วัฒนา สิทธิวัง
วัฒนา สิทธิวัง | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง | |
ดำรงตำแหน่ง 20 มิถุนายน พ.ศ. 2563 – 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 (2 ปี 37 วัน) | |
ก่อนหน้า | อิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ |
ถัดไป | เดชทวี ศรีวิชัย |
เขตเลือกตั้ง | เขต 4 |
คะแนนเสียง | 61,914 (59.97%) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2500 |
พรรคการเมือง | พลังประชารัฐ (2561–2565) เศรษฐกิจไทย (2565) รวมไทยสร้างชาติ (2565–ปัจจุบัน) |
วัฒนา สิทธิวัง (เกิด 25 ธันวาคม พ.ศ. 2500) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง พรรคพลังประชารัฐ ปัจจุบันสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ[1]
ประวัติ
[แก้]วัฒนา สิทธิวัง เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2500[2] สำเร็จการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาศิลปศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
การทำงาน
[แก้]วัฒนา เคยรับราชการที่ สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) จังหวัดลำปาง[3] ขณะเดียวกัน วัฒนาก็เคยผ่านการเรียนและฝึกปฏิบัติจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำหน้าที่ฝ่ายรักษาพยาบาลนานถึง 15 ปี ก่อนที่จะลาออกในเวลาต่อมา เพื่อที่จะมาทำงานในด้านการเมืองท้องถิ่น
งานการเมือง
[แก้]วัฒนา เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลใหม่พัฒนา 1 สมัย จากนั้นจึงได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง 3 สมัย จนกระทั่ง พ.ศ. 2562 ได้รับตำแหน่งเป็นรองประธานสภาองค์การส่วนบริหารจังหวัดลำปาง ก่อนที่ต่อมาจะลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เมื่อแพ้ให้กับ นาย อิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ จากพรรคเพื่อไทย
แต่ต่อมา อิทธิรัตน์ได้เสียชีวิตลง จึงได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขต 4 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2563 โดยที่วัฒนา ยังคงลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคเดิม ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ วัฒนาได้รับเลือกตั้งซ่อมในที่สุด ต่อมา กกต. มีมติให้ใบเหลือง[4] และศาลฎีกามีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่[5] ต่อมาศาลมีคำสั่งให้พ้นสภาพการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[6] กระทั่งได้ลาออกจากพรรคเศรษฐกิจไทยมาสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ[7]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]วัฒนา สิทธิวัง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขต 4 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2563 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ → พรรคเศรษฐกิจไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[8]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เปิดรายชื่อสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
- ↑ ชีวประวัติ นายวัฒนา สิทธิวัง
- ↑ คอลัมน์ ข่าวทะลุคน : วัฒนา สิทธิวัง ว่าที่ส.ส.ลำปาง
- ↑ คำวินิจฉัยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ 1173/2564 เรื่อง การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดลำปาง แทนตำแหน่งที่ว่าง
- ↑ matichon (2022-01-21). "ศาลฎีกาสั่ง "วัฒนา สิทธิวัง"ก๊วนธรรมนัสหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.หลังรับคำร้อง กกต.ปมจ่ายเงินจูงใจเลือกตั้ง". มติชนออนไลน์.
- ↑ ""ศาลฎีกา"สั่งเลือกตั้งซ่อมส.ส.เขต4ลำปาง-พบ"วัฒนา"ได้รับเลือกไม่สุจริต". bangkokbiznews. 2022-05-27.
- ↑ "หมอรวย" วัฒนา สิทธิวัง ย้ายซบอกพรรคบิ๊กตู่ "รวมไทยสร้างชาติ" เสนอตัวเป็นผู้สมัคร ส.ส.ลำปาง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นตํ่ากว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ หน้า ๔๕, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2500
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเกาะคา
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดลำปาง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง
- นายกองค์การบริหารส่วนตำบลในประเทศไทย
- พรรคพลังประชารัฐ
- พรรคเศรษฐกิจไทย
- พรรครวมไทยสร้างชาติ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.