อะบูฮุร็อยเราะฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อบูฮุร็อยเราะฮ์)
อะบูฮุร็อยเราะฮ์
أبو هريرة
เกิดค.ศ. 600
อัลญะบูร อาระเบีย
เสียชีวิตค.ศ. 678
มะดีนะฮ์ รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย)
สุสานอัลบะกีอ์
อาชีพเศาะฮาบะฮ์
ผู้รายงานฮะดีษ
มีชื่อเสียงจากเศาะฮาบะฮ์ของงศาสดามุฮัมมัด

อับดุรเราะห์มาน อิบน์ ศ็อคร์ อัดเดาซี อัซซะฮ์รอนี (อาหรับ: عبد الرحمن بن صخر الدوسي الزهراني‎; ค.ศ. 603–681) รู้จักกันในชื่อ อะบูฮุร็อยเราะฮ์[1] เป็นหนึ่งในเศาะฮาบะฮ์ (ผู้ติดตาม) ของศาสดามุฮัมมัด และเป็นที่รู้จักกันในนาม อะบูฮุร็อยเราะฮ์ "พ่อของแมว" ในบุคลิกของเขาที่ชอบเล่นกับแมว ตอนนี้ยังไม่มีใครรู้ว่าเขามีชื่อจริงว่าอะไร แต่ชื่อที่ถูกเรียกบ่อยที่สุดคือ อับดุลเราะห์มาน อิบน์ ศ็อคร์ (عبد الرحمن بن صخر)[2] อะบูฮุร็อยเราะฮ์ใช้เวลาอยู่กับเศาะฮาบะฮ์ของมุฮัมมัดเป็นเวลา 2 ปี 3 เดือน[3] และมีฮะดีษที่รายงานถึงเขามีอย่างน้อย 5,374 ฮะดีษ[4][5]

ชีวิตช่วงต้น[แก้]

อบูฮุร็อยเราะฮ์ ถือกำเนิดที่เยเมน และอาศัยอยู่กับเผ่าอาหรับบนูเดาส์ แต่พ่อของเขาเสียชีวิตก่อน จึงทำให้เขาต้องอยู่กับแม่ โดยที่เขาไม่มีญาติแม้แต่คนเดียว

ชื่อ[แก้]

ชื่อของเขายังคงเป็นที่โต้แย้งในบรรดานักวิชาการมุสลิม ตัวอย่างชื่อเหล่านี้ ได้แก่ "อับดุลเราะฮ์มาน อิบน์ เซาะคร์", "อับด์ อิบน์ ฆุนัม"[6],"อับดุชชาม อิบน์ อามีร", "อับดุชชาม อิบน์ เซาะคร์", "'อามีร อิบน์ ฆุนัม",[7] "ซิกิน อิบน์ ญาบิร", "ยะซีด อิบน์ อัล-อัซกอลานี", "บูรีร อิบน์ อัล-อัซรอเกาะฮ์" และ "ซะอีด อิบน์ อัล-ฮาริษ".[8] และชื่อเกิดของเขายังคงเป็นที่โต้แย้งเช่นกัน ตัวอย่างเช่น "อับดุชชาม", "อับดุลลอฮ์", "ซิกิน", "'อามีร", "บูรีร", "อัมร์", "ซะอีด", "อับดุล ฆุนัม", "อับดุล ยะลีล" และ "อับดุล ฏิม".[9][6]

เสียชีวิต[แก้]

หลังจากศาสดามุฮัมมัดเสียชีวิตแล้ว เขาใช้ช่วงชีวิตที่เหลืออยู่ไปสอนฮะดีษในมะดีนะฮ์ แต่ต้องหยุดสอนแค่ชั่วคราว เพราะเขาเป็นผู้ว่าประจำอาระเบียตะวันออก (ปัจจุบันเรียกว่า "บะห์ร็อยน์") ในสมัยของอุมัร และเป็นผู้ว่าประจำเมืองมะดีนะฮ์ในสมัยรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ตอนต้น. อบูฮุร็อยเราะฮ์เสียชีวิตในปีค.ศ.681 (ฮ.ศ.59) ตอนอายุ 78 ปี ศพของเขาถูกฝังที่อัลบะกีอ์.[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. Stowasser, Barbara Freyer (1996-08-22). Women in the Qur'an, Traditions, and Interpretation (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. ISBN 9780199761838.
  2. Glassé, Cyril (2003). The New Encyclopedia of Islam. Rowman Altamira. pp. 102. ISBN 0759101906.
  3. Sahih Bukhari Volume 001, Book 003, Hadith Number 118
  4. Shorter Urdu Encyclopedia of Islam, University of the Punjab, Lahore, 1997, pg. 65.
  5. "Sahih al-Bukhari 118 - Knowledge - كتاب العلم - Sunnah.com - Sayings and Teachings of Prophet Muhammad (صلى الله عليه و سلم)". sunnah.com. สืบค้นเมื่อ 2021-02-23.
  6. 6.0 6.1 Al-Dhahabi. "The Lives of Noble Figures". library.islamweb.net (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 2019-03-19.
  7. Ibn Hajar al-‘Asqalani. "al-Isaba fi tamyiz al-Sahaba". shamela.ws (ภาษาอาหรับ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-20. สืบค้นเมื่อ 2019-03-19.
  8. Yusuf ibn Abd al-Rahman al-Mizzi. "Tahdhib al-Kamal fi asma' al-rijal". library.islamweb.net (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 2019-03-19.
  9. "الإصابة في تمييز الصحابة • الموقع الرسمي للمكتبة الشاملة". shamela.ws. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-20. สืบค้นเมื่อ 2019-03-19.
  10. Abgad Elulm, pp.2, 179.