ข้ามไปเนื้อหา

วิญญาณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิญญาณ[1] (อังกฤษ: soul; สันสกฤต: जीव) ในทางปรัชญาหมายถึงสิ่งซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสารัตถะของชีวิตมนุษย์ อาจรวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น ๆ ด้วย วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เน่าเปื่อย เป็นอมตะ[2] ศาสนาอับราฮัมเชื่อว่าเฉพาะมนุษย์เท่านั้นที่มีวิญญาณ มนุษย์จึงเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวที่ไม่ตาย (ในส่วนวิญญาณ) และอาจไปรวมกับพระเป็นเจ้าได้ ขณะที่ศาสนาอื่น ๆ บางศาสนา เช่น ศาสนาเชนเชื่อว่าไม่เฉพาะมนุษย์แต่สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตมีวิญญาณ ส่วนลัทธิวิญญาณนิยมเชื่อว่าทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต (เช่น แม่น้ำ ภูเขา) ล้วนมีวิญญาณทั้งสิ้น[3] บางลัทธิเชื่อว่าโลกก็มีวิญญาณเรียกว่าวิญญาณโลก หรืออาตมันในศาสนาฮินดู

คำว่าวิญญาณ มักมีความหมายแนวเดียวกับจิต สปิริต และตัวตน[4]

ศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าสอนว่า จิต มโน วิญญาณ คือสิ่งเดียวกัน มีสภาวะเกิดดับ

วิญญาณในศาสนาต่าง ๆ

[แก้]

ศาสนาที่มีความเชื่อเรื่องวิญญาณอมตะ เรียกวิญญาณในชื่อต่าง ๆ ดังนี้

ศาสนา วิญญาณ
ศาสนาฮินดู อาตมัน
ศาสนาเชน ชีวะ
ศาสนายูดาห์-คริสต์ เนเฟช
ศาสนาอิสลาม อัรวะฮ/โรฮานี
ลัทธิอนุตตรธรรม จิตญาณ/ธรรมญาณ

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 91
  2. "soul."Encyclopædia Britannica. 2010. Encyclopædia Britannica 2006 CD. 13 July 2010.
  3. "Soul" เก็บถาวร 2008-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Columbia Encyclopedia, Sixth Edition. 2001–07. Retrieved 12 November 2008.
  4. "Soul", Encyclopædia Britannica. 2008. Retrieved 12 November 2008.