รุบอุลคอลี

พิกัด: 20°N 50°E / 20°N 50°E / 20; 50
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุบอุลคอลี
ٱلرُّبْع ٱلْخَالِي
เนินทรายทางตะวันออกของโอเอซิสลีวาในรัฐอาบูดาบี ใกล้กับชายแดนระหว่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กับประเทศซาอุดีอาระเบีย
จุดสูงสุด
พิกัด20°N 50°E / 20°N 50°E / 20; 50
ข้อมูลเชิงขนาด
ยาว1,000 กม. (621 ไมล์)
กว้าง500 กม. (311 ไมล์)
พื้นที่Invalid unit
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ที่ตั้งของรุบอุลคอลีในคาบสมุทรอาหรับ
ประเทศธงของประเทศซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย, ธงของประเทศโอมาน โอมาน, ธงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ ธงของประเทศเยเมน เยเมน

รุบอุลคอลี (อาหรับ: ٱلرُّبْع ٱلْخَالِي)[note 1] เป็นทะเลทราย (แบบเอิร์ก)[1] ที่ครอบคลุมถึงสามส่วนในภาคใต้ของคาบสมุทรอาหรับ ตัวทะเลทรายเป็นส่วนหนึ่งของทะเลทรายอาหรับ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 650,000 km2 (250,000 sq mi) (ระหว่างลองจิจูด 44°30′−56°30′ ตะวันออก กับละติจูด 16°30′−23°00′ เหนือ) อยู่ในเขตประเทศซาอุดีอาระเบีย, ประเทศโอมาน, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศเยเมน[2]

รายละเอียด[แก้]

ที่ราบกรวดที่มีเนินทรายสูงล้อมรอบในรัฐอาบูดาบี
น้ำที่อยู่ใต้ระดับพื้นดินที่ชัยบะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย

ภูมิประเทศ[แก้]

ทะเลทรายมีความยาว 1,000 กิโลเมตร (620 ไมล์) และกว้าง 500 กิโลเมตร (310 ไมล์) ความสูงของทะเลทรายมีความหลากหลายตั้งแต่ 800 เมตร (2,600 ฟุต) ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึงระดับน้ำทะเลในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ[3] ภูมิประเทศปกคลุมไปด้วยเนินทรายที่สูงถึง 250 เมตร (820 ฟุต) สลับกับทุ่งก้อนกรวดและยิปซัม[2][3] สีของทรายเป็นสีส้มอมแดงเพราะการมีอยู่ของเฟลด์สปาร์[3]

บางพื้นที่มีทุ่งเกลือกร่อย เช่น พื้นที่อุมมุสซะมีมที่ชายแดนตะวันออกของทะเลทราย[3] อะลี อันนะอีมี รายงานว่าเนินทรายในบริเวณนี้ไถลไม่ได้[4]: 213 

ก้นทะเลสาบ[แก้]

บริเวณกลางทะเลทรายมีปริมาณของแคลเซียมคาร์บอเนต, ยิปซัม, ดินสอพอง หรือดินเหนียว ในบริเวณที่เคยเป็นทะเลสาบน้ำตื้นที่เคยมีอยู่ในช่วงประมาณ 6,000 ถึง 5,000 ปีกับ 3,000 ถึง 2,000 ปีก่อน ซึ่งเกิดจากฝนมรสุม และมีอยู่แค่ไม่กี่ปี อย่างไรก็ตาม ทะเลสาบในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของรุบอุลคอลี อยู่ได้นานถึง 800 ปี[2]

