ข้ามไปเนื้อหา

วัดเจดีย์ทอง (จังหวัดปทุมธานี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดเจดีย์ทอง
เจดีย์ทองแบบรามัญทรงระฆัง
แผนที่
ชื่อสามัญวัดเจดีย์ทอง
ที่ตั้งเลขที่ 55 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี 12160
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายธรรมยุติกนิกาย
พระพุทธรูปสำคัญหลวงพ่อขาว
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดเจดีย์ทอง เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในหมู่ที่ 1 บ้านเจดีย์ทอง ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ภายในวัดมีโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมาย เช่น เจดีย์ทองแบบรามัญ หลวงพ่อขาวปางมารวิชัย กุฏิเรือนไทยทรงปันหยา ใบเสมาศิลาพายแดงขนาดใหญ่ เจดีย์พระปรางค์ เป็นต้น

ประวัติ

[แก้]

สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวรามัญที่ได้อพยพจากพม่าจากเมืองเมาะตะมะตั้งแต่สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี แล้วได้สร้างวัดแห่งนี้ โดยมีพระยารามราชบุตรเขยพระยาเจ่ง เป็นพระเจ้ามหาโยธาเป็นผู้นำเข้ามาและเป็นผู้ริเริ่มบูรณะและสร้างถาวรวัตถุ กุฏิศาลาขึ้นใหม่ วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2508 เหตุที่ชื่อว่าวัดเจดีย์ทอง เข้าใจคงนำเอาชื่อนี้มาจากเมืองมอญซึ่งเคยเป็นสถานที่อยู่ของตนแต่เดิม[1]

อาคารเสนาสนะ

[แก้]

วัดมีเจดีย์ทองแบบรามัญทรงระฆัง รูปแบบคล้ายอานานดาพะย่าในพม่า ตั้งอยู่หน้าบริเวณวัดได้สร้างขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างวัดนี้ ยอดเจดีย์เป็นปล้องไฉน ก่อด้วยอิฐฐานรูปสี่เหลี่ยม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ด้าน ลงรักปิดทอง ประดับกระจกสี และยอดประดับด้วยฉัตร 9 ชั้น วัดมีเสมาขนาดใหญ่หินทรายแดง[2] พระยารามราชบุตรเขยพระยาเจ่งเป็นผู้ริเริ่มบูรณะและสร้างถาวรวัตถุและกุฏิศาลาขึ้นใหม่ มีกุฏิเรือนไทย กุฏิทรงปั้นหยา หอสวดมนต์ตกแต่งด้วยลวดลายและแกะสลักและลายฉลุเชิงชายช่องลม เจดีย์พระปรางค์ประดับกระเบื้องเคลือบแบบจีน[3]

ปูชนียวัตถุที่สำคัญ มีพระพุทธรูปปางมารวิชัยสร้างขึ้นด้วยหยกขาว หน้าตักกว้าง 1 ศอก สูง 2 ศอก ประดิษฐานอยู่ที่หอสวดมนต์

อ้างอิง

[แก้]
  1. "วัดเจดีย์ทอง จังหวัดปทุมธานี". กระทรวงวัฒนธรรม.[ลิงก์เสีย]
  2. "วัดเจดีย์ทอง". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
  3. "วัดเจดีย์ทอง". กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.