ข้ามไปเนื้อหา

ยูเอสเอส แฮร์รี เอส. ทรูแมน (CVN-75)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูเอสเอส แฮร์รี เอส. ทรูแมน ในเดือนกันยายน 2018
ประวัติ
สหรัฐอเมริกา
ชื่อ
ตั้งชื่อตามพันเอก แฮร์รี เอส. ทรูแมน
Ordered30 มิถุนายน 1988
อู่เรือนิวพอร์ตนิวส์ชิปบิลดิง
มูลค่าสร้างUS$4,500 ล้าน
ปล่อยเรือ29 พฤศจิกายน 1993
เดินเรือแรก7 กันยายน 1996
เข้าประจำการ25 กรกฎาคม 1998 (26 ปี)
เปลี่ยนชื่อใหม่จาก ยูไนเต็ดสเตต
ท่าจอดฐานทัพเรือนอร์ฟอล์ก
รหัสระบุ
คำขวัญ
ชื่อเล่นHST
สถานะอยู่ในประจำการ
สัญลักษณ์
ลักษณะเฉพาะ
ชั้น: นิมิตซ์
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 103,900 ลองตัน (116,400 ชอร์ตตัน)[1][2]
ความยาว:
  • ตลอดลำ: 1,092 ฟุต (332.8 เมตร)
  • แนวน้ำ: 1,040 ฟุต (317.0 เมตร)
ความกว้าง:
  • กว้างสุด: 252 ฟุต (76.8 เมตร)
  • แนวน้ำ: 134 ฟุต (40.8 เมตร)
  • กินน้ำลึก:
  • สูงสุดสำหรับเดินเรือ: 37 ฟุต (11.3 เมตร)
  • ขีดจำกัด: 41 ฟุต (12.5 เมตร)
  • ระบบขับเคลื่อน:
  • 2 × เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Westinghouse A4W (ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะสูง 93.5%)
  • 4 × กังหันไอน้ำ
  • 4 × เพลาใบจักร
  • กำลัง 260,000 แรงม้า (194 เมกะวัตต์)
  • ความเร็ว: มากกว่า 30 นอต (56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 35 ไมล์ต่อชั่วโมง)
    พิสัยเชื้อเพลิง: ไม่จำกัดระยะทาง 20–25 ปี
    อัตราเต็มที่:
    • ประจำเรือ: 3,532 นาย
    • ฝูงบินประจำเรือ: 2,480 นาย
    ระบบตรวจการและปฏิบัติการ:
  • เรดาร์ค้นหาทางอากาศ 3 มิติ AN/SPS-48E
  • เรดาร์ค้นหาทางอากาศ 2 มิติ AN/SPS-49(V)5
  • เรดาร์จับเป้าหมาย AN/SPQ-9B
  • เรดาร์ควบคุมการจราจรทางอากาศ AN/SPN-46
  • เรดาร์ควบคุมการจราจรทางอากาศ AN/SPN-43C
  • เรดาร์ช่วยลงจอด AN/SPN-41
  • 4 × ระบบนำวิถีขีปนาวุธ Mark 91 NSSM
  • 4 × เรดาร์นำวิถีขีปนาวุธ Mark 95
  • สงครามอิเล็กทรอนิกส์และเป้าลวง:
  • ระบบต่อต้านการสงครามอิเล็กทรอนิกส์ AN/SLQ-32A(V)4
  • ระบบต่อต้านตอร์ปิโด SLQ-25A Nixie
  • ยุทโธปกรณ์:
  • 2 × แท่นปล่อย Mark 57 Mod 3 สำหรับอาวุธปล่อยผิวพื้นสู่อากาศ อาร์ไอเอ็ม-7 ซีสแปโรว์
  • 2 × แท่นปล่อยสำหรับอาวุธปล่อยผิวพื้นสู่อากาศ อาร์ไอเอ็ม-116 Rolling Airframe Missile
  • 3 × Phalanx CIWS
  • เกราะ: เป็นความลับ
    อากาศยาน: อากาศยานปีกนิ่งและเฮลิคอปเตอร์ 90 ลำ

    ยูเอสเอส แฮร์รี เอส. ทรูแมน (CVN-75) (อังกฤษ: USS Harry S. Truman) เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ลำดับที่ 8 จากทั้งหมด 10 ลำในกลุ่มเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์ของกองทัพเรือสหรัฐ ได้รับการตั้งชื่อตามประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 33 พันเอก แฮร์รี เอส. ทรูแมน ปัจจุบันประจำการอยู่ที่ฐานทัพเรือนอร์ฟอล์ก รัฐเวอร์จิเนีย

