ริชาร์ด และมัวริช แมคโดนัลด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ริชาร์ด (ดิ๊ก) แมคโดนัลด์
เกิดริชาร์ด เจมส์ แมคโดนัลด์
16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1909(1909-02-16)
Manchester, New Hampshire, U.S.
เสียชีวิต14 กรกฎาคม ค.ศ. 1998(1998-07-14) (89 ปี)
แมนเชสเตอร์ รัฐนิวแฮมป์เชียร์, สหรัฐ
สุสานMount Calvary Cemetery, แมนเชสเตอร์ รัฐนิวแฮมป์เชียร์, สหรัฐ
อาชีพผู้ประกอบการ
มีชื่อเสียงจากร่วมก่อตั้งแมคโดนัลด์
คู่สมรสโดโรธี แมคโดนัลด์
มัวริช (แมค) แมคโดนัลด์
เกิดมัวริช เจมส์ แมคโดนัลด์
26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1902(1902-11-26)
แมนเชสเตอร์ รัฐนิวแฮมป์เชียร์, สหรัฐ
เสียชีวิต11 ธันวาคม ค.ศ. 1971(1971-12-11) (69 ปี)
ริเวอร์ไซด์, รัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐ
สุสานDesert Memorial Park, Cathedral City, รัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐ
อาชีพผู้ประกอบการ
มีชื่อเสียงจากร่วมก่อตั้งแมคโดนัลด์
คู่สมรสโดโรธี คาร์เตอร์[ต้องการอ้างอิง]

ริชาร์ด เจมส์ และ มัวริช เจมส์ แมคโดนัลด์ เป็นผู้ประกอบการชาวอเมริกันที่ก่อตั้งร้านอาหารที่ชื่อแมคโดนัลด์ในเมืองซาน เบอร์นาร์ดิโน รัฐแคลิฟอร์เนีย และเป็นผู้คิดริเริ่ม"ระบบบริการอย่างรวดเร็ว"(Speedee Service System) ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันคือ "ฟาสต์ฟูด" หรืออาหารจานด่วน

อาชีพธุรกิจ[แก้]

ในปี ค.ศ. 1937 สองพี่น้องแมคโดนัลด์ได้เปิดร้านแผงขายฮอตดอกในเมืองมอนโรเวีย รัฐแคลิฟอร์เนีย ด้วยแรงบันดาลใจจากร้านแผงขายฮอตดอกในพื้นที่ท้องถิ่นที่ดูเหมือนจะเป็นธุรกิจที่ทำกำไรได้เพียงแห่งเดียวในเมือง และส่วนใหญ่ได้ทำหน้าที่เป็นร้านค้าประจำที่ลานสนามแข่งรถท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ร้านแผงก็มีลูกค้าน้อยลงหลังสิ้นสุดฤดูกาลแข่งรถ

มัวริชได้ตัดสินใจที่จะเปิดร้านขายฮอตดอกที่ใหญ่กว่าในเมืองซาน เบอร์นาร์ดิโน เมืองชนชั้นแรงงานขนาดใหญ่ ประมาณ 50 ไมล์ ทางด้านตะวันออก ซึ่งมีประชากรประมาณ 100,000 คน หลังจากธนาคารหลายแห่งได้ปฏิเสธที่จะให้กู้ยืมเงินที่จำเป็นสำหรับการลงทุนครั้งนี้ ธนาคารอเมริกาก็ได้อนุมัติในที่สุด และในปี ค.ศ. 1940 ด้วยเงินทุน 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ พวกเขาได้เปิดร้านอาหารแบบไดรฟอินที่หัวมุมถนนเหนือ อี 1398 และถนนตะวันตก 14(34°07′32″N 117°17′41″W / 34.1255°N 117.2946°W / 34.1255; -117.2946)

