ละหมาดวันศุกร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ละหมาดวันศุกร์ที่มหาวิทยาลัยในประเทศมาเลเซีย

ในศาสนาอิสลาม ละหมาดวันศุกร์ หรือ การละหมาดรวมหมู่ (อาหรับ: صَلَاة ٱلْجُمُعَة, Ṣalāt al-Jumuʿah) เป็นการละหมาดที่ชาวมุสลิมจัดขึ้นทุกวันศุกร์ในช่วงเวลาหลังเที่ยงแทนละหมาดซุฮรี ตามปกติแล้ว มุสลิมจะละหมาด 5 เวลาทุกวันตามเส้นทางของดวงอาทิตย์ โดยไม่คำนึงถึงเส้นเวลา[1] ญุมุอะฮ์ หมายถึงวันศุกร์ในภาษาอาหรับ

ความหมาย[แก้]

เศาะลาตุลญุมุอะฮ์ ("ละหมาดวันศุกร์") เป็นการขอพรทางศาสนาที่เกิดในช่วงละหมาดซุฮรี (อาหรับ: صَلَاة ٱلظُّهْر, Ṣalāt aẓ-Ẓuhr) ของวันศุกร์ โดยเป็นหนึ่งในพิธีศาสนาอิสลามที่น่ายกย่องที่สุดและเป็นหนึ่งในกิจการที่จำเป็นของมุสลิม[2]

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

อัลญุมุอะฮ์ มาจากคำกริยาว่า อิจตะอะมะ ซึ่งหมายถึงรวบรวมผู้คน[3]

ความจำเป็น[แก้]

มีมติเป็นเอกฉันท์แก่มุสลิมทุกคนว่าละหมาดวันศุกร์เป็น วาญิบ จากรายงานในอายะฮ์อัลกุรอาน เช่นเดียวกันกับสายรายงานทั้งชีอะฮ์กับซุนนี ซึ่งจากสำนักซุนนีส่วนใหญ่และนักกฎหมายชีอะฮ์บางคนกล่าวว่า ละหมาดวันศุกร์เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อศาสนา[4] แต่ข้อแตกต่างอยู่ที่ความจำเป็นที่ขึ้นอยู่กับผู้นำหรือผู้ลงนามแทนท่านหรือ วาญิบ โดยไม่มีเงื่อนไข สำนักฮะนะฟีกับอิมามะฮ์เชื่อว่าการมีอยู่ของผู้นำหรือผู้ลงนามแทนท่านเป็นสิ่งที่จำเป็น ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่อนุญาต ก็ละหมาดวันศุกร์ไม่ได้ ตามที่อิมามะฮ์ต้องการให้ผู้นำยอมรับ (อาดิล); ไม่เช่นนั้นการมีอยู่ของท่านจะเท่ากันกับการไม่มีอยู่ ส่วนฮะนะฟี การมีอยู่ของท่านเพียงพอแล้ว ถึงแม้ว่าท่านจะไม่อนุญาตก็ตาม แต่สำนักชาฟิอี, มาลิกี และฮันบะลีกล่าวว่าไม่จำเป็นต้องให้ผู้นำอนุญาต ก็ละหมาดได้[5]

ที่มากไปกว่านั้น มีการกล่าวว่าการละหมาดวันศุกร์ไม่จำเป็นต่อคนชรา, เด็ก, ผู้หญิง, ทาส, นักเดินทาง, คนป่วย, คนตาบอด และคนพิการ เช่นเดียวกันกับคนที่ไปไกลกว่า 2 ฟาร์ซัค[6]

ในอัลกุรอาน[แก้]

มีการกล่าวในอัลกุรอานว่า:

โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย! เมื่อได้มีเสียงร้องเรียก (อะซาน) เพื่อทำละหมาดในวันศุกร์ก็จงรีบเร่งไปสู่การรำลึกถึงอัลลอฮฺ และจงละทิ้งการค้าขายเสีย นั่นเป็นการดีสำหรับพวกเจ้าหากพวกเจ้ารู้ ต่อเมื่อการละหมาดได้สิ้นสุดลงแล้ว ก็จงแยกย้ายกันไปตามแผ่นดิน และจงแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺและจงรำลึกถึงอัลลอฮฺให้มาก ๆ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ

ในฮะดีษ[แก้]

รายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮ์ว่า: ท่านศาสดาได้กล่าวว่า "ทุกวันศุกร์มลาอิกะฮ์จะยืนหน้าประตูมัสยิดเพื่อเขียนชื่อคนตามลำดับ (ป.ล. รายงานเวลาที่พวกเขามาละหมาดวันศุกร์) และเมื่ออิหม่ามนั่ง (บนแท่นเทศน์) พวกท่าน (มลาอิกะฮ์) จะเก็บม้วนกระดาษและเตรียมสดับฟังคำเทศนา"

มุสลิม อิบน์ ฮัจญาจ นิชาบูรีเล่าว่า ศาสดามุฮัมมัดได้อ่านซูเราะฮ์ที่ 87 (อัลอะอ์ลา) และซูเราะฮ์ที่ 88, (อัลฆอชิยะฮ์) ในละหมาดอีดและละหมาดวันศุกร์ ถ้าหนึ่งในเทศกาลตกอยู่ในวันศุกร์ ท่านจะอ่านสองซูเราะฮ์นั้นในเวลาละหมาด

ศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า "วันที่ดีที่สุดที่ดวงอาทิศย์ขึ้นคือวันศุกร์; ณ วันนั้นอัลลอฮ์ทรงสร้างอาดัม ณ วันนั้น เขาอาศัยอยู่ในสวรรค์ ณ วันนั้น เขาถูกเนรเทศออกมา และวันสุดท้ายจะไม่เกิดในวันใด นอกจากวันศุกร์" [บันทึกโดยอะฮ์มัดกับอัตติรมิซี]

เอาว์ส อิบน์ เอาว์ส รายงานว่า ศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวว่า: “ใครก็ตามที่ทำฆุสล์ในวันศุกร์ และใช้ให้ (ภรรยาของเขา) ทำฆุสล์ แล้วไปมัสยิดก่อน และตั้งใจฟังคุตบะฮ์ตั้งแต่ต้น และอยู่ใกล้อิหม่าม และฟังด้วยความตั้งใจ อัลลอฮ์จะให้รางวัลเขาเท่ากับคนที่ถือศีลอดทั้งปี...”[บันทึกโดยอิบน์ คุซัยมะฮ์, อะฮ์มัด]

ในคำกล่าวของซุนนี[แก้]

การละหมาดวันศุกร์ที่พริสทีนา

การละหมาด ญุมุอะฮ์ เป็นครึ่งหนึ่งของละหมาด ซุฮรี ซึ่งตามต่อจาก คุตบะฮ์ (การเทศนาที่แทนที่ 2 เราะกะอัต ของละหมาดซุฮรี) ซึ่งมีอิหม่ามนำละหมาด โดยส่วนใหญ่เคาะฏีบมักทำหน้าที่เป็นอิหม่าม การไปละหมาดเป็นข้อบังคับต่อผู้ชายวัยผู้ใหญ่ชายที่เป็นคนในท้องถิ่น[9] มุอัซซินจะอาซานเป็นเวลา 15–20 นาทีในตอนต้นของญุมุอะฮ์ เมื่อเคาะฏีบยืนบนมินบัร จะมีการอาซานรอบที่สอง แล้วเคาะฏีบจะกล่าวคำเทศนาสองรอบ โดยหยุดและนั่งระหว่างสองอัน หลังจากนั้นมุอัซซินจะอิกอมะฮ์ เพื่อเป็นสัญญาณให้ละหมาดญุมุอะฮ์ได้

ในคำกล่าวของชีอะฮ์[แก้]

การละหมาดวันศุกร์ (เตหะราน ค.ศ. 2016) โดยอะยาตุลลอฮ์อะฮ์มัด ญันนะตี ทำหน้าที่เป็นอิหม่ามละหมาดวันศุกร์

ในนิกายชีอะฮ์ การละหมาดวันศุกร์เป็นวาญิบตัคยีรี (ณ เวลาที่ซ่อนเร้น),[10][11] ซึ่งหมายความว่า พวกเขาอาจจะละหมาดวันศุกร์ ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไข หรือจะละหมาดซุฮรี นักวิชาการชีอะฮ์แนะนำว่า การละหมาดวันศุกร์จะวาญิบ (จำเป็น) หลังจากอิหม่ามมะฮ์ดีกับนบีอีซาปรากฏตัว[12]

ในประวัติศาสตร์อิสลาม[แก้]

