะกอมด้วยการปรับเปลี่ยนบางอย่างให้ชัดเจนโดยเปรียบเทียบสภาพปัจจุบันกับคำอธิบายของนักเดินทางในยุคก่อนอิลคานิด สถานที่นี้ยังคงเป็นสถานที่แสวงบุญของชาวมุสลิมจนถึงต้นศตวรรษที่ 19 เมื่อ เมนาฮิม อิบน์ ดานยาล ชาวยิวผู้มั่งคั่ง ประสบความสำเร็จในการแปลงสถานที่นี้ให้กลับมาเป็นสถานที่ของชาวยิวและบูรณะใหม่ หอคอยสุเหร่ายังคงเป็นพยานเพียงแห่งเดียวในการครอบครองสถานที่อิสลาม แม้ว่ามัสยิดและสุเหร่าจะถูกสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 14 แต่ไม่สามารถระบุความเก่าแก่ของมะกอมและหลุมฝังศพได้ [18]

บิชร์ อิบน์ อัยยูบ

[แก้]

บิชร์ อิบน์ อัยยูบ (อาหรับ: بشر بن أيوب) เป็นการระบุตัวตนของนบีษูลกิฟล์ในยุคแรกๆ โดยกล่าวกันว่า ท่านมีชื่อว่า บิชร์ หรือ บะชัร ซึ่งเป็นบุตรของนบีอัยยูบ

อัฏเฏาะบะรีย์ กล่าวว่า มีรายงานว่าท่านอยู่ในยุคเดียวกับนบี อัลยะสะอ์ (อ.) และมีรายงานอีกว่าเมื่อนบีอัลยะสะอ์ อยู่ในวัยชราเขาได้กล่าวว่าท่านควรที่จะแต่งตั้งผู้แทนไว้สักคนหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่แทนท่านดูแลผู้คน ในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่  เพื่อดูว่าท่านจะทำหน้าที่อย่างไร ? ท่านจึงได้เรียกประชาชนมาประชุมร่วมกัน แล้วกล่าวว่า ผู้ใดที่รับปากกับฉันสามประการนี้ ข้าจะแต่งตั้งท่านเป็นตัวแทนคือ

(1) เขาจะถือศีลอดในเวลากลางวัน

(2) เขาจะต้องลุกขึ้นทำอิบาดะห์ในเวลากลางคืน

(3) เขาจะต้องไม่โกรธมีชายคนหนึ่งลุกขึ้นยืน เขากล่าวฉันขอรับปาก นบีอัลยะสะอ์ (อ.) ถามว่าท่านถือศีลอดในเวลากลางวัน ลุกขึ้นทำอิบาดะฮ์ในเวลากลางคืน และท่านจะไม่โกรธหรือ ? ชายผู้นั้นรับปากว่าถูกต้องแล้ว  แต่ นบีอัลยะสะอ์ (อ.) ได้บอกให้ประชาชนกลับไปในวันนี้ โดยไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดให้เป็นตัวแทนของเขา

ในวันต่อมา นบีอัลยะสะอ์ (อ.) ได้ออกมาหาประชาชนของท่านแล้วได้กล่าวเหมือนกับที่ได้กล่าวในวันแรก ประชาชนพากันนิ่งเงียบ ชายคนนั้นได้ลุกขึ้นแล้วกล่าวว่า ข้าขอรับปาก  นบีอัลยะสะอ์จึงได้แต่งตั้งชายคนนั้นเป็นตัวแทนของท่าน

อิบลีส ได้กล่าวแก่เหล่าชัยตอนทั้งหลายว่า พวกเจ้าจงไปหลอกลวงชายคนนั้นให้ไปทำความชั่ว เหล่าชัยตอนพบกับความเหนื่อยยากที่จะลวงล่อเขาให้ไปทำความชั่ว อิบลีสจึงกล่าวแก่พวกเขาว่า ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเราที่จะไปจัดการกับเขาเอง อิบลีสได้แปลงร่างเป็นชายชราที่ยากจนและได้ไปหาเขา ขณะที่เขากำลังนอนพักผ่อนช่วงสั้นๆในเวลากลางวัน เพราะเขาจะไม่นอนทั้งกลางวันและกลางคืน ยกเว้นการนอนหลับงีบหนึ่งในช่วงกลางวันเท่านั้น

