ข้ามไปเนื้อหา

รัชฎาภรณ์ แก้วสนิท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัชฎาภรณ์ แก้วสนิท
รัชฎาภรณ์ ใน พ.ศ. 2565
กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์สำรอง
เริ่มดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 342 วัน)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
(5 ปี 351 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
รัชฎาภรณ์ เล็กวานิช

5 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 (72 ปี)
อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2550–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)

รัชฎาภรณ์ แก้วสนิท (เกิด 5 เมษายน พ.ศ. 2495) เป็นกรรมการบริหารสำรองพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนักศึกษาหลบหนีเข้าป่าจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 "สหายศรัทธา" เป็นชื่อจัดตั้งในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)[1]

ประวัติ

[แก้]

นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2495 มีชื่อเล่นว่า "ปุ๊" ที่อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา จาก โรงเรียนสตรีกาฬสินธุ์ หรือโรงเรียนอนุกูลนารี จังหวัดกาฬสินธุ์ในปัจจุบัน ชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์ ระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)[2]

การทำงาน

[แก้]

นางรัชฎาภรณ์ เคยรับราชการประจำกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อมาจึงมารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้นจึงได้เข้ามาสู่งานการเมืองโดยการเป็นผู้ประสานงานขบวนผู้หญิงกับการปฏิรูปการเมือง เป็นที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ในปี พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วนกลุ่มที่ 3 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในระบบบัญชีรายชื่อ[3] และได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24

นางรัชฎาภรณ์ เป็นผู้มีบทบาทในการดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ซึ่งมีการเสนอจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 [4] และวันที่ 8 กันยายน 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558" มีผลให้มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ สิ้นสุดสถานะความเป็นสถาบันอุดมศึกษาในวันถัดจากวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษา และเป็นการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ขึ้นในวันเดียวกัน [5]

ในปี 2562 เธอได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 41[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สหายศรัทธา"ส.ส.หญิงชี้ขบวนการล้มเจ้ามีจริง เก็บถาวร 2010-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์ กรุงเทพธุรกิจ
  2. ประวัติ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นข้อมูล 14 กันยายน 2554
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  4. "หารือตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ท่ามกลางเสียงคัดค้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-28. สืบค้นเมื่อ 2012-10-02.
  5. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอน 86 ก หน้า 45 8 กันยายน 2558
  6. เปิด 150 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ [ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ รวมทั้งสิ้น ๘,๙๓๔ ราย]" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2013-08-31.