วิธีใช้:การอ่านตารางจำแนกพันธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวอย่างตารางจำแนกพันธุ์
ตัวอย่างตารางจำแนกพันธุ์

ตารางจำแนกพันธุ์ หรือ taxobox (ย่อมาจาก taxonomy infobox) เป็นตารางที่สร้างขึ้นเพื่อจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตว่าอยู่ในสายวิวัฒนาการใด สำหรับการอ่านตารางจำแนกพันธุ์นั้น ท่านสามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยากนัก อาจจะมีปัญหาอยู่บ้างเล็กน้อยตรงที่ชั้นของวิวัฒนาการ หนังสือบางเล่มอาจเขียนไม่ตรงกับที่เขียนไว้ภายในวิกิพีเดียก็ได้ เช่น ส่วน (พืช) หนังสือบางเล่มเขียนเป็น ดิวิชัน ก็ได้

สำหรับคำอธิบายเกี่ยวกับการใส่ตารางจำแนกพันธุ์ลงในบทความ และการปรับแก้ตารางจำแนกพันธุ์ ขอให้ท่านดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:การใช้ตารางจำแนกพันธุ์ สำหรับคำอธิบายการอ่านตารางจำแนกพันธุ์ มีดังนี้ (ดูภาพขวาประกอบหมายเลขที่ให้ไว้)

  1. สีกล่องข้อความ เป็นสีที่แบ่งแยกสิ่งมีชีวิตต่างๆ ตามโดเมน และ อาณาจักร โดยจำแนกสีดังนี้
  2. ชื่อสามัญไทย ชื่อสามัญอังกฤษ ชื่อวิทยาศาสตร์ เป็นชื่อที่เราใช้เรียกขานสิ่งมีชีวิตกันทั่ว ๆ ไป จะใส่ลงตรงนี้ แต่ถ้าสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ ไม่มีชื่อสามัญที่เป็นที่ยอมรับ ผู้เขียนบทความก็สามารถใช้ชื่อวิทยาศาสตร์แทนได้
  3. ภาพของสิ่งมีชีวิต อาจเป็นภาพถ่าย หรือภาพวาด เพื่อบ่งบอกลักษณะทางกายภาพ
  4. คำบรรยาย อาจจะอธิบายรายละเอียดภาพ แหล่งที่มา ชื่อผู้ถ่าย หรืออื่นๆ
  5. การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แสดงการจัดสายวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ซึ่งจะสัมพันธ์กับลักษณะของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ซึ่งประกอบด้วยชื่อชั้นการจำแนกต่างๆเช่น โดเมน อาณาจักร ไฟลัม ส่วน ชั้น ตระกูล วงศ์ สกุล สปีชีส์(ชนิด) ชนิดย่อย พันธุ์ เป็นต้น
  6. ข้อมูลทั่วไป
    • ชื่อทวินาม หรือ ชื่อไตรนาม (หรือชื่อวิทยาศาสตร์) คือชื่อที่ให้แก่สิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ เพื่อให้เข้าใจได้โดยทั่วกัน ถ้ามีสองส่วนเรียกชื่อทวินาม และถ้ามีสามส่วนก็เรียกชื่อไตรนาม และชื่อย่อนักวิทยาศาสตร์ เป็นชื่อย่อของนักวิทยาศาสตร์ผู้ตีพิมพ์ชื่อวิทยาศาสตร์นั้นเป็นครั้งแรก มักใส่ไว้ท้ายชื่อวิทยาศาสตร์ เมื่อกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในงานตีพิมพ์ต่าง ๆ โดยมีกฎเกณฑ์บางประการดังนี้
      • ใส่ชื่อสกุลเต็ม เมื่อใช้กับสัตว์ (มักใส่ปีที่ตีพิมพ์ด้วย) เช่น Panthera leo Linnaeus, 1758 ซึ่งเป็นชื่อของสิงโต
      • ใส่ชื่อสกุลย่อ เมื่อใช้กับพืช และเห็ดรา เช่น Cocos nucifera L. ซึ่งเป็นชื่อของมะพร้าว
    • สถานะการอนุรักษ์ จะแสดงไว้เฉพาะสิ่งมีชีวิตบางสปีชีส์ โดยเฉพาะในอาณาจักรสัตว์ ที่มีสถานการณ์การดำรงเผ่าพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ (โดยส่วนมากในวิกิพีเดียไทยจะไม่เขียนไว้)
  7. การกระจายและถิ่นอาศัย บางสปีชีส์ ซึ่งมีข้อมูลสำรวจเรื่องถิ่นที่อยู่ จะมีการทำแผนที่แสดงเขตถิ่นที่อยู่กำกับ
  8. นอกเหนือจากนี้ อาจมีข้อมูลอื่น ๆ เช่นชื่อพ้อง (synonym) ฯลฯ

ดูเพิ่ม[แก้]