ร้านอาหารแห่งใหม่ได้ปรากฏให้เห็นว่าประสบความสำเร็จอย่างน่าประหลาดใจและในไม่ช้า สองพี่น้องก็สามารถทำรายได้ถึง 40,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้ชายที่เป็นวัยรุ่นหรือวัยหนุ่มในวัย 20 ปี ที่พวกเขาจะมาที่นั่นกันเพื่อมาจีบเด็กสาวเสริฟ์(ซึ่งที่เขาเรียกกันว่า คาร์ฮอฟ) หรือหนุ่มสาวครอบครัวทำงานกำลังมองหาร้านอาหารราคาถูกๆ สองพี่น้องแมคโดนัลด์ได้ตัดสินใจว่าลูกค้ากลุ่มนี้เป็นลูกค้าในอุดมคติที่พวกเขาต้องการดึงดูด

ภายหลังสองปีในการทำธุรกิจ สองพี่น้องได้เริ่มวางแผนที่จะปรับปรุงรูปแบบธุรกิจของตนเองตามบทเรียนที่ได้เรียนรู้มา หนึ่งในนั้นเกี่ยวข้องกับการหาวิธีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการให้บริการลูกค้ามากกว่าเด็กสาวเสริฟ์ ที่พวกเขาคิดว่าเป็นแรงงานที่เชื่องช้าและดูไม่น่าเชื่อถือซึ่งใช้เวลามากเกินไปในการจีบลูกค้าเพื่อเพิ่มค่าทิปแก่พวกเธอ อีกอย่างคือแฮมเบอร์เกอร์มีสัดส่วนยอดขายรวมที่สูง กรีดเดิล(กระทะแบน)ทำความสะอาดได้ง่ายกว่าเตาปิ้งและเบอร์เกอร์ก็ทำได้เร็วกว่าแซนด์วิซ

ในปี ค.ศ. 1948 สองพี่น้องได้ออกแบบและสร้างร้านอาหารแบบใหม่ในซาน เบอร์นาร์ดิโนเพื่อเพ่งเล็งไปที่แฮมเบอร์เกอร์ นมปั่น และเฟรนช์ฟราย[1] ในขณะที่ร้าน "แมคโดนัลด์" แห่งใหม่นี้ได้ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน แต่ยังคงให้ความสำคัญกับลูกค้าส่วนใหญ่ที่เดินทางมาด้วยรถยนต์ การออกแบบของมันนั้นมีเอกลักษณ์ เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างรวมเข้าด้วยกัน:

  • อย่างร้านแผงขายอาหารก่อนหน้าของสองพี่น้อง การออกแบบนั้นได้มีการตัดพื้นที่รับประทานอาหารภายในอย่างจงใจ
  • ไม่มีพนักงานที่ยืนรอคอย สั่งซื้อด้วยตัวเองที่หน้าเคาน์เตอร์ซึ่งอาหารจะถูกจัดเตรียมส่งในทันที
  • สองพี่น้องได้ออกแบบพื้นที่ห้องครัวด้วยตัวเองโดยผสานความรู้ที่ได้รับเข้ากับสายการผลิต-รูปแบบสไตล์ที่เพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตสูงสุด
  • เบอร์เกอร์จะถูกปรุงสุกล่วงหน้าและเก็บไว้ในที่อุ่นๆ

ร้านอาหารแห่งใหม่นี้ได้ประสบความสำเร็จและมีเป้าหมายในการสร้างรายได้ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐก่อนที่พวกเขาจะมีอายุครบ 50 ปี[2] สองพี่น้องแมคโดนัลด์ได้เริ่มทำระบบแฟรนไชส์ในปี ค.ศ. 1953 เริ่มต้นด้วยร้านอาหารในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนาโดยนีล ฟอกซ์[3] ในตอนแรกพวกเขาเท่านั้นที่ทำระบบแฟรนไชส์ แทนที่จะเป็นชื่อร้านอาหารของพวกเขา ต่อมาสองพี่น้องได้เริ่มแนวคิดแฟรนไชส์ทั้งหมด ด้วยร้านอาหารที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการออกแบบตามมาตรฐาน ถูกสร้างขึ้นในเมืองฟอนทานา รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยสถาปนิกที่ชื่อว่า Stanley Clark Meston และข้อเสนอแนะที่โดดเด่นของริชาร์ดเกี่ยวกับสัญลักษณ์ Golden Arches ซึ่งจับคู่กันจึงกลายมาเป็นคำว่า เอ็ม(M) เมื่อมองจากมุมหนึ่ง

