วิศาล ภัทรประสิทธิ์
วิศาล ภัทรประสิทธิ์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ย่งคุน แซ่เล้า 21 ธันวาคม พ.ศ. 2474 อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร |
เสียชีวิต | 21 ตุลาคม พ.ศ. 2530 (55 ปี) |
พรรคการเมือง | พัฒนาจังหวัด |
คู่สมรส | นงลักษณ์ ภัทรประสิทธิ์ |
วิศาล ภัทรประสิทธิ์ (21 ธันวาคม พ.ศ. 2474 – 21 ตุลาคม พ.ศ. 2530) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร 2 สมัย สังกัดพรรคพัฒนาจังหวัด เป็นบิดาของประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ และวินัย ภัทรประ สิทธิ์ ได้รับการเรียกขานว่าเป็น “เจ้าพ่อโรงเหล้าภาคเหนือ”[1] เป็นมหาเศรษฐีคนหนึ่งของไทย[2]
ประวัติ
[แก้]วิศาล ชื่อเดิม ยุ่งคุน แซ่เล้า เป็นชาวจีนที่เกิด[3] และอาศัยอยู่ในตำบลหัวดง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร เคยได้รับเลือกเป็นกำนันตำบลหัวดง ต่อมาก่อนถึงการเลือกตั้งครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 นายวิศาล ได้จัดตั้งพรรคการเมืองขึ้น โดยใช้ชื่อว่า "พรรคพัฒนาจังหวัด" โดยมีนายสฤษดิ์ เพ็ญสุภา เป็นหัวหน้าพรรค เขาและวิรัตน์ ภัทรประสิทธิ์ (น้องชาย) เป็นรองหัวหน้าพรรคและนายดิเรก เพ็ญสุภา เป็นเลขาธิการพรรค[4] และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 เขาลงสมัคร ส.ส.เพียงคนเดียวของพรรคพัฒนาจังหวัด และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก หลังการเลือกตั้งมีการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคกิจสังคม โดยพรรคพัฒนาจังหวัดได้เข้าร่วมรัฐบาลด้วย และเขาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง โดยลงสมัครคู่กับ ยุพา อุดมศักดิ์ และได้รับเลือกตั้งทั้ง 2 คน แม้ว่าจะไม่ได้เข้าร่วมรัฐบาลแต่นายวิศาล ก็ได้รับหน้าที่เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์)
วิศาล สมรสกับนงลักษณ์ ภัทรประสิทธิ์ มีบุตรที่เป็นนักการเมือง คือ ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ อดีตรัฐมนตรี และวินัย ภัทรประสิทธิ์
วิศาล ภัทรประสิทธิ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2530
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ วิศาล ภัทรประสิทธิ์ “เจ้าพ่อโรงเหล้าภาคเหนือ” สู่ถนนการเมืองหลัง 14 ตุลาฯ
- ↑ ธนวัฒน์ ทรัพย์ไพบูลย์. กลยุทธ์สู่ความร่ำรวยตระกูล "มหาเศรษฐีอาเซียน" . กรุงเทพธุรกิจ
- ↑ "ตระกูลภัทรประสิทธิ์ในธนาคารเอเชียกับเข้ามาของเจริญ สิริวัฒนภักดี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-23. สืบค้นเมื่อ 2020-03-23.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 193 วันที่ 18 กันยายน 2517
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๗๖, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