ข้ามไปเนื้อหา

ริชาร์ด และมัวริช แมคโดนัลด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ริชาร์ด (ดิ๊ก) แมคโดนัลด์
เกิดริชาร์ด เจมส์ แมคโดนัลด์
16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1909(1909-02-16)
Manchester, New Hampshire, U.S.
เสียชีวิต14 กรกฎาคม ค.ศ. 1998(1998-07-14) (89 ปี)
แมนเชสเตอร์ รัฐนิวแฮมป์เชียร์, สหรัฐ
สุสานMount Calvary Cemetery, แมนเชสเตอร์ รัฐนิวแฮมป์เชียร์, สหรัฐ
อาชีพผู้ประกอบการ
มีชื่อเสียงจากร่วมก่อตั้งแมคโดนัลด์
คู่สมรสโดโรธี แมคโดนัลด์
มัวริช (แมค) แมคโดนัลด์
เกิดมัวริช เจมส์ แมคโดนัลด์
26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1902(1902-11-26)
แมนเชสเตอร์ รัฐนิวแฮมป์เชียร์, สหรัฐ
เสียชีวิต11 ธันวาคม ค.ศ. 1971(1971-12-11) (69 ปี)
ริเวอร์ไซด์, รัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐ
สุสานDesert Memorial Park, Cathedral City, รัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐ
อาชีพผู้ประกอบการ
มีชื่อเสียงจากร่วมก่อตั้งแมคโดนัลด์
คู่สมรสโดโรธี คาร์เตอร์[ต้องการอ้างอิง]

ริชาร์ด เจมส์ และ มัวริช เจมส์ แมคโดนัลด์ เป็นผู้ประกอบการชาวอเมริกันที่ก่อตั้งร้านอาหารที่ชื่อแมคโดนัลด์ในเมืองซาน เบอร์นาร์ดิโน รัฐแคลิฟอร์เนีย และเป็นผู้คิดริเริ่ม"ระบบบริการอย่างรวดเร็ว"(Speedee Service System) ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันคือ "ฟาสต์ฟูด" หรืออาหารจานด่วน

อาชีพธุรกิจ

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1937 สองพี่น้องแมคโดนัลด์ได้เปิดร้านแผงขายฮอตดอกในเมืองมอนโรเวีย รัฐแคลิฟอร์เนีย ด้วยแรงบันดาลใจจากร้านแผงขายฮอตดอกในพื้นที่ท้องถิ่นที่ดูเหมือนจะเป็นธุรกิจที่ทำกำไรได้เพียงแห่งเดียวในเมือง และส่วนใหญ่ได้ทำหน้าที่เป็นร้านค้าประจำที่ลานสนามแข่งรถท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ร้านแผงก็มีลูกค้าน้อยลงหลังสิ้นสุดฤดูกาลแข่งรถ

มัวริชได้ตัดสินใจที่จะเปิดร้านขายฮอตดอกที่ใหญ่กว่าในเมืองซาน เบอร์นาร์ดิโน เมืองชนชั้นแรงงานขนาดใหญ่ ประมาณ 50 ไมล์ ทางด้านตะวันออก ซึ่งมีประชากรประมาณ 100,000 คน หลังจากธนาคารหลายแห่งได้ปฏิเสธที่จะให้กู้ยืมเงินที่จำเป็นสำหรับการลงทุนครั้งนี้ ธนาคารอเมริกาก็ได้อนุมัติในที่สุด และในปี ค.ศ. 1940 ด้วยเงินทุน 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ พวกเขาได้เปิดร้านอาหารแบบไดรฟอินที่หัวมุมถนนเหนือ อี 1398 และถนนตะวันตก 14(34°07′32″N 117°17′41″W / 34.1255°N 117.2946°W / 34.1255; -117.2946)

