ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการที่เวียนนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการเวียนนา
Battle of Vienna
ส่วนหนึ่งของ มหาสงครามตุรกี และ
สงครามออตโตมัน-ฮาพส์บวร์ค

ยุทธการเวียนนา เมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1683
วันที่12 กันยายน ค.ศ. 1683
สถานที่
ผล สันนิบาตศักดิ์สิทธิ์ชนะ
คู่สงคราม

สันนิบาตศักดิ์สิทธิ์:

เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย
ราชาธิปไตยฮาพส์บวร์ค กษัตริย์ฮาพส์บวร์ค
 รัฐไบเอิร์น
แซกโซนี
ฟรังโคเนีย
สเวเบีย
คอสแซคซาโพโรเซียน
แกรนด์ดัชชีตอสคานา
 จักรวรรดิออตโตมัน
รัฐบริวารของออตโตมัน:
อาณาจักรข่านไครเมีย
ราชรัฐทรานซิลเวเนีย
 ราชรัฐวอลเลเกีย
 ราชรัฐมอลเดเวีย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
John III Sobieski
ราชาธิปไตยฮาพส์บวร์ค Count von Starhemberg
จักรวรรดิออตโตมัน Kara Mustafa Pasha
กำลัง

ราว 84,000 คน

  • ปืนใหญ่ 152 กระบอก

ราว 150,000 หรือ 300,000 คน

  • 20,000 ทหาร
  • ปืนใหญ่ 300 กระบอก
ความสูญเสีย

Pretty much, inter alia:

หนัก,
ราว 10,000+ เชลย,
เสียปืนใหญ่ทั้งหมด

ยุทธการเวียนนา (เยอรมัน: Schlacht am Kahlenberg, ตุรกี: İkinci Viyana Kuşatması, อังกฤษ: Battle of Vienna) เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 11 ถึง 12 กันยายน[2] ค.ศ. 1683 หลังจากเวียนนาถูกล้อมโดยจักรวรรดิออตโตมันอยู่เป็นเวลาสองเดือน ยุทธการเวียนนาเป็นการต่อสู้ระหว่างสันนิบาตศักดิ์สิทธิ์กับฝ่ายจักรวรรดิออตโตมันและรัฐบริวารไม่ไกลจากเนินเขาคาห์เลนแบร์กในเวียนนา ยุทธการเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างอำนาจของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คในยุโรปกลาง

กองทัพเวียนนานำโดยเอิร์นสท์ รืดิเกอร์ กราฟ ฟอน สตาร์เฮมแบร์กภายใต้การบังคับบัญชาของสมเด็จพระจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ชัยชนะของยุทธการใหญ่เป็นของฝ่ายกองทัพโปแลนด์, ออสเตรีย และ เยอรมัน ภายใต้การนำของพระมหากษัตริย์โปแลนด์พระเจ้าจอห์นที่ 3 โซบีสกี ในการต่อสู้กับกองทัพของจักรวรรดิออตโตมันและกองทัพของรัฐบริวารที่นำโดยมหาเสนาบดีปาชาคารา มุสตาฟา

ตามความเห็นบางความเห็นกล่าวว่ายุทธการครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนแปลงของสงครามออตโตมัน-ฮาพส์บวร์คซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐอำนาจต่างๆ ในยุโรปกลางกับจักรวรรดิออตโตมันที่ดำเนินมาร่วมสามร้อยปี อีกความเห็นหนึ่งก็ว่าเป็นลมหายใจเฮือกสุดท้ายของจักรวรรดิออตโตมันที่เมื่อถึงจุดนั้นก็เป็นช่วงที่ขยายตัวจนเกินตัวอยู่แล้ว สิบหกปีหลังจากการที่ยุทธการสิ้นสุดลงราชวงศ์ฮาพส์บวร์คแห่งออสเตรียก็เริ่มเข้ามามีอำนาจทางตอนใต้ของฮังการี และ ทรานซิลเวเนียที่เดิมอยู่ภายใต้อำนาจของออตโตมัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. comments on XVII century epistolography by Antoni Zygmunt Helcel, 1860, Kraków
  2. Date of Battle

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ยุทธการเวียนนา