ม่อนไข่
ม่อนไข่ | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Ericales |
วงศ์: | Sapotaceae |
สกุล: | Pouteria |
สปีชีส์: | P. campechiana |
ชื่อทวินาม | |
Pouteria campechiana Baehni | |
ชื่อพ้อง | |
Knuth |
ม่อนไข่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pouteria campechiana) เป็นผลไม้เนื้อสีทอง ภาคเหนือและภาคอีสานเรียกม่อนไข่ ราชบุรีเรียกว่า ลูกท้อพื้นบ้าน ปราจีนบุรีเรียกว่าท้อเขมร เพชรบูรณ์เรียกทิสซา ฟิลิปปินส์ เรียก chesa ศรีลังกาเรียก Laulu Lavulu หรือ Lawalu[1] มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา บราซิล และเอลซัลวาดอร์[2]
ม่อนไข่เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบบาง มัน เรียวแหลม ลำต้นมียางสีขาว ก้านอ่อนเป็นสีน้ำตาล ดอกสีครีม มีกลิ่นหอม ผลสุกสีเหลืองอ่อน เปลือกบาง เนื้อผลสีเหลืองสด เหนียวคล้ายแป้งทำขนม ภายในผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ รสหวาน เนื้อผลนิ่มคล้ายไข่แดง
การใช้ประโยชน์
[แก้]ม่อนไข่นอกจากกินเป็นผลไม้สดแล้ว ยังใช้ทำขนม เช่น ทาร์ต คัสตาร์ด แยม เยลลี แพนเค้ก หรืออบให้สุก ชาวฟลอริดานิยมรับประทานกับเกลือ พริกไทย น้ำมะนาวหรือมายองเนส ทางสมุนไพรผลสุกใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน เมล็ดใช้รักษาแผลเน่าเปื่อย เปลือกต้นรักษาอาการไข้ ตัวร้อน ผื่นคัน[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ D.K.N.G. Pushpakumara (2007). "Lavulu". Underutilized fruit trees in Sri Lanka (PDF). World Agroforestry Centre, South Asia Office, New Delhi, India.
- ↑ "Pouteria campechiana". Germplasm Resources Information Network. United States Department of Agriculture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-14. สืบค้นเมื่อ 2009-01-29.
- ↑ นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. ม่อนไข่หรือทิสซา ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 125
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Julia F. Morton (1987). "Canistel". Fruits of Warm Climates. pp. 402–405. สืบค้นเมื่อ 2010-09-24.
- มีเมล็ดละมุดเขมรหรือเซียนท้อจำหน่าย เก็บถาวร 2016-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน