วัดหนองหมูใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดหนองหมูใต้
แผนที่
ชื่อสามัญวัดหนองหมูใต้ (Wat Hnong Moo Tai)
ที่ตั้งเลขที่ 74 หมู่ 2 ตำบลหนองหมู อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี 18150 โทรศัพท์: 0-3635-3192
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย (เถรวาท)
พระประธานปรางสมาธิ
เจ้าอาวาสพระวิบูลย์ธรรมขันธ์
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดหนองหมูใต้ ตั้งอยู่เลขที่ 74 บ้านหนองหมูใต้ หมู่ที่ 2 ตำบลหนองหมู อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 59 ไร่ 1 งาน 28 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 6429, 6509, 9707 [1]

ประวัติความเป็นมาวัดหนองหมูใต้[แก้]

วัดหนองหมูใต้ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2376 เดิมมีชื่อเรียกว่า วัดแก้วสุกรบวรรัศมี และ วัดแก้วสุกรราษฎร์บำรุงกิจ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อตามหมู่บ้านเป็น วัดหนองหมูใต้ พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่บนคันคลองหกวาสายบน และพอจะสันนิษฐานได้ว่า ได้จัดตั้งระหว่าง พ.ศ. 2445-2450 วัดนี้ครั้งแรกปลูกสร้างในที่ดินเพียง 4 ไร่เศษ ซึ่งนายจ้อย แซ่โค้ว เป็นผู้ถวายที่ดิน ประชาชนในท้องถิ่นได้ร่วมกันจัดสร้างกฏิเพียง 3 หลัง และอาคารอื่นๆ 2 หลัง เมื่อประมาณ พ.ศ. 2458 ได้มีผู้มีจิตศรัทธาถวายที่ดิน ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับที่ดินเดิมอีก 50 ไร่ ทางวัดเห็นว่าที่ดินเดิมไม่กว้างขวาง จึงรื้อถอนและย้ายมาปลูกสร้างในที่ดินแปลงใหม่อยู่ห่างจากเดิมประมาณ 80 เมตร และมอบที่ดินเดิมปลูกสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนวัดหนองหมูใต้ ในสมัยพระครูจันทรธรรมคุณ เป็นเจ้าอาวาส ได้สร้างอุโบสถ และนายทองต่อ ตาปนานนท์ บริจาคที่ดินสร้างอุโบสถ จำนวน 5 ไร่ โดยจัดงานวางศิลาฤฏษ์ เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2520

ในปี พ.ศ. 2523 ได้กราบบังคมทูลใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท อัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เป็นองค์ประธาน ทรงประกอบพระราชพิธียกช่อฟ้าอุโบสถ ทรงปลูกต้นโพธิ์ ต้นไทร และต้นพิกุล หน้าอุโบสถ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2523 ได้ขอพระราชทาน พระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. เพื่อพระดิษฐานหน้าบรรณอุโบสถทั้งสองด้าน และได้ประกอบพิธีอัญเชิญขึ้นประดิษฐานที่หน้าบันอุโบสถ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2522 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 41 เมตร

อาณาเขต[แก้]

อาณาเขต

  1. ทิศเหนือ จดที่ดินเอกชน และตำบลหนองสรวง
  2. ทิศใต้ จดที่ดินเอกชน และคลองหกวาสายบน
  3. ทิศตะวันออก จดที่ดินเอกชน และตำบลบ้านพริก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
  4. ทิศตะวันตก จดที่ดินเอกชน และตำบลหนองสรวง
  5. มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 300 ไร่ 7 ตารางวา โฉนดที่ดินเลที่ 5995, 5996

การบริหารและการปกครอง[แก้]

มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามมีดังนี้

  1. พระแพร พ.ศ. 2452 ถึง พ.ศ. 2462
  2. พระเอี่ยม พ.ศ. 2462 ถึง พ.ศ. 2465
  3. พระผัน พ.ศ. 2465 ถึง พ.ศ. 2471
  4. พระสังข์ พ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2475
  5. พระพ่วง พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2478
  6. พระชื้น พ.ศ. 2478 ถึง พ.ศ. 2482
  7. พระวิบูลย์คณานุสรณ์ พ.ศ. 2482 ถึง พ.ศ. 2484
  8. พระครูวรเขตพิศาล พ.ศ. 2484 ถึง พ.ศ. 2491
  9. พระวิจารย์พัฒโนวาท พ.ศ.2491 ถึง พ.ศ. 2507
  10. พระจันทรธรรมคุณ พ.ศ. 2508 ถึง พ.ศ. 2528
  11. พระวิบูลย์ธรรมขันธ์ พ.ศ. 2529 ถึง ปัจจุบัน

เสนาสนะ[แก้]

ประกอบด้วย

  1. อุโบสถ กว้าง 7.50 เมตร ยาว 25.25 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
  2. หอสวดมนต์ กว้าง 14.85 เมตร ยาว 23.04 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2513 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
  3. กุฏิสงฆ์ ด้านทิศใต้ กว้าง 5.90 เมตร ยาว 14.80 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2514 เป็นอาคารไม้ ด้านทิศเหนือ กว้าง 5.90 เมตร ยาว 14.80 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2514 เป็นอาคารไม้
  4. วิหาร กว้าง 7.30 เมตร ยาว 9.10 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2536
  5. ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
  6. อาคารมูลนิธิฯ ขนาดกว้าง 18 เมตร ยาว 24 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2529 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
  7. ซุ้มประตูวัด ขนาดกว้าง 1.55 เมตร ยาว 7.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2533

นอกจากนี้มีหอระฆัง 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2540 เมรุ ขนาดกว้าง 9.10 เมตร ยาว 16.20 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2530

ปูชณียวัตถุ[แก้]

มีพระประธานประจำอุโบสถปรางสมาธิ ปูชณียวัตถุอื่นๆ พระพุทธชินราชจำลอง ประดิษฐานในอุโบสถ 1 องค์ พระพุทธรูปประดิษฐานในอุโบสถ ขนาดหน้าตักกว้าง 3.30 ศอก 1 องค์ พระพุทธรูปประดิษฐานในวิหาร ขนาดหน้าตักกว้าง 2.74 ศอก 1 องค์

อ้างอิง[แก้]

  1. กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 หน้า 598-600, ประวัติวัดในจังหวัดสระบุรี : กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2552.