รายงานจากประวัติศาสตร์อิสลามกับรายงานจากอับดุลลอฮ์ อิบน์ อับบาส ว่า จากท่านศาสดาได้กล่าวว่า: การอนุญาตละหมาดวันศุกร์ถูกประทานโดยอัลลอฮ์ในช่วนก่อนฮิจเราะห์ แต่ผู้คนยังไม่สามารถรวมตัวและปฏิบัติไต้ ท่านศาสดาจึงส่งจดหมายแก่มุสอับ อิบน์ อุมัยร์ ให้ละหมาดสองเราะกะอัตในการรวมตัวของวันศุกร์ (นั่นคือ ญุมุอะฮ์) จากนั้น หลังจากท่านศาสดาอพยพไปมะดีนะฮ์ ก็ได้มีการละหมาดญุมุอะฮ์ขึ้น[13]

ส่วนตามรายงานฝั่งชีอะฮ์ การรวมตัวละหมาดวันศุกร์ที่มีการเทศนาเป็นสิ่งที่ผิด และถูกเลื่อน (พร้อมกับการทำพิธีทางศาสนาอื่น ๆ) จนกว่ามุฮัมมัด อัลมะฮ์ดี อิหม่ามคนที่ 12 จะกลับมา[14] อย่างไรก็ตาม มุฮัมมัด อิบน์ มุฮัมมัด มะฮ์ดี อัลเคาะลีซี (ค.ศ. 1890–1963) นักชีอะฮ์สมัยใหม่ อธิบายว่าชีอะฮ์ควรละหมาดวันศุกร์อย่างระมัดระวังในจุดเชื่อมกับซุนนี[15] หลังจากนั้น ได้มีการฝึกละหมาดวันศุกร์ จนกลายเป็นมาตรฐานโดยรูฮุลลอฮ์ โคมัยนีในอิหร่าน และจากนั้นโดยโมฮัมมัด โมฮัมมัด ซาเด็ก อัลซัดร์ในประเทศอิรัก

เงื่อนไข[แก้]

การละหมาดวันศุกร์ที่สมบูรณ์ ต้องเป็นไปตามข้อต่าง ๆ ดังนี้:

  • ละหมาดวันศุกร์ต้องละหมาดเป็นกลุ่ม
  • จะต้องมีการรวมกลุ่ม รายงานจากมัซฮับอัชชาฟิอีและฮันบาลี จำนวนผู้มาละหมาดอย่างน้อยที่สุดคือ 40 คน ส่วนมัซฮับอื่น จำนวนขั้นต่ำคือ 3 หรือ 5 (ดีกว่าคือ 7) คน โดยรวมไปถึงอิหม่ามนำละหมาด
  • รายงานจากกฎหมายของชีอะฮ์ การละหมาดวันศุกร์ต้องเกิดในบริเวณรัศมี 3 ไมล์ 720 ยาร์ด (4 กิโลเมตร 660 เมตร) ถ้ามีการละหมาดสองที่ บริเวณที่ละหมาดทีหลังจะเป็นโมฆะ
  • ต้องมีการเทศนา (คุตบะฮ์) ก่อนละหมาด และต้องมีผู้ฟังด้วยความตั้งใจอย่างน้อย 4 (หรือ 6) คน"[16]

รูปแบบ[แก้]

คุตบะฮ์ ญุมุอะฮ์ (คุตบะฮ์วันศุกร์)[แก้]

