สงครามฮุสไซต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามฮุสไซต์
Josef Mathauser - Jan Žižka s knězem Václavem Korandou roku 1420 hledí s Vítkova na Prahu.jpg
ยัน ชิชกาและบาทหลวงฮุสไซต์ยืนมองกรุงปราก
หลังยุทธการที่เนินวิตคอฟ
วันที่30 กรกฎาคม 1419 – 30 พฤษภาคม 1434
สถานที่ยุโรปกลาง (ส่วนใหญ่ในดินแดนราชบัลลังก์โบฮีเมีย)
ผล

ฮุสไซต์ชนะ[1]

คู่สงคราม

Husitská korouhev.svg ฮุสไซต์(1419-1423)


Husitská korouhev.svg ฮุสไซต์หัวรุนแรง
(1423-1434)


Pohonia.svg แกรนด์ดัชชีลิทัวเนีย

สนับสนุน:
Coat of Arms of the Polish Crown.svg ราชอาณาจักรโปแลนด์

Emblem of the Papacy SE.svg โรมันคาทอลิก
Holy Roman Empire Arms-double head.svg จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
Flag of Hungary (15th century, rectangular).svg ราชอาณาจักรฮังการี
CoA Pontifical States 02.svg รัฐสันตะปาปา
Insignia Germany Order Teutonic.svg อัศวินทิวทอนิก
Royal Arms of England (1470-1471).svg ราชอาณาจักรอังกฤษ


Husitská korouhev.svg ฮุสไซต์สายกลาง(1423-1434)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

สงครามฮุสไซต์ (อังกฤษ: Hussite Wars) หรือ สงครามโบฮีเมีย หรือ การปฏิวัติฮุสไซต์ เป็นการสู้รบระหว่างฝ่ายฮุสไซต์ที่นับถือคำสอนของยัน ฮุสกับฝ่ายโรมันคาทอลิก นำโดยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงการสู้รบกันเองในหมู่นักรบฮุสไซต์ สงครามนี้เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ความแตกแยกหลายเหตุการณ์ระหว่างผู้นับถือคำสอนของฮุสกับผู้ปกครองที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก เช่น การเผาทั้งเป็นฮุส, เหตุบัญชรฆาตในกรุงปรากและการสวรรคตของพระเจ้าเวนเซลแห่งชาวโรมัน ในปี ค.ศ. 1424 เมื่อยัน ชิชกา ผู้นำฝ่ายฮุสไซต์เสียชีวิต ฮุสไซต์แตกออกเป็นฝ่ายสายกลางยูทราควิสม์และฝ่ายหัวรุนแรงทาบอไรต์[2] ยูทราควิสม์ร่วมมือกับฝ่ายโรมันคาทอลิกรบกับทาบอไรต์จนในปี ค.ศ. 1434 กองกำลังผสมยูทราควิสม์-คาทอลิกรบชนะกองทัพทาบอไรต์ที่ลิปานีและมีการลงนามในสัญญาบาเซิล โดยฮุสไซต์ยอมรับจักรพรรดิซีกิสมุนด์แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เป็นกษัตริย์โบฮีเมียและฝ่ายโรมันคาทอลิกอนุญาตให้ฝ่ายฮุสไซต์ประกอบพิธีของตนได้[3] สงครามนี้ทำให้ฮุสไซต์มีอำนาจเหนือภูมิภาคโบฮีเมียและโมราเวียไปอีกเกือบ 200 ปี ก่อนจะสูญเสียอำนาจไปหลังพ่ายแพ้ในยุทธการที่ไวต์เมาเทนในสงครามสามสิบปี[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Reeves, Michael, and Mark Dever. The Unquenchable Flame: Discovering the Heart of the Reformation. Nashville, TN: B & H Academic, 2010. Print.
  2. Hussite Wars (1419-1436). Encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ June 15, 2018.
  3. Stieber 1978, p. 163.
  4. Battle of White Mountain (1620). Britannica. สืบค้นเมื่อ June 15, 2018.