ร้านอาหารแห่งใหม่ได้ปรากฏให้เห็นว่าประสบความสำเร็จอย่างน่าประหลาดใจและในไม่ช้า สองพี่น้องก็สามารถทำรายได้ถึง 40,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้ชายที่เป็นวัยรุ่นหรือวัยหนุ่มในวัย 20 ปี ที่พวกเขาจะมาที่นั่นกันเพื่อมาจีบเด็กสาวเสริฟ์(ซึ่งที่เขาเรียกกันว่า คาร์ฮอฟ) หรือหนุ่มสาวครอบครัวทำงานกำลังมองหาร้านอาหารราคาถูกๆ สองพี่น้องแมคโดนัลด์ได้ตัดสินใจว่าลูกค้ากลุ่มนี้เป็นลูกค้าในอุดมคติที่พวกเขาต้องการดึงดูด

ภายหลังสองปีในการทำธุรกิจ สองพี่น้องได้เริ่มวางแผนที่จะปรับปรุงรูปแบบธุรกิจของตนเองตามบทเรียนที่ได้เรียนรู้มา หนึ่งในนั้นเกี่ยวข้องกับการหาวิธีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการให้บริการลูกค้ามากกว่าเด็กสาวเสริฟ์ ที่พวกเขาคิดว่าเป็นแรงงานที่เชื่องช้าและดูไม่น่าเชื่อถือซึ่งใช้เวลามากเกินไปในการจีบลูกค้าเพื่อเพิ่มค่าทิปแก่พวกเธอ อีกอย่างคือแฮมเบอร์เกอร์มีสัดส่วนยอดขายรวมที่สูง กรีดเดิล(กระทะแบน)ทำความสะอาดได้ง่ายกว่าเตาปิ้งและเบอร์เกอร์ก็ทำได้เร็วกว่าแซนด์วิซ

ในปี ค.ศ. 1948 สองพี่น้องได้ออกแบบและสร้างร้านอาหารแบบใหม่ในซาน เบอร์นาร์ดิโนเพื่อเพ่งเล็งไปที่แฮมเบอร์เกอร์ นมปั่น และเฟรนช์ฟราย[1] ในขณะที่ร้าน "แมคโดนัลด์" แห่งใหม่นี้ได้ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน แต่ยังคงให้ความสำคัญกับลูกค้าส่วนใหญ่ที่เดินทางมาด้วยรถยนต์ การออกแบบของมันนั้นมีเอกลักษณ์ เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างรวมเข้าด้วยกัน:

  • อย่างร้านแผงขายอาหารก่อนหน้าของสองพี่น้อง การออกแบบนั้นได้มีการตัดพื้นที่รับประทานอาหารภายในอย่างจงใจ
  • ไม่มีพนักงานที่ยืนรอคอย สั่งซื้อด้วยตัวเองที่หน้าเคาน์เตอร์ซึ่งอาหารจะถูกจัดเตรียมส่งในทันที
  • สองพี่น้องได้ออกแบบพื้นที่ห้องครัวด้วยตัวเองโดยผสานความรู้ที่ได้รับเข้ากับสายการผลิต-รูปแบบสไตล์ที่เพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตสูงสุด
  • เบอร์เกอร์จะถูกปรุงสุกล่วงหน้าและเก็บไว้ในที่อุ่นๆ

ร้านอาหารแห่งใหม่นี้ได้ประสบความสำเร็จและมีเป้าหมายในการสร้างรายได้ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐก่อนที่พวกเขาจะมีอายุครบ 50 ปี[2] สองพี่น้องแมคโดนัลด์ได้เริ่มทำระบบแฟรนไชส์ในปี ค.ศ. 1953 เริ่มต้นด้วยร้านอาหารในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนาโดยนีล ฟอกซ์[3] ในตอนแรกพวกเขาเท่านั้นที่ทำระบบแฟรนไชส์ แทนที่จะเป็นชื่อร้านอาหารของพวกเขา ต่อมาสองพี่น้องได้เริ่มแนวคิดแฟรนไชส์ทั้งหมด ด้วยร้านอาหารที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการออกแบบตามมาตรฐาน ถูกสร้างขึ้นในเมืองฟอนทานา รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยสถาปนิกที่ชื่อว่า Stanley Clark Meston และข้อเสนอแนะที่โดดเด่นของริชาร์ดเกี่ยวกับสัญลักษณ์ Golden Arches ซึ่งจับคู่กันจึงกลายมาเป็นคำว่า เอ็ม(M) เมื่อมองจากมุมหนึ่ง

ในปี ค.ศ. 1954 สองพี่น้องแมคโดนัลด์ได้ร่วมหุ้นส่วนกับเรย์ คลอก แฟรนไชส์ได้เอา 1.9 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายรวม ซึ่งสองพี่น้องแมคโดนัลด์จะได้รับ 0.5 เปอร์เซ็นต์[4] สองพี่น้องแมคโดนัลด์ต้องการที่จะเก็บร้านอาหารเพียงจำนวนน้อย ซึ่งขัดแย้งกับเป้าหมายของคลอก จนในที่สุดคลอกได้ซื้อร้านมาในปี ค.ศ. 1961

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1984 ริชาร์ด แมคโดนัลด์ พ่อครัวคนแรกที่อยู่เบื้องหลังการย่างของแมคโดนัลด์ ได้รับเชิญทำหน้าที่ในงานพิธีแฮมเบอร์เกอร์ 50 พันล้านชิ้นโดยเอ็ด เรนซี ประธานบริษัทแมคโดนัลด์ของสหรัฐอเมริกา ที่ Grand Hyatt New York ในนครนิวยอร์ก[5][6][7]

เสียชีวิตและมรดก

[แก้]

มัวริช แมคโดนัลด์ได้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ในเมืองริเวอร์ไซด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1971 อายุ 69 ปี ร่างของเขาได้ถูกฝังที่ Desert Memorial Park, ใน Cathedral City, รัฐแคลิฟอร์เนีย

ริชาร์ด แมคโดนัลด์ได้เสียชีวิตในบ้านพักคนชราในเมืองแมนเชสเตอร์ รัฐนิวแฮมป์เชียร์ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1998 อายุ 89 ปี[8] ร่างของเขาได้ถูกฝังใกล้กับสุสาน Mount Calvary ในเมืองแมนเชสเตอร์ บ้านเกิดของเขา[9][10][11] โดโรธี ภรรยาของเขาได้เสียชีวิต เมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1999 ร่างของเธอถูกฝังในที่เดียวกันกับสามี

ในปี ค.ศ. 2016 ภาพยนตร์เรื่อง The Founder(อยากรวยต้องเหนือเกม) ภาพยนตร์ชีวประวัติของเรย์ คลอก—ริชาร์ด แมคโดนัลด์ รับบทโดย Nick Offerman และ John Carroll Lynch รับบทบาทเป็นมัวริช แมคโดนัลด์

อ้างอิง

[แก้]
  1. "History of McDonald's". aboutmcdonalds.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-26. สืบค้นเมื่อ 2020-02-26.
  2. Gilpin, Kenneth N. (July 16, 1998). "Richard McDonald, 89, Fast-Food Revolutionary". The New York Times. สืบค้นเมื่อ June 5, 2017.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ McDonald's history2
  4. Business Stories of All Time: Ray Kroc; John Wiley & Sons; 1996.
  5. Anderson, Susan Heller; David W. Dunlap (November 21, 1984). "New York Day By Day; 50 Billion and Still Cooking". The New York Times. สืบค้นเมื่อ May 14, 2012.
  6. "Restaurant Innovator Richard McDonald Dies at 89: Pioneered McDonald's, World's Largest Restaurant System". Hotel Online. July 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-19. สืบค้นเมื่อ May 14, 2012.
  7. "La reina de la cocina (rápida) cumple 100 años". May 30, 2004 El Mundo (Spain).
  8. Gilpin, Kenneth N. (1998-07-16). "Richard McDonald, 89, Fast-Food Revolutionary". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2017-10-21.
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Gilpin 19982
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ h-o2
  11. "Fast food supremo dies" July 15, 1998. BBC News. Accessed January 6, 2007.