ศารทาปีฐ
ศารทา | |
---|---|
| |
ซากของศารทาปีฐ | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
เขต | นีลุม |
ภูมิภาค | กัศมีร์ |
เทพ | พระนางสารทา |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | ศารทา |
ประเทศ | ประเทศปากีสถาน |
ดินแดน | อาฌาดจัมมูและกัศมีร์ |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 34°47′31″N 74°11′24″E / 34.79194°N 74.19000°E |
สถาปัตยกรรม | |
รูปแบบ | กัศมีร์[1][2] |
ลักษณะจำเพาะ | |
ความกว้าง | 22 ฟุต (6.7 เมตร) |
ความสูงสูงสุด | 16 ฟุต (4.9 เมตร) |
พื้นที่ทั้งหมด | 4 กานัล (0.5 เอเคอร์)[3] |
ศารทาปีฐ หรือ ศารทาบิฐ (อูรดู: شاردا پیٹھ, กัศมีร์: شاردا پیٖٹھ (แนสแทอ์ลีก), शारदा पीठ (เทวนาครี), 𑆯𑆳𑆫𑆢𑆳 𑆥𑆵𑆜 (ศารทา)) เป็นซากปรักหักพังของโบสถ์พราหมณ์และวิทยาลัยโบราณ ตั้งอยู่ในอาฌาดจัมมูและกัศมีร์ ประเทศปากีสถาน ในช่างศตวรรษที่ 6 ถึง 12 ที่นี่เคยเป็นศูนย์กลางการศึกษากึ่งเทวาลัยที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอนุทวีปอินเดีย รวมถึงมีส่วนสำคัญต่ออักษรศารทาในอินเดียเหนือ
ศารทาปีฐเป็นหนึ่งในมหาศักติปีฐ เทวสถานศักติที่มีความสำคัญ 18 แห่ง ศาสนิกชนฮินดูเชื่อว่าที่นี่เป็นที่ประดิษฐานพระหัตถ์ขวาของพระแม่สตีที่ร่วงหล่นลงมาบนโลก ศารทาปีฐเป็นหนึ่งในสามเทวสถานสำคัญที่จาริกของกัศมีรีปัณฑิต อีกสองแห่งคือมารตัณฑสูรยมนเทียร และ อมรนาถมนเทียร[4]
ศารทาปีฐตั้งอยู่ราว 150 กิโลเมตร (93 ไมล์) จากเมืองมุซัฟฟาราบาด[5] เมืองหลวงของเขตปกครองอาฌาดกัศมีร์ของปากีสถาน และ 130 กิโลเมตร (81 ไมล์) จากเมืองศรีนคร เมืองหลวงของชัมมูและกัศมีร์ของอินเดีย[6] และห่างไป 10 กิโลเมตร (6.2 ไมล์) จากเส้นพรมแดนปกครองของสองประเทศ ปีฐตั้งอยู่ราว 1,981 เมตร (6,499 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล[7] ริมแม่น้ำนีลุม ในหมู่บ้านศารทา กลางหุบเขาหรมุข[8] เขาที่ซึ่งกัศมีรีปัณฑิตเชื่อว่าเป็นวิมานของพระศิวะ[9][10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Singh, Rajesh (3 July 2017). "The Unexplored Medieval Stone Temples of Kashmir". Heritage India Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2018. สืบค้นเมื่อ 25 September 2018.
However, a few still stand in different states of preservation at places like Martand, Avantipur, Pattan, Buniar, Pandrethan and Payar, reflecting not only the remarkable temple construction activity that once existed in Kashmir but also showcasing a distinct architectural style. This style, while being inspired by foreign elements (as Kashmir is strategically located on one of the arteries of the ancient Silk-Route), also assimilated the essential features of indigenous temple architectural styles.
- ↑ Bangroo, Virender (July–September 2008). "Temple Architecture of Kashmir". Dialogue. 10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-05. สืบค้นเมื่อ 2021-06-30 – โดยทาง Astha Bharati.
- ↑ Kumar, Ramesh (16 December 1998 – 15 January 1999). "Sarada Pilgrimage - its Socio-Historicity - I" (PDF). Kashmir Sentinel. 5: 16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 September 2018.
- ↑ Kumar, Ramesh (16 December 1998 – 15 January 1999). "Sarada Pilgrimage - its Socio-Historicity - I" (PDF). Kashmir Sentinel. 5: 16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 September 2018.
- ↑ Rehman, Faiz ur (31 December 2017). "Peace & Economy beyond Faith: A Case Study of Sharda Temple". Pakistan Vision. 18 (2): 1–14 – โดยทาง academia.edu.
Located in the isolated village of Sharda in Neelum Valley in Pakistan's Kashmir,1 at a distance of around 140 Kilometers from Muzaffarabad, (the capital city) and nearly 30 km from Kupwara (a town in Indian Held Kashmir), it lies few miles from the Line of Control (LoC) in a very sensitive military zone.
- ↑ Godbole, Sanjay. "The Sharda Temple of Kashmir". Kashmiri Pandit Network / Kashmir Sentinel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 December 2018. สืบค้นเมื่อ 21 December 2018.
- ↑ YUSUF JAMEEL (16 July 2017). "Kashmiri Pandits want reopening of Sharda Peeth in PoK, plan to approach PM". Deccan Chronicle.
- ↑ Raina, Mohini Qasba (2013). Kashur: The Kashmiri Speaking People. Trafford Publishing. p. 191. ISBN 978-1490701653.
The main centre of excellence was at Sharda Peeth - an ancient seat of learning on the banks of the river Kishenganga in the valley of Mount Harmukh.
- ↑ Ashraf, Mohammad (9 May 2007). "Haramukh and Gangabal, a historical perspective". Kashmir First. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2018. สืบค้นเมื่อ 25 September 2018.
There used to be seventeen temples of various ages and dimensions here which had been built by different Kings of ancient Kashmir from time to time in honour of S’iva who according to legend, had taken residence here as Bhutesa.
- ↑ Rehman, Faiz ur (31 December 2017). "Peace & Economy beyond Faith: A Case Study of Sharda Temple". Pakistan Vision. 18 (2): 1–14 – โดยทาง academia.edu.
its water originates from Sarasvati lake which is located on the top of Narda peak, the another holy place for Hindus because it is considered to be the birth place of Shivajee
บรรณานุกรม
[แก้]- Pollock, Sheldon (2006). Language of the Gods in the World of Men. University of California Press..
- Chitkara, M.G (2002). Kashmir Shaivism: Under Siege (2002 ed.). New Delhi: A.P.H.Publishing Corporation. ISBN 8176483605. สืบค้นเมื่อ 13 August 2012.
- Pandit, Bansi. Explore Kashmiri Pandits (2008 ed.). USA: Dharma Publications. ISBN 0963479865. สืบค้นเมื่อ 13 August 2012.