อิบลีสได้ไปเคาะประตูบ้าน ษูลกิฟล์ถามว่า ใคร ? เขาตอบว่าฉันเป็นคนชราที่ที่ถูกฉ้อโกง ษูลกิฟล์จึงลุกขึ้นไปเปิดประตู ชายชราเริ่มเล่าเรื่องความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างเขากับพรรคพวกของเขา และสิ่งที่ผู้คนได้กระทำกับเขา และวิธีการที่พรรคพวกของเขาได้ฉ้อโกงเขา และเขาได้สาธยายความอย่างยืดยาวจนเลยเวลานอนกลางวันของเขา และถึงเวลาที่นบีษูลกิฟล์จะต้องออกไปพบปะกับประชาชน  นบีษูลกิฟล์ได้กล่าวแก่ชายชราว่า ถ้าหากท่านไปร่วมประชุมกับผู้คน ฉันก็จะเอาสิทธิ์ของท่านคืนให้แก่ท่าน

ชายชราได้กลับออกไป ขณะเดียวกับที่นบีษูลกิฟล์ก็ได้ไปยังที่ประชุมของเขาโดยไม่ได้นอนงีบ ในเวลากลางวัน แต่ชายชราไม่ได้ไปยังที่ประชุมเพื่อพิจารณาคดีของเขา   จนเลิกประชุมชายชราคนนั้นก็ไม่ได้ไปยังที่ประชุม  ในวันต่อมาก็ได้จัดให้มีการประชุมขึ้นอีกเพื่อพิจารณาคดีที่ชายชราคนนั้นอ้างว่าถูกฉ้อโกง แต่เขาก็ไม่ได้ไปปรากฏตัวต่อที่ประชุมแต่อย่างใด เมื่อนบีษูลกิฟล์ กลับไปถึงบ้านพักในเวลาที่เขาเคยนอนงีบในเวลากลางวันเพื่อพักผ่อน  ชายชราคนนั้นได้มาและเคาะประตูบ้าน นบีษูลกิฟล์ถามว่า ใคร?

เขาตอบว่า เขาคือชายชราที่ถูกฉ้อโกง เขาจึงเปิดประตูต้อนรับ  นบีษูลกิฟล์จึงกล่าวว่า ฉันไม่ได้บอกท่านหรือว่าเมื่อฉันนั่งลงในที่ประชุมแล้ว ให้ท่านเข้าไปหาฉัน? ชายชราตอบว่า คนพวกนั้นเป็นคนเลว เมื่อพวกเขารู้ว่าท่านจะพิจารณาคดีนี้ พวกเขาก็จะบอกกับฉันว่า พวกเราจะคืนสิทธิ์ให้แก่ท่าน และเมื่อเลิกประชุมท่านลุกขึ้นไป พวกเขาก็จะปฏิเสธฉัน ซุ้ลกิฟลิจึงกล่าวว่า ท่านจงไปยังที่ประชุมเดี๋ยวนี้ และเมื่อฉันไปถึง  ท่านจงไปหาฉันทันที

นบีษูลกิฟล์ ไม่ได้นอนพักผ่อนในเวลากลางวัน เขารีบตรงไปยังสถานที่ประชุมทันที และคอยชายชราคนนั้น แต่ก็ไม่เห็นร่างของชายชรา  เขาง่วงนอนมาก จึงกลับไปบ้านและสั่งแก่คนในบ้านว่าห้ามผู้ใดเข้าใกล้ประตูบ้านเป็นอันขาด เพื่อจะได้นอนพักผ่อน. ขณะที่เขาล้มตัวลงนอน ชายชราคนนั้นได้มา และต้องการจะเข้าไปพบเขา แต่ถูกห้ามไม่ให้เข้าไป เขาจึงกล่าวว่า เมื่อวานนี้ฉันได้มาหาเขา และได้เล่าเรื่องราวของฉันให้เขาฟังแล้ว  พวกเขากล่าวว่า ท่านจะเข้าไปไม่ได้  ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่าพวกเราได้รับคำสั่งไม่ให้ผู้ใดเข้าใกล้ประตูเป็นอันขาด  ชายชราลุกขึ้นไปปีนกำแพง และเข้าไปในบ้าน เขาเคาะประตูบ้านจากภายใน นบีษูลกิฟล์ตื่นนอน และถามคนในบ้านว่า ฉันไม่ได้สั่งพวกท่านหรือว่าไม่ให้ผู้ใดเข้ามาหาฉัน ? พวกเขาตอบว่า พวกเราไม่เคยปล่อยผู้ใดให้เข้ามาในบ้านเลย  ท่านจงดูซิว่าเขาเข้ามาจากทางใด. นบีษูลกิฟล์ ลุกขึ้นไปที่ประตู ก็พบว่ามันถูกใส่สลักเหมือนที่เขาได้ใส่สลักมันไว้  เมื่อตอนที่เขาเข้ามา แล้วชายชราคนนี้เข้ามาในบ้านได้อย่างไร ซุ้ลกิฟลิรู้ได้ทันทีว่าชายชราคนนี้เป็นใคร เขาจึงกล่าวขึ้นว่า เจ้าคืออิบลีสศัตรูของอัลเลาะห์ใช่ไหม ? ชายชราคนนั้นตอบว่า ถูกต้องแล้ว  ท่านทำให้ฉันเหน็ดเหนื่อยมากในทุกเรื่อง ฉันจึงต้องทำทุกอย่างตามที่ท่านเห็นก็เพื่อให้ท่านโกรธ..!!