ในปี ค.ศ. 1954 สองพี่น้องแมคโดนัลด์ได้ร่วมหุ้นส่วนกับเรย์ คลอก แฟรนไชส์ได้เอา 1.9 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายรวม ซึ่งสองพี่น้องแมคโดนัลด์จะได้รับ 0.5 เปอร์เซ็นต์[4] สองพี่น้องแมคโดนัลด์ต้องการที่จะเก็บร้านอาหารเพียงจำนวนน้อย ซึ่งขัดแย้งกับเป้าหมายของคลอก จนในที่สุดคลอกได้ซื้อร้านมาในปี ค.ศ. 1961

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1984 ริชาร์ด แมคโดนัลด์ พ่อครัวคนแรกที่อยู่เบื้องหลังการย่างของแมคโดนัลด์ ได้รับเชิญทำหน้าที่ในงานพิธีแฮมเบอร์เกอร์ 50 พันล้านชิ้นโดยเอ็ด เรนซี ประธานบริษัทแมคโดนัลด์ของสหรัฐอเมริกา ที่ Grand Hyatt New York ในนครนิวยอร์ก[5][6][7]

เสียชีวิตและมรดก[แก้]

มัวริช แมคโดนัลด์ได้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ในเมืองริเวอร์ไซด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1971 อายุ 69 ปี ร่างของเขาได้ถูกฝังที่ Desert Memorial Park, ใน Cathedral City, รัฐแคลิฟอร์เนีย

ริชาร์ด แมคโดนัลด์ได้เสียชีวิตในบ้านพักคนชราในเมืองแมนเชสเตอร์ รัฐนิวแฮมป์เชียร์ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1998 อายุ 89 ปี[8] ร่างของเขาได้ถูกฝังใกล้กับสุสาน Mount Calvary ในเมืองแมนเชสเตอร์ บ้านเกิดของเขา[9][10][11] โดโรธี ภรรยาของเขาได้เสียชีวิต เมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1999 ร่างของเธอถูกฝังในที่เดียวกันกับสามี

ในปี ค.ศ. 2016 ภาพยนตร์เรื่อง The Founder(อยากรวยต้องเหนือเกม) ภาพยนตร์ชีวประวัติของเรย์ คลอก—ริชาร์ด แมคโดนัลด์ รับบทโดย Nick Offerman และ John Carroll Lynch รับบทบาทเป็นมัวริช แมคโดนัลด์

อ้างอิง[แก้]

  1. "History of McDonald's". aboutmcdonalds.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-26. สืบค้นเมื่อ 2020-02-26.
  2. Gilpin, Kenneth N. (July 16, 1998). "Richard McDonald, 89, Fast-Food Revolutionary". The New York Times. สืบค้นเมื่อ June 5, 2017.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ McDonald's history2
  4. Business Stories of All Time: Ray Kroc; John Wiley & Sons; 1996.
  5. Anderson, Susan Heller; David W. Dunlap (November 21, 1984). "New York Day By Day; 50 Billion and Still Cooking". The New York Times. สืบค้นเมื่อ May 14, 2012.
  6. "Restaurant Innovator Richard McDonald Dies at 89: Pioneered McDonald's, World's Largest Restaurant System". Hotel Online. July 1998. สืบค้นเมื่อ May 14, 2012.
  7. "La reina de la cocina (rápida) cumple 100 años". May 30, 2004 El Mundo (Spain).
  8. Gilpin, Kenneth N. (1998-07-16). "Richard McDonald, 89, Fast-Food Revolutionary". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2017-10-21.
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Gilpin 19982
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ h-o2
  11. "Fast food supremo dies" July 15, 1998. BBC News. Accessed January 6, 2007.