รีชาร์ที่ 1 แห่งนอร์ม็องดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ริชาร์ดที่ 1 ผู้ไม่กลัวใคร

ริชาร์ดผู้ไม่กลัวใครเป็นส่วนหนึ่งของรูปปั้นหกดยุคแห่งนอร์ม็องดีในจัตุรัสเมืองฟาเลส
เคานต์แห่งรูอ็อง
เกิด 28 สิงหาคม ค.ศ. 932, เฟค็อมป์ นอร์ม็องดี ฝรั่งเศส
เสียชีวิต 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 996 (อายุ 64 ปี), เฟค็อมป์ นอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส
บิดา วิลเลี่ยมผู้ดาบยาว
มารดา สโปรต้า
ภรรยา เอ็มมาแห่งปารีส

กุนนอร์

บุตร/ธิดา ริชาร์ดที่ 2 แห่งนอร์ม็องดี

โรแบต์ที่ 2 อาร์ชบิชอปแห่งรูอ็อง
มูเฌร์ เคานต์แห่งคอร์เบล์
โรแบต์ ดานุส
วิลเลี่ยม
เอ็มมาแห่งนอร์มังดี สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ
โมดแห่งนอร์ม็องดี
อาไวซ์แห่งนอร์ม็องดี
จอฟฟรีย์ เคานต์แห่งอู
วิลเลี่ยม เคาต์แห่งอู
เบียทริซแห่งนอร์ม็องดี
โรแบต์
ปาเปีย

ขุนนางฝรั่งเศส - กษัตริย์ฝรั่งเศส - ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส

ริชาร์ดที่ 1 (28 สิงหาคม ค.ศ. 932 – 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 996) หรือ ริชาร์ดผู้ไม่กลัวใคร (อังกฤษ: Richard the Fearless, ฝรั่งเศส: Richard Sans-Peur, ภาษานอร์สโบราณ: Jarl Richart) เป็นเคานต์แห่งรูอ็องหรือยาร์ลแห่งรูอ็องตั้งแต่ ค.ศ. 942 จนถึง ค.ศ. 996 ริชาร์ดทำให้นอร์ม็องดีเข้าสู่สังคมศักดินาที่เขาเป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมด ผู้ติดตามของเขาครองดินแดนที่ได้รับจากการจงรักภักดีต่อเขา เขาทำให้นอร์ม็องดีมีอำนาจแข็งแกร่งขึ้นมาในฝรั่งเศสตะวันตก

ชีวิตช่วงแรก[แก้]

ริชาร์ดเป็นบุตรชายของวิลเลียมดาบยาว พร็องเซป[1] หรือผู้ปกครองแห่งนอร์ม็องดี มารดาของเขาชื่อสโปรต้า[2] เธอเป็นนักโทษชาวเบรตันที่ถูกจับกุมตัวในสงครามที่ต่อมาวิลเลี่ยมแต่งงานด้วย[3] เล่ากันว่าวิลเลี่ยมผู้ดาบยาวมีบุตรชายหลังสมรภูมิกับริยูฟและกบฏชาวไวกิ้งคนอื่นๆ แต่เขาเก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับจนกระทั่งสองสามปีต่อมา ในตอนที่เขาเจอกับบุตรชายครั้งแรก เขาจูบบุตรชาย และตั้งบุตรชายเป็นทายาทในนอร์ม็องดี จากนั้นวิลเลี่ยมส่งริชาร์ดไปรับการดูแลในบายูซ์[4]

ในตอนที่บิดาของเขาตาย ริชาร์อายุเพียง 10 ปี (เขาเกิดใน ค.ศ. 933)[2] พระเจ้าหลุยส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศสตัดสินใจควบคุมดูแลนอร์ม็องดีด้วยตนเอง กษัตริย์ให้ดยุคน้อยอยู่ในการดูแลของเคานต์แห่งปงธิว[5] จากนั้นพระองค์มอบดินแดนในนอร์ม็องดีล่างให้แก่ยูกผู้ยิ่งใหญ่ พระเจ้าหลุยส์จับริชาร์ดเป็นนักโทษที่เลิน[6] ด้วยความกลัวว่ากษัตริย์จะทำร้ายเด็กน้อย อูสมงด์ เดอ ซงต์วีลล์, แบร์นาร์ด เดอ ซอนลีส (ที่เป็นสหายของปู่ของริชาร์ด รอลโล), อีโว เดอ เบลเลส์ม และแบร์นาร์ดผู้เป็นชาวเดนปล่อยริชาร์ดเป็นอิสระ[7]

ดยุคแห่งนอร์ม็องดี[แก้]

ใน ค.ศ. 946 ริชาร์ดตกลงอยู่ในความคุ้มครองของยูก เคานต์แห่งปารีส จากนั้นเขาผูกมิตรกับเหล่าผู้นำชาวนอร์มันและชาวไวกิ้ง พวกเขาร่วมกันผลักดันพระเจ้าหลุยส์ออกจากรูอ็องและยึดนอร์ม็องดีกลับคืนมาใน ค.ศ. 947[8] ใน ค.ศ. 962 ธีโอบาลที่ 1 เคานต์แห่งบลัวส์โจมตีรูอ็อง แต่กองทัพของริชาร์ดปราบพวกเขาได้[9] พระเจ้าโลแธร์ กษัตริย์แห่งฟรังเกียตะวันตกก้าวเข้ามายับยั้งการทำสงครามเพิ่มระหว่างทั้งคู่[10] ในช่วงของการครองตำแหน่งที่เหลือ ริชาร์ดเลือกที่จะไม่ทำให้นอร์ม็องดีใหญ่ขึ้น แต่เขาทำให้นอร์ม็องดีแข็งแกร่งขึ้นแทน[11]

ริชาร์ดใช้การแต่งงานในการสร้างพันธมิตรที่แข็งแกร่ง การแต่งงานกับเอ็มมาทำให้เขาได้สายสัมพันธ์กับตระกูลกาเปต์มา ภรรยาของเขากุนนอร์มาจากกลุ่มไวกิ้งฝั่งตรงข้ามในโคต็องแต็ง การแต่งงานกับเธอทำให้เขาได้การสนับสนุนจากครอบครัวของเธอ พี่น้องหญิงของเขาแต่งงานกับผู้ติดตามที่ภักดีหลายคนของริชาร์ด[12] ลูกๆ ผู้หญิงของริชาร์ดยังสร้างพันธมิตรด้วยการแต่งงานที่แสนมีค่ากับเคานต์ที่มีอำนาจและกษัตริย์แห่งอังกฤษ[12] ริชาร์ดยังทำให้โบสถ์และอารามใหญ่ๆ อยู่ฝั่งเดียวกับเขา ช่วงเวลาที่ครองตำแหน่งของเขาโดดเด่นด้วยการเป็นยุคแห่งสันติภาพและความสงบสุขที่ยาวนาน[13] ริชาร์ดตายที่เฟค็อมป์ นอร์ม็องดี เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 996[14]

การแต่งงาน[แก้]

ริชาร์ดแต่งงานครั้งแรก (ค.ศ. 960) กับเอ็มมา บุตรสาวของยูกผู้ยิ่งใหญ่แห่งฝรั่งเศส[2] ทั้งคู่สัญญากันตั้งแต่ยังเด็ก เธอตายหลังวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 968 ก่อนที่ทั้งคู่จะได้มีบุตรด้วยกัน[2]

ริชาร์ดมีบุตรกับอนุภรรยา กุนนอรา ที่ต่อมาริชาร์ดแต่งงานกับเธอเพื่อให้บุตรของทั้งคู่ถูกต้องตามกฎหมาย[2]

  1. ริชาร์ดที่ 2 ผู้ดีงาม ดยุคแห่งนอร์ม็องดี[2]
  2. โรแบต์ที่ 2 อาร์ชบิชอปแห่งรูอ็อง เคานต์แห่งอีฟโรซ์[2]
  3. มูเฌร์ เอิร์ลแห่งคอร์เบล์[2]
  4. เอ็มมาแห่งนอร์ม็องดี พระมเหสีของสองกษัตริย์แห่งอังกฤษ[2]
  5. โมดแห่งนอร์ม็องดี ภรรยาของโอโดที่ 2 เคานต์แห่งบลัวส์, ช็อมปาญ และชาร์ตร์[2]
  6. อาไวซ์แห่งนอร์ม็องดี แต่งงานกับจอฟฟรีย์ที่ 1 ดยุคแห่งบริตทานี[2]
  7. ปาเปียแห่งนอร์ม็องดี
  8. วิลเลี่ยม เคานต์แห่งอู

ลูกนอกสมรส[แก้]

เป็นที่รู้กันว่าริชาร์ดมีอนุภรรยาหลายคนและมีหลายคนที่เขามีลูกด้วย ลูกๆ ที่เป็นที่รู้จัก คือ

  • จอฟฟรีย์ เคานต์แห่งอู[15]
  • วิลเลี่ยม เคานต์แห่งอู[15]
  • เบียทริซแห่งนอร์ม็องดี พระอธิการิณีแห่งมงต์วีลลีเยร์ ตาย ค.ศ. 1034 แต่งงานกับอีบเบิลแห่งทูแร็นน์[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. The Annals of Flodoard of Reims; 916–966, ed. & trans. Steven Fanning and Bernard S. Bachrach (University of Toronto Press, 2011), p. 32
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 Detlev Schwennicke, Europäische Stammtafeln|Europäische Stammtafeln: Stammtafeln zur Geschichte der Europäischen Staaten, Neue Folge, Band II (Marburg, Germany: J. A. Stargardt, 1984), Tafel 79
  3. The Normans in Europe, ed. & trans. Elisabeth van Houts (Manchester University Press, 2000), p. 47 n. 77
  4. Eleanor Searle, Predatory Kinship and the Creation of Norman Power, 840–1066 (University of California Press, Berkeley, 1988), p. 95
  5. Pierre Riché, The Carolingians; A Family who Forged Europe, trans. Michael Idomir Allen (University of Pennsylvania Press, Philadelphia, 1993) pp. 262–3
  6. Eleanor Searle, Predatory Kinship and the Creation of Norman Power, 840–1066 (University of California Press, Berkeley, 1988), p. 80
  7. The Gesta Normannorum Ducum of William of Jumieges, Orderic Vatalis, and Robert of Torigni, Vol. I, ed. & trans. Elisabeth M.C. van Houts (Clarendon Press, Oxford, 1992) pp. 103, 105
  8. Eleanor Searle, Predatory Kinship and the Creation of Norman Power, 840–1066 (University of California Press, Berkeley, 1988), pp. 85–6
  9. he Annals of Flodoard of Reims; 916–966, ed. & trans. Steven Fanning and Bernard S. Bachrach (University of Toronto Press, 2011), p. 66
  10. Pierre Riché, The Carolingians; A Family who Forged Europe, trans. Michael Idomir Allen (University of Pennsylvania Press, Philadelphia, 1993), p. 265
  11. Eleanor Searle, Predatory Kinship and the Creation of Norman Power, 840–1066 (University of California Press, Berkeley, 1988), p. 89
  12. 12.0 12.1 A Companion to the Anglo-Norman World, ed. Christopher Harper-Bill, Elisabeth Van Houts (The Boydell Press, Woodbridge, 2007), p. 27
  13. François Neveux. A Brief History of The Normans(Constable & Robbinson, Ltd, London, 2008), pp. 73. 74
  14. François Neveux. A Brief History of The Normans(Constable & Robbinson, Ltd, London, 2008), p. 74
  15. 15.0 15.1 David Douglas, 'The Earliest Norman Counts', The English Historical Review, Vol.61, No. 240 (May 1946), p. 140