  • คุตบะฮ์ (ญุมุอะฮ์) เป็นการพูดหรือเทศนาในมัสยิดก่อนละหมาดวันศุกร์[17] โดยจะแบ่งเป็นสองช่วง ในระหว่างสองช่วงเคาะฏีบ (ผู้พูด) ต้องนั่งเป็นระยะเวลาสั้น ๆ[18]
  • ในกฎของคุตบะฮ์ที่หนึ่งคือ ไม่ควรทำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องในระหว่างการเทศนาและการละหมาด "[19] การเริ่มคุตบะฮ์ควรกล่าวเป็นภาษาอาหรับ โดยเฉพาะประโยคจากอัลกุรอาน ไม่เช่นนั้น จะต้องพูดด้วยภาษาที่คนส่วนมากเข้าใจ แต่ในสถานการณ์นี้ ผู้คุตบะฮ์ต้องกล่าวโองการอัลกุรอานและคำสรรเสริญต่ออัลลอฮ์และมุฮัมมัดเป็นภาษาอาหรับ[20]
  • รายงานจากหลักคำสอนส่วนใหญ่จากฝ่ายซุนนีและชีอะฮ์ รายละเอียดของคุตบะฮ์วันศูกร์ต้องมีตามรายการนี้: "[21]
  1. การสรรเสริญอัลลอฮ์
  2. การภาวนาด้วยการอวยพรต่อศาสดามุฮัมมัดกับลูกหลานของท่าน
  3. กำชับให้ตักวา, ตักเตือน และแนะนำต่อผู้ร่วมฟัง
  4. อ่านซูเราะฮ์สั้น ๆ จากอัลกุรอาน
  • บางครั้ง อาจมีการเพิ่มในการเทศนาครั้งที่สอง:
  1. อะไรคือสิ่งที่จำเป็นต่อมุสลิมในโลกนี้และโลกหน้า
  2. เหตุการณ์สำคัญทั่วโลกทั้งสิ่งที่มุสลิมชอบ หรือไม่ชอบ
  3. ให้ความสนใจต่อโลกมุสลิมเป็นพิเศษ
  4. ให้แง่มุมทางการเมืองและเศรษฐกิจต่อสังคมและทั่วโลก[22][23]
  • ในมารยาทเหล่านั้นผู้ฟังจะต้องฟังอย่างตั้งใจ และไม่ทำในสิ่งที่รบกวนผู้อื่น[22]

ละหมาดญุมุอะฮ์[แก้]

  • การละหมาดญุมุอะฮ์มีความเหมือนกับละหมาดฟัจร์ (ย่ำรุ่ง) ซึ่งทำหลังจากคุตบะฮ์ (เทศนา) และเป็นการแทนที่การละหมาดซุฮรี[12]
  • รายงานจากหลักคำสอนชีอะฮ์ เป็นเรื่องที่แนะนำ (ซุนนะฮ์) ที่หลังอ่านซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์แล้ว จะมีการอ่านซูเราะฮ์ อัลญุมุอะฮ์ในเราะกะอัตแรก และซูเราะฮ์ อัลมุนาฟิกูนในเราะกะอัตที่สอง [16]

กุนูต[แก้]

  • รายงานจากหลักคำสอนชีอะฮ์ จะมีสองกุนูต (ยื่นสองมือดุอาในระหว่างละหมาด) เป็นที่แนะนำในละหมาดนี้ โดยกุนูดแรกจะทำก่อนรุกูอ์ในเราะกะอัตแรก และอันที่สองหลังจากรุกูอ์ในเราะกะอัตที่สอง[16]

ความสำคัญ[แก้]

มีหลายรายงานจากฮะดีษที่กล่าวถึงความสำคัญของญุมุอะฮ์ ตามรายงานดังนี้:

