วิญญาณ (ศาสนาพุทธ)
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
![]() |
ในศาสนาพุทธ คำว่าวิญญาณ (บาลี: viññāṇa; สันสกฤต: विज्ञान) ใช้หมายถึงพิชาน (consciousness) คือความรู้แจ้งอารมณ์[1] พระไตรปิฎกระบุว่าพระพุทธเจ้าทรงจำแนกวิญญาณออกเป็น 6 ประเภท[2] ได้แก่
- จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา คือรู้รูปด้วยตา หรือการเห็น
- โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู คือรู้เสียงด้วยหู หรือการได้ยิน
- ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก คือรู้กลิ่นด้วยจมูก หรือการได้กลิ่น
- ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น คือรู้รสด้วยลิ้น หรือการรู้รส
- กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย คือรู้โผฏฐัพพะด้วยกาย หรือการรู้สึกกายสัมผัส
- มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ คือรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ หรือการนึกคิด
6 อย่างนี้จัดว่าเป็นวิญญาณขันธ์ในขันธ์ 5
คำว่าวิญญาณยังถือเป็นคำไวพจน์ของคำว่าจิต มีความหมายเหมือนกัน ใช้แทนกันได้[3]
วิญญาณในปฏิจจสมุปบาทก็ใช้ในความหมายเช่นเดียวกับจิต คือ
เพราะมีสังขารเจตสิก ที่ปรุงแต่งให้เกิด กายสังขาร วจีสังขาร และมโนสังขาร เป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ ถ้าไม่มีเจตสิกคือสิ่งที่ถูกรู้ วิญญาณย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะไม่มีสิ่งที่ถูกรู้ให้วิญญาณได้รับรู้
และวิญญาณเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีนามรูปหรืออัตภาพให้อาศัยอยู่ ดังนั้นในทางอภิธรรมเมื่อตายแล้วสัตว์ที่มีวิญญาณย่อมต้องเกิดทันที เพราะวิญญาณจะอยู่ลอยๆโดยไม่มีนามรูปหรือขันธ์ให้อาศัยไม่ได้ จึงกล่าวว่าวิญญาณเป็นปัจจัยของนามรูป
หน้าที่ของวิญญาณ (วิญญาณกิจ)
[แก้]คัมภีร์วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆสะและคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะของพระอนุรุทธาจารย์ กล่าวว่าวิญญาณมีหน้าที่ 14 อย่าง[4][5] คือ
- ปฏิสนธิ สืบต่อภพใหม่
- ภวังคะ เป็นองค์ประกอบของภพ
- อาวัชชนะ คำนึงถึงอารมณ์ใหม่
- ทัสสนะ เห็นรูป (ตรงกับจักขุวิญญาณ)
- สวนะ ได้ยินเสียง (ตรงกับโสตวิญญาณ)
- ฆายนะ ได้กลิ่น (ตรงกับฆานวิญญาณ)
- สายนะ รู้รส (ตรงกับชิวหาวิญญาณ)
- ผุสนะ ถูกต้องโผฏฐัพพะ (ตรงกับกายวิญญาณ)
- สัมปฏิจฉนะ รับอารมณ์
- สันตีรณะ พิจารณาอารมณ์
- โวฏฐัพพนะ ตัดสินอารมณ์
- ชวนะ เสพอารมณ์
- ตทาลัมพณะ รับอารมณ์ต่อจากชวนะก่อนจะกลับสู่ภวังค์
- จุติ เคลื่อนจากภพปัจจุบันเพื่อจะไปสู่ภพหน้า
อ้างอิง
[แก้]- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548