    ยูเอสเอส แฮร์รี เอส. ทรูแมน ถูกปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 7 กันยายน 1996 โดยอู่ต่อเรือนิวพอร์ตนิวส์ชิปบิลดิง ในเมืองนิวพอร์ตนิวส์ รัฐเวอร์จิเนีย[3] และจัดพิธีเข้าประจำการเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 1998 โดยมีกัปตันทอมัส ออตเตอร์ไบน์ เป็นผู้บัญชาการเรือ ประธานาธิบดีบิล คลินตัน เป็นประธานในพิธี และผู้เข้าร่วมงานสำคัญคนอื่น ๆ ได้แก่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐมิสซูรี ไอก์ สเกลตัน ผู้ว่าการรัฐมิสซูรี เมล คาร์นาฮัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม วิลเลียม โคเฮน และรัฐมนตรีว่าการทบวงทหารเรือ จอห์น เอช. ดาลตัน

    ยูเอสเอส แฮร์รี เอส. ทรูแมน เดิมเป็นเรือธงของกองเรือจู่โจมที่ 2 (CSG-2) และได้เป็นเรือธงของกองเรือจู่โจมที่ 10 (CSG-10) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2004 เป็นต้นไป

    ตั้งแต่ปี 2001 กองเรือจู่โจมแฮร์รี เอส. ทรูแมน ได้เข้าร่วมปฏิบัติการต่าง ๆ ดังนี้ ปฏิบัติการร่วมมือ (Operation Joint Endeavor), ปฏิบัติการห้ามบิน (Operation Deny Flight), ปฏิบัติการเฝ้าระวังทางใต้ (Operation Southern Watch), ปฏิบัติการเสรีภาพยั่งยืน (Operation Enduring Freedom ), ปฏิบัติการเสรีภาพอิรัก (Operation Iraqi Freedom), ปฏิบัติการชีพจรฤดูร้อน '04 (Summer Pulse '04) และ ปฏิบัติการเม็ดชาร์ก/เมเจสติก อีเกิล '04 (NATO Operation Medshark/Majestic Eagle '04) ขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (เนโท)[4]

    ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2016 ยูเอสเอส แฮร์รี เอส. ทรูแมน ในฐานะเรือธงของกองเรือจู่โจมที่ 8 ได้ปฏิบัติภารกิจทางอากาศนาน 8 เดือน โจมตีกลุ่มไอซิล (ISIL) จากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการความเด็ดขาดแน่วแน่ (Operation Inherent Resolve)[5][6][7][8] ซึ่งเรือลำนี้เป็นเรือธงของกองเรือจู่โจมที่ 8 มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2014.[9]

    อ้างอิง

    [แก้]
    1. Polmar, Norman (2004). The Naval Institute guide to the ships and aircraft of the U.S. fleet. Naval Institute Press. p. 112. ISBN 978-1-59114-685-8. nimitz class displacement.
    2. "CVN-68: NIMITZ CLASS" (PDF).
    3. "Aircraft Carrier Photo Index: USS HARRY S. TRUMAN (CVN-75)". www.navsource.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2012. สืบค้นเมื่อ 16 August 2016.
    4. "Harry S Truman Strike Group". Military. GlobalSecurity.org. 7 May 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2011. สืบค้นเมื่อ 31 August 2011.
    5. "Harry S Truman Carrier Strike Group Launches First OIR Missions". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2017. สืบค้นเมื่อ 28 December 2017.
    6. "Navy Launches Counter-ISIL Sorties From Mediterranean Sea". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2016. สืบค้นเมื่อ 28 December 2017.
    7. "U.S. Navy Strikes at ISIL From the Med". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2017. สืบค้นเมื่อ 28 December 2017.
    8. Truman, USS Harry S. "6 months preparing, 8 months supporting combat operations and just a little longer to bring it home. #FinishStrongpic.twitter.com/kLKHt8w3Dt". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2016. สืบค้นเมื่อ 28 December 2017.
    9. Mass Communication Specialist 3rd Class Taylor DiMartino (20 เมษายน 2015). "Carrier Strike Group 8 Changes Command, Continues Deployment Preparation". U.S. Navy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2017.

    แหล่งข้อมูลอื่น

    [แก้]