  • ท่านศาสดากล่าวว่า: "ญุมุอะฮ์ (ละหมาดวันศุกร์) เป็นการแสวงบุญ (ฮัจญ์) ของคนยากจน" "[24]
  • ท่านศาสดากล่าวว่า: "ใครก็ตามที่พลาดละหมาดวันศุกร์สามครั้ง โดยไม่มีเหตุอันควร อัลลอฮ์จะปิดผนึกหัวใจของเขา"[25]
  • มีฮะดีษที่บันทึกโดยอะฮ์มัดว่า ท่านศาสดากล่าวว่า: “ผู้ศรัทธาที่อาบน้ำทั้งตัวในวันศุกร์ จากนั้นมาละหมาดวันศุกร์ก่อน แล้วฟังคำเทศนาของอิหม่าม และไม่ทำอะไรผิด อัลลอฮ์จะให้ผลบุญแก่เขาเท่ากับคนที่ถือศีลอดและละหมาดหนึ่งปี[26]
  • ที่มากไปกว่านั้น ศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวว่า : “มุสลิมคนใดที่เสียชีวิตในวันหรือคืนวันศุกร์ อัลลอฮ์จะปกป้องเขาจากการสอบสวนในสุสาน” [อัตติรมิซีและอะฮ์มัด]
  • มีฮะดีษที่บันทึกโดยอัลบุคอรีว่า ท่านศาสดากล่าวว่า: "ในช่วงกลางวันของวันศุกร์ จะมีชั่วโมงหนึ่งที่ถ้าผู้ศรัทธาของอะไรจากอัลลอฮ์ ทุกสิ่งที่เขาอยากได้ในชั่วโมงนั้น พระองค์จะประทานให้และไม่ปฏิเสธ ตราบที่เขาหรือเธอไม่ได้ขอสิ่งที่ไม่ดี".[26]
  • มีรายงานที่ล้ายกันว่า ท่านศาสดากล่าวว่า: "วันศุกร์มี 12 ชั่วโมง โดยหนึ่งในชั่วโมงนั้นที่ดุอาจะถูกตอบรับแก่มุสลิม ซึ่งชั่วโมงนั้นกล่าวว่าอยู่ในช่วงตอนบ่าย หลังละหมาดอัสรี"[27]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Dar ul Haqq Islamic Institute – Masjed At Taqwaa". Reno Mosque. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2013. สืบค้นเมื่อ 28 September 2012.
  2. Fahd Salem Bahammam. The Muslim's Prayer. Modern Guide. ISBN 9781909322950. สืบค้นเมื่อ 29 January 2018.
  3. "Hussain, Musharraf." The five pillars of Islam: Laying the foundations of divine love and service to humanity. Kube Publishing Ltd, Oct 10, 2012
  4. "Hashemi, Kamran." Religious legal traditions, international human rights law and Muslim states. vol. 7. Brill, 2008
  5. "Maghniyyah, M. J." The Five Schools of Islamic Law: Al-hanafi. Al-hanbali, Al-ja'fari, Al-maliki, Al-shafi'i. Anssariyan, 1995
  6. "Al-Tusi, M. H. "A concise description of Islamic law and legal opinions." 2008
  7. อัลกุรอาน 62:9–10
  8. Sahih al-Bukhari, 2:13:51
  9. Margoliouth, G. (2003). "Sabbath (Muhammadan)". ใน Hastings, James (บ.ก.). Encyclopedia of Religion and Ethics. Vol. 20. Selbie, John A., contrib. Kessinger Publishing. pp. 893–894. ISBN 978-0-7661-3698-4.
  10. Salah Jum'ah article.tebyan.net Retrieved 24 June 2018
  11. Namaz (Prayer) Jum'a เก็บถาวร 2020-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน farsi.khamenei.ir Retrieved 24 June 2018
  12. 12.0 12.1 "Sayyid Ali Al Husaini Seestani."Islamic Laws English Version of Taudhihul Masae'l.Createspace Independent, 2014
  13. Rafat, Amari (2004). Islam: In Light of History. Religion Research Institute.
  14. Jonathan Steele (2008). Defeat: Why They Lost Iraq. I.B. Tauris. p. 96. ISBN 978-0857712004.
  15. Brunner, Rainer; Ende, Werner, บ.ก. (2001). The Twelver Shia in Modern Times: Religious Culture and Political History (illustrated ed.). Brill. p. 178. ISBN 978-9004118034.
  16. 16.0 16.1 16.2 Akhtar Rizvi, Sayyid Saeed (1989). Elements of Islamic Studies. Bilal Muslim Mission of Tanzania.
  17. "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-19. สืบค้นเมื่อ 2018-02-03.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  18. ʻAlī Nadvī, Abulḥasan (2006). The Musalman. the University of Michigan.
  19. "Muhammad Abdul-Rauf." Islam Creed and Worship. Islamic Center, 2008
  20. "Chanfi Ahmed" West African ʿulamāʾ and Salafism in Mecca and Medina. Journal of Religion in Africa 47.2 , 2018. Reference. 2018
  21. "Sabiq As-Sayyid" "FIQH us-SUNNAH". Indianapolis: American Trust Publishers, 1992.
  22. 22.0 22.1 "Ayatullah Shahid Murtadha Mutahhari"Salatul Jumuah in the Thoughts and Words of Ayatullah Shahid Murtadha Mutahhari . Al-Fath Al-Mubin Publications.
  23. "Ilyas Ba-Yunus, Kassim Kone" Muslims in the United States. Greenwood Publishing Group, 2006.
  24. "Shomali, Mohammad Ali and William Skudlarek, eds." Monks and Muslims: Monastic Spirituality in Dialogue with Islam. Liturgical Press, 2012.
  25. Rayshahri, M. Muhammadi (2008). Scale of Wisdom: A Compendium of Shi'a Hadith: Bilingual Edition. ICAS Press.
  26. 26.0 26.1 "Sheikh Ramzy."The Complete Guide to Islamic Prayer (Salāh). 2012
  27. "SW Al-Qahtani."Fortress of the Muslim: Invocations from the Qur'an and Sunnah. Dakwah Corner Bookstore 2009

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

Jumma Mubarak Information & Jumma Mubarak Wallpapers เก็บถาวร 2017-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน