ข้ามไปเนื้อหา

ลูกแมว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลูกแมวแร็กดอล

ลูกแมว เป็นแมววัยเยาว์ โดยหลังจากที่ลูกแมวเกิด ลูกแมวจะแสดงความแบเบาะระยะแรกและต้องพึ่งพาแม่เพื่อความอยู่รอด โดยปกติแล้วพวกมันจะไม่ลืมตาเป็นเวลาเจ็ดถึงสิบวัน หลังจากนั้นประมาณสองสัปดาห์ ลูกแมวจะพัฒนาอย่างรวดเร็วและเริ่มสำรวจโลกภายนอกที่หลบภัย หลังจากนั้นอีกสามถึงสี่สัปดาห์ พวกมันจะเริ่มกินอาหารแข็งและมีฟันน้ำนมงอกขึ้นมา อนึ่ง ลูกแมวบ้านเป็นสัตว์สังคมอย่างมากและมักจะชอบมิตรภาพของมนุษย์

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ในภาษาอังกฤษ คำว่า "kitten" ที่หมายถึงลูกแมวมาจากคำภาษาอังกฤษสมัยกลางคือ kitoun ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศสในยุคแรกคือ chitoun หรือ cheton[1] ส่วนเสือวัยเยาว์จะเรียกว่า "cub" มากกว่า kitten ซึ่งทั้งสองคำ (แต่โดยทั่วไปมักเรียกว่า "kitten") อาจใช้กับลูกสัตว์วงศ์เสือและแมวป่าที่มีขนาดเล็กกว่า เช่น โอเซลอต, แคราแคล และสกุลลิงซ์[2]

พัฒนาการ

[แก้]
ลูกแมวนอร์วีเจียนฟอเรสต์ที่เกิดใหม่
ลูกแมวลืมตาเป็นครั้งแรก
ลูกแมวคู่พี่น้องจากครอกเดียวกันเมื่ออายุ 11 สัปดาห์
ลูกแมวกำลังเล่นในร้านขายสัตว์เลี้ยงในโตเกียว

ครอกสัตว์ตระกูลแมวมักประกอบด้วยลูกแมวสองถึงห้าตัว[3] แต่เป็นที่ทราบกันว่าครอกมีได้ทั้งหนึ่งถึงมากกว่าสิบตัว[4] โดยทั่วไปลูกแมวจะเกิดหลังจากระยะมีครรภ์ระหว่าง 64 ถึง 67 วัน โดยมีความยาวเฉลี่ย 66 วัน[3] เมื่อลูกแมวเกิด ลูกแมวจะออกมาในส่วนที่คล้ายถุงที่เรียกว่าเยื่อถุงน้ำคร่ำ ซึ่งแม่แมวกัดและกินเข้าไป[5]

ในช่วงหลายสัปดาห์แรก ลูกแมวจะไม่สามารถปัสสาวะหรืออุจจาระได้หากไม่ได้รับการกระตุ้นจากแม่แมว[6] นอกจากนี้ ลูกแมวยังไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกายได้ในช่วงสามสัปดาห์แรก ดังนั้น ลูกแมวที่เกิดในอุณหภูมิต่ำกว่า 27 องศาเซลเซียส (81 องศาฟาเรนไฮต์) อาจเสียชีวิตจากภาวะตัวเย็นเกินหากแม่แมวไม่ทำให้พวกมันอบอุ่น[7] ส่วนน้ำนมของแม่แมวมีความสำคัญมากต่อโภชนาการและการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสมของลูกแมว น้ำนมนี้ถ่ายทอดสารภูมิต้านทานไปยังลูกแมว ซึ่งช่วยปกป้องลูกแมวจากโรคติดเชื้อ[8] ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ที่พวกมันไม่สามารถปัสสาวะได้ ดังนั้น พวกมันจึงมีความต้องการของเหลวสูงมาก[9] ทั้งนี้ ลูกแมวจะลืมตาประมาณเจ็ดถึงสิบวันหลังคลอด ในระยะแรกจอตาจะยังพัฒนาไม่เต็มที่ และการมองเห็นจะไม่ดี ซึ่งลูกแมวจะมองเห็นได้ไม่ดีเท่าแมวโตจนกว่าจะถึงสัปดาห์ที่สิบหลังคลอด[10]