มีหลักฐานว่าบริเวณทะเลทราบเป็นที่อยู่ของพืชและสัตว์ตามท้องถิ่น ซึ่งมีฟอสซิลของสัตว์บางชนิด เช่น ฮิปโปโปเตมัส, ควาย และออรอค ในทะเลสาบมีหอยทากขนาดเล็ก, ออสตราคอดส์ และถ้าสภาวะเหมาะสม ก็จะมีหอยน้ำจืดอยู่ด้วย การทับถมของแคลเซียมคาร์บอเนตกับไฟโตลิธ (phytolith) ทำให้พืชกับสาหร่ายเจริญเติบโตได้ดี และมีหลักฐานเกี่ยวกับกิจกรรมของมนุษย์ในช่วง 3,000 ถึง 2,000 ปีก่อน ซึ่งรวมไปถึงอุปกรณ์หินเหล็กไฟ แต่ไม่มีสิ่งหลงเหลือของมนุษย์ที่ถูกค้นพบเลย[2]

สภาพอากาศ[แก้]

แคว้นนี้ถูกจัดเป็น "แห้งแล้งอย่างรุนแรง" ด้วยหยาดน้ำฟ้ารายปีโดยทั่วไปน้อยกว่า 35 มิลลิเมตร (1.4 นิ้ว) และความชื้นรายวันโดยเฉลี่ยในเดือนมกราคมอยู่ที่ 52% และในเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมอยู่ที่ 15% อุณหภูมิสูงสุดรายวันโดยเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมอยู่ที่ 47 องศาเซลเซียส (117 องศาฟาเรนไฮต์) และถึงจุดสูงสุดที่ 51 องศาเซลเซียส (124 องศาฟาเรนไฮต์) อุณหภูมิต่ำสุดรายวันโดยเฉลี่ยในเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์อยู่ที่ 12 องศาเซลเซียส (54 องศาฟาเรนไฮต์) ถึงแม้ว่าจะมีบันทึกถึงน้ำค้างแข็งก็ตาม อุณหภูมิสุดขั้วรายวันยังคงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก[3]

ความหลากหลายทางชีวภาพ[แก้]

บริเวณนี้มีพันธุ์สัตว์จำพวกแมง (เช่น แมงป่อง) กับสัตว์ฟันแทะ ในขณะที่พืชแพร่พันธุ์ทั่วทะเลทราย ถ้าแบ่งตามเขตภูมินิเวศ รุบอุลคอลี จะอยู่ในเขตทะเลทรายอาหรับ[3] เสือชีตาห์เอเชียที่เคยแพร่พันธุ์ในประเทศซาอุดีอาระเบีย สูญพันธ์ไปจากบริเวณนี้ไปแล้ว

น้ำมัน[แก้]

ทุ่งน้ำมันชัยบะฮ์ถูกค้นพบในปีค.ศ. 1968 ที่เฆาะวารตอนใต้ ซึ่งเป็นทุ่งน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่กินพื้นที่ตั้งแต่บริเวณทางตอนใต้จรดเหนือของรุบอุลคอลี[4]: 212, 228 

ภาพเพิ่มเติม[แก้]


รุบอุลคอลี

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. การถอดเป็นอักษรโรมันแบบต่าง ๆ ได้แก่ Rub' al Khali, ar-Rubʻ al-Khālī, ar-rubʿ al-ḵālī ตรง ar- เป็นการหลอมรวมของคำกำกับนามภาษาอาหรับว่า al- ซึ่งอาจถอดเป็นอักษรโรมันว่า al-

อ้างอิง[แก้]

  1. Peter Vincent (2008). Saudi Arabia: an environmental overview. Taylor & Francis. p. 141. ISBN 978-0-415-41387-9. สืบค้นเมื่อ 22 August 2010.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Clark, Arthur (June 1989). Amdt, Robert (บ.ก.). "Lakes of the Rub' al-Khali". Saudi Aramco World. 40 (3): 28–33. ISSN 0003-7567. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-13. สืบค้นเมื่อ 22 August 2010.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "Arabian Desert and East Sahero-Arabian xeric shrublands". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 22 August 2010.
  4. 4.0 4.1 Al-Naimi, Ali (2016). Out of the Desert. Great Britain: Portfolio Penguin. p. 211. ISBN 9780241279250.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]