ยุทธการที่แปะแบ๊
ยุทธการที่แปะแบ๊ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การทัพกัวต๋อ | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
อ้วนเสี้ยว | โจโฉ | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
อ้วนเสี้ยว งันเหลียง † |
โจโฉ เล่าเอี๋ยน กวนอู | ||||||
กำลัง | |||||||
ประมาณ 10,000 คนใต้การบัญชาของงันเหลียง[1] | ไม่ทราบ จำนวนน้อยกว่าฝ่ายอ้วนเสี้ยว |
ยุทธการที่แปะแบ๊ | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 白馬之戰 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 白马之战 | ||||||
|
ยุทธการที่แปะแบ๊ (จีน: 白馬之戰) เป็นศึกแรกในชุดสงครามที่นำไปสู่ศึกแตกหักในยุทธการที่กัวต๋อ ระหว่างขุนศึกอ้วนเสี้ยวและโจโฉในภาคเหนือของจีนในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของจีน แม้ว่าจะโจโฉชนะในศึกนี้และอ้วนเสี้ยวเสียงันเหลียงขุนพลฝีมือดี แต่โจโฉก็ทิ้งที่มั่นที่แปะแบ๊เพื่อเข้ายึดกุมจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่กัวต๋อ
ภูมิหลัง
[แก้]ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 190 ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกเข้าสู่ยุคขุนศึก หลังจากผ่านไปหลายปี จีนตอนเหนือก็ถูกแบ่งตามแนวแม่น้ำฮวงโหโดย 2 ขุนศึก: อ้วนเสื้ยวทางเหนือ และอดีตพันธมิตรของเขาคือโจโฉทางใต้ เมื่อเห็นได้ชัดว่าการเผชิญหน้าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ขุนศึกทั้ง 2 จึงรวบรวมกำลังตั้งรับตามแนวแม่น้ำฮวงโห
ในเวลานั้น ไป๋หม่า (白馬) อยู่ทางใต้ของแม่น้ำตรงข้ามกับลี่หยาง (黎陽) ซึ่งเป็นฐานทัพสำคัญของอ้วนเสี้ยว[2]
ยุทธการ
[แก้]ระหว่างวันที่ 3 มีนาคมและวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 200 อ้วนเสี้ยวให้ขุนพลงันเหลียงพร้อมด้วยกัวเต๋าและอิเขงเข้าแม่น้ำไปโจมตีที่มั่นของเล่าเอี๋ยนที่แปะแบ๊ ตัวอ้วนเสี้ยวตั้งมั่นอยู่ด้านหลังที่ลิหยงพร้อมกองทัพหลักเตรียมจะข้ามแม่น้ำ[3] ก่อนหน้านี้จอสิวที่ปรึกษาของอ้วนเสี้ยวคัดค้านไม่ให้งันเหลียงนำทัพไปโจมตี กล่าวว่างันเหลียงแม้จะกล้าหาญแต่ก็ใจร้อนหุนหันไม่อาจจัดการภารกิจเพียงลำพัง แต่อ้วนเสี้ยวปฏิเสธคำแนะนำของจอสิว
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผลสืบเนื่อง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ในนิยายสามก๊ก
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ de Crespigny (1996), Jian'an 4: I.
- ↑ de Crespigny (1996), Jian'an 4 note 16.
- ↑ Leban (1971), p. 355.
อ้างอิง
[แก้]- เดอ เครสพิกนี, เรฟ (1996). To Establish Peace: being the Chronicle of the Later Han dynasty for the years 189 to 220 AD as recorded in Volumes 59 to 69 of the Zizhi tongjian of Sima Guang. Vol. 1. Canberra: Faculty of Asian Studies, The Australian National University. ISBN 0-7315-2526-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-04. สืบค้นเมื่อ 2019-09-09.
- Leban, Carl (1971). Ts'ao Ts'ao and the Rise of Wei: The Early Years. Columbia University.
- ล่อกวนตง (ศตวรรษที่ 14). สามก๊ก (ซันกั๋วเหยี่ยนอี้).