ลูกแมวจะพัฒนาอย่างรวดเร็วมากตั้งแต่อายุประมาณสองสัปดาห์จนถึงสัปดาห์ที่เจ็ด การประสานงานและความแข็งแกร่งของพวกมันดีขึ้น และพวกมันก็เล่นต่อสู้กันกับพี่น้องร่วมครอกและเริ่มสำรวจโลกภายนอกที่หลบภัยหรือโพรง พวกมันเรียนรู้ที่จะทำความสะอาดโดยการเลียตัวเองและตัวอื่น รวมถึงเล่นเกมล่าและสะกดรอยตาม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถโดยกำเนิดของพวกมันในฐานะนักล่า ทักษะโดยกำเนิดเหล่านี้ได้รับการพัฒนาโดยแม่ลูกแมวหรือแมวโตตัวอื่น ๆ ที่นำเหยื่อที่มีชีวิตมาที่รัง และต่อมา แม่แมวได้สาธิตเทคนิคการล่าให้ลูกแมวเลียนแบบ[11] เมื่อลูกแมวมีอายุถึงสามถึงสี่สัปดาห์ พวกมันจะค่อย ๆ หย่านนมและเริ่มกินอาหารแข็ง โดยการหย่านนมจะเสร็จสิ้นเมื่ออายุหกถึงแปดสัปดาห์[12] โดยทั่วไปลูกแมวจะเริ่มฟันน้ำนมหลุดเมื่ออายุประมาณสามเดือน และจะมีฟันแท้ครบชุดเมื่ออายุได้เก้าเดือน[13] ลูกแมวจะใช้ชีวิตด้วยอาหารแข็งเป็นหลักหลังจากหย่านนม แต่โดยปกติแล้วจะยังคงดูดนมต่อไปเป็นครั้งคราว จนกระทั่งแยกจากแม่ของพวกมัน ทั้งนี้ แม่แมวบางตัวจะแยกลูกแมวออกจากกันตั้งแต่เมื่อพวกมันอายุได้สามเดือน ในขณะที่บางตัวก็ยังคงดูแลลูกแมวต่อไปจนกระทั่งพวกมันเข้าใกล้ความพร้อมทางเพศ[14]

โดยทั่วไปแล้วการจะระบุเพศของลูกแมวนั้นทำได้ง่ายตั้งแต่แรกเกิด แต่เมื่อถึงหกสัปดาห์ การจะระบุนี้จะยากขึ้นเนื่องจากขนเริ่มงอกขึ้นในบริเวณอวัยวะเพศ ทั้งนี้ ช่องเปิดท่อปัสสาวะของตัวผู้จะเป็นกลม ๆ ในขณะที่ช่องเปิดท่อปัสสาวะของตัวเมียจะเป็นแบบรอยแยก ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดอีกประการหนึ่งคือระยะห่างระหว่างทวารหนักกับช่องเปิดท่อปัสสาวะ ซึ่งในตัวผู้จะมากกว่าในตัวเมีย[15]

ลูกแมวเป็นสัตว์สังคมสูงและใช้เวลาส่วนใหญ่ในการโต้ตอบกับสัตว์ที่มีอยู่และเล่นตามลำพัง การเล่นกับลูกแมวตัวอื่นจะถึงจุดสูงสุดในช่วงเดือนที่สามหรือสี่หลังคลอด จากนั้นจะถึงช่วงล่าและสะกดรอยตามแบบตัวต่อตัวมากขึ้นในภายหลัง เมื่อถึงประมาณห้าเดือน[16]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Oxford Dictionary 2005.
  2. Sunquist & Sunquist 2014, pp. 58–59.
  3. 3.0 3.1 Tsutsui & Stabenfeldt 1993, p. 1699.
  4. "How Many Kittens Are in a Litter? — Chewy". petcha.com. 3 May 2016. Retrieved on 20 September 2018.
  5. Vandivert 1975, p. 53.
  6. Pet Education 2011.
  7. International Cat Care 2015.
  8. Casal, Jezyk & Giger 1996, p. 1653.
  9. Sturgess & Hurley 2005, p. 243.
  10. Tootle & Friedlander 1989, p. 1325.
  11. Poirier & Hussey 1982, pp. 133–148.
  12. Sturgess & Hurley 2005, p. 244.
  13. Veterinary Medicine 2013.
  14. Bönisch 1996, pp. 23–24.
  15. Walls 1991, p. 22.
  16. Crowell-Davis 2005, p. 18.

แหล่งที่มา

[แก้]

เอกสาร

[แก้]
  • Bönisch, Susanne (1996). Natural Healing for Cats. Sterling Publishing Company. ISBN 978-0-8069-8122-2.
  • Casal, Margret; Jezyk, Peter; Giger, Urs (1996). "Transfer of Colostral Antibodies From Queens to Their Kittens". American Journal of Veterinary Research. 57 (11): 1653–1658. PMID 8915447.
  • Crowell-Davis, Sharon (2005). "Cat Behaviour: Social Organization, Communication and Development". The Welfare of Cats. Animal Welfare. Vol. 3. Rochlitz. pp. 1–22. doi:10.1007/1-4020-3227-7_1. ISBN 1-4020-3226-9.
  • Guilford, Grant (1994). "Nutritional Management of Gastrointestinal Tract Diseases of Dogs and Cats". Journal of Nutrition. 124 (12 Suppl): 2663S–2669S. doi:10.1093/jn/124.suppl_12.2663S. PMC 7107501. PMID 7996263.
  • Heath, Sarah (2005). "Behaviour Problems and Welfare". The Welfare of Cats. Animal Welfare. Vol. 3. Rochlitz. pp. 91–118. doi:10.1007/1-4020-3227-7_4. ISBN 1-4020-3226-9.
  • McHattie, Grace (1993). That's Cats! A Compendium of Feline Facts. David & Charles. ISBN 978-0-7153-0126-5.
  • Messonnier, Shawn (2010). Natural Health Bible for Dogs & Cats: Your A-Z Guide to Over 200 Conditions, Herbs, Vitamins, and Supplements. Crown/Archetype Publishing. ISBN 978-0-307-55860-2.
  • Olson, Patricia; Kustritz, Margaret; Johnston, Shirley (2001). "Early-age Neutering of Dogs and Cats in the United States". Journal of Reproduction and Fertility Supplement. 57: 223–232. PMID 11787153.
  • Poirier, Frank; Hussey, Kaye (1982). "Nonhuman Primate Learning: The Importance of Learning from an Evolutionary Perspective". Anthropology & Education Quarterly. 13 (2): 133–148. doi:10.1525/aeq.1982.13.2.05x1830j. JSTOR 3216627.
  • Spain, Victor; Scarlett, Janet; Houpt, Katherine (2004). "Long-term Risks and Benefits of Early-age Gonadectomy in Cats". Journal of the American Veterinary Medical Association. 224 (3): 372–379. doi:10.2460/javma.2004.224.372. PMID 14765796.
  • Sturgess, Kit; Hurley, Karyl (2005). "Nutrition and Welfare". The Welfare of Cats. Animal Welfare. Vol. 3. Rochlitz. pp. 227–257. doi:10.1007/1-4020-3227-7_9. ISBN 1-4020-3226-9.
  • Sunquist, Fiona; Sunquist, Mel (2014). The Wild Cat Book: Everything You Ever Wanted to Know About Cats. Chicago University. ISBN 978-0-226-14576-1.
  • Tootle, John; Friedlander, Michael (1989). "Postnatal Development of the Spatial Contrast Sensitivity of X- and Y-cells in the Kittens Retinogeniculate Pathway". The Journal of Neuroscience. Journal of Neuroscience. 9 (4): 1325–1340. doi:10.1523/JNEUROSCI.09-04-01325.1989. PMC 6569875. PMID 2703879.
  • Tsutsui, Toshihiko; Stabenfeldt, George (1993). "Biology of Ovarian Cycles, Pregnancy and Pseudo Pregnancy in the Domestic Cat". Journal of Reproduction and Fertility Supplement. 47: 29–35. PMID 8229938.
  • Vandivert, Rita (1975). Understanding Animals as Pets. Illustrated Publishing. ISBN 978-0-7232-6118-6.
  • Walls, Jerry (1991). Kittens as a New Pet. TFH Publications. ISBN 978-0-86622-614-1.
  • Greco, D.S. (2014). Pediatric Nutrition. Veterinary Clinics of North America: Small Animal Practice. ISBN 978-0-32337-185-8.

ออนไลน์

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]