อัลลอฮ์ตั้งชื่อท่านว่า ษูลกิฟล์ เพราะเมื่อเขารับภาระเรื่องใดแล้วเขาจะต้องทำให้เสร็จสมบูรณ์[19]

คนอื่น

[แก้]

มีผู้ยกคุณลักษณะของษูลกิฟล์เข้ากับนบียูชะอ์, โอบาดีห์[20] และอิสยาห์[21][20]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Encyclopedia of Islam, G. Vajda, Dhu al-Kifl
  2. "The Prophets". Islam (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-19.
  3. "Buda'nın Peygamber Efendimizi bin yıl önceden müjdelediği doğru mudur? » Sorularla İslamiyet". Sorularla İslamiyet (ภาษาตุรกี). 2015-01-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-12-19.
  4. "Buda Peygamber mi?". Ebubekir Sifil (ภาษาตุรกี). 2006-01-30. สืบค้นเมื่อ 2020-12-19.
  5. อัลกุรอาน 38:48
  6. Stories of The Prophets, page 299
  7. İnanç ve kültür mirasının gözdesi: Hazreti Zülkifl Makamı (Turkish)ilkha. Posted 17 November 2018.
  8. İNANÇ VE KÜLTÜR MİRASININ GÖZDESİ: HAZRETİ ZÜLKİFL MAKAMI (Turkish) GuneydoguGuncel. Posted 18 November 2018.
  9. อัลกุรอาน 21:85–86
  10. อัลกุรอาน 38:48
  11. Encyclopedia of Islam, Dhu'l-Kifl
  12. John Walker takes this viewpoint in Who is Dhul-Kifl?, in MW, xvi, 399–401
  13. Job xlii: 10
  14. "The Buddha in other religions". Buddhism Guide (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-07-16.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. ดู หนังสือเอเสเคียล
  16. Ezekiel 34:2–4: "Son of man, prophesy against the shepherds of Israel; prophesy and say to them, even to the [spiritual] shepherds, Thus says the Lord God: Woe to the [spiritual] shepherds of Israel who feed themselves! Should not the shepherds feed the sheep?
    You eat the fat, you clothe yourselves with the wool, you kill the fatlings, but you do not feed the sheep.
    The diseased and weak you have not strengthened, the sick you have not healed, the hurt and crippled you have not bandaged, those gone astray you have not brought back, the lost you have not sought to find, but with force and hardhearted harshness you have ruled them."
  17. Abdullah Yusuf Ali, The Holy Qur'an: Text, Translation and Commentary, Note. 2743
  18. "Qabr Dhu'l Kifl". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-28. สืบค้นเมื่อ 2013-08-18.
  19. Tarikh al-Tabari by al-Tabari
  20. 20.0 20.1 Dr. Mustafa Khattab, The Clear Quran, 38:48 Footnote: "Scholars are in disagreement as to whether Ⱬul-Kifl was a prophet or just a righteous man. Those who maintain that he was a prophet identify him with various Biblical prophets such as Ezekiel, Isaiah, and Obadiah."
  21. Yuksel, Edip; al-Shaiban, Layth Saleh; Schulte-Nafeh, Martha (2007). Quran: A Reformist Translation. United States of America: Brainbow Press. ISBN 978-0-9796715-0-0. Recall Ishmael, Elisha, and Isaiah; all are among the best. (38:48)

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Thalabi, Ara'is al-Madjalis, Cairo edition 1371, 155
  • J. Horovitz, Koranische Untersuchungen, 113
  • Harawi, K. al-isharat ila ma'rifat al-Ziyarat, ed. J. Sourdel-Thomine, 76
  • Guide des lieux de Pelerinage, tans. J. Sourdel-Thomine, 76, Damascus 